Jitta มองสัจธรรมตลาดหุ้นไทย ผลตอบแทนหลังเกิดโรคระบาดฟื้นตัวเฉลี่ย 19.80% ใน 1 ปี | Techsauce

Jitta มองสัจธรรมตลาดหุ้นไทย ผลตอบแทนหลังเกิดโรคระบาดฟื้นตัวเฉลี่ย 19.80% ใน 1 ปี

‘Jitta’ ย้ำ สัจธรรมตลาดหุ้น ระยะสั้นผันผวน ระยะยาวเติบโต พร้อมรวบรวมสถิติตลาดหุ้นไทยหลัง 9 โรคระบาดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2546 โดย 1 เดือนหลังเกิดทุกโรคระบาด ตลาดหุ้นไทยบวกเฉลี่ยร้อยละ 1.92 และ 1 ปีหลังเกิดทุกโรคระบาด บวกมากถึงร้อยละ 19.80 ในขณะที่โควิด-19 เกือบ 3 เดือน ตลาดหุ้นไทยติดลบไปแล้วร้อยละ 20.54 โดยหมวดบริการเฉพาะกิจ ฟื้นตัวกลับขึ้นมาสร้างผลตอบแทนภายใน 1 ปีหลังทุกโรคระบาดได้เฉลี่ยสูงที่สุด 

Jitta เปิดเผยข้อมูลสถิติการฟื้นตัวของตลาดหุ้นไทยหลังโรคระบาดตั้งแต่โรคซาร์สในปี 2546 จนถึงไข้ซิกาในปี 2559 เห็นได้ว่า 9 โรคระบาดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2546 โดยรวมแล้วไม่ได้ส่งผลกระทบตลาดหุ้นไทยมากนัก 

โดย 1 เดือนหลังจากเกิดโรคระบาด Jitta พบว่า ตลาดหุ้นไทยบวกขึ้นมาเฉลี่ยร้อยละ 1.92 ในระยะ 3 เดือน บวกขึ้นมาเฉลี่ยร้อยละ 8.49 และ 1 ปีหลังเกิดโรคระบาด ตลาดบวกขึ้นมาถึงร้อยละ 19.80 ซึ่งดีกว่าการเติบโตของตลาดหุ้นไทยโดยเฉลี่ย เพราะผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นของตลาดหุ้นไทยใน 43 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2518 จนถึงปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 11.87 เท่านั้น ในขณะที่วิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้ หลังครบรอบ 1 เดือนตลาดติดลบร้อยละ 0.22

สำหรับหมวดธุรกิจที่ภูมิต้านทานดี ฟื้นตัวกลับขึ้นมาสร้างผลตอบแทนภายใน 1 ปีหลังทุกโรคระบาดเฉลี่ยสูงที่สุด สูงถึงร้อยละ 50.13 คือหมวดบริการเฉพาะกิจ ซึ่งครอบคลุมบริการเฉพาะด้านต่างๆ ที่ไม่ถูกจัดอยู่ในหมวดธุรกิจไหนเป็นพิเศษ เช่น บริการด้านการศึกษา ที่ปรึกษาทางธุรกิจ และผู้ให้บริการบำบัดของเสีย ส่วนหมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์เป็นหมวดที่ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดที่อัตราร้อยละ 1.21

Jitta ได้ตั้งข้อสังเกตว่า หมวดธุรกิจที่กำลังได้รับการกล่าวถึงในขณะนี้ อย่างหมวดธุรกิจการแพทย์ มีผลตอบแทนเฉลี่ย 1 ปีหลังทุกโรคระบาดร้อยละ 32.28 ขนส่งและโลจิสติกส์ร้อยละ 31.44 พลังงานและสาธารณูปโภคร้อยละ 32.01 ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ร้อยละ 30.35 และเงินทุนและหลักทรัพย์ร้อยละ 21.89 นั้น เป็นกลุ่มที่ผลตอบแทนเฉลี่ย 1 ปีหลังทุกโรคระบาดเพิ่มขึ้นสูงอันดับต้นๆ และสูงกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยหลังทุกโรคระบาดของ SET ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 19.80  

ส่วนหมวดท่องเที่ยวและสันทนาการ ผลตอบแทนเฉลี่ย 1 ปีหลังโรคระบาดอยู่ที่ร้อยละ 8.5 แม้จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ SET ก็ยังเป็นบวกได้

ข้อมูลจาก Jitta ระบุอีกว่า “เรายังเห็นรูปแบบในระยะสั้น 1 เดือนหลังโรคระบาด สัดส่วนหุ้นที่กำไรกับขาดทุนจะใกล้เคียงกันเกือบ 50-50 แต่ยิ่งเวลาผ่านไปนานขึ้น จำนวนหุ้นที่ขาดทุนก็ลดลง กลายเป็นหุ้นส่วนใหญ่ในตลาดทำกำไร ดึงให้ผลตอบแทนของตลาดเป็นบวกในระยะยาวนั่นเอง”

โดย Jitta ได้ให้มุมมองเรื่องการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยว่า การเคลื่อนไหวหรือความผันผวนที่เกิดขึ้นนี้ เป็นไปตามสัจธรรมของตลาดหุ้น เป็นความจริงที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่มีวันตาย ไม่ว่าจะโรคซาร์ส ไข้หวัดนก หรืออีโบลา ตลาดหุ้นระยะสั้นมักจะผันผวนมากกว่าในระยะยาวเสมอ เพียงแค่นักลงทุนเข้าใจ และยอมรับธรรมชาติของตลาดหุ้นตรงนี้ได้ ก็จะสามารถลงทุนได้อย่างมีความสุข สบายใจยิ่งขึ้น ที่สำคัญ นักลงทุนจะตัดสินใจได้อย่างมั่นใจว่า จะจัดการกับเงินอย่างไรเมื่อตลาดหุ้นตก

Jitta ยังได้ย้ำว่า “ผลตอบแทนที่แสดงให้ดูมาจากข้อมูลในอดีตที่ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคตได้ เพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้น ไม่เหมือนกับการแพร่ระบาดครั้งก่อนๆ แม้อัตราการเสียชีวิตจะต่ำกว่าโรคซาร์สและเมอร์ส แต่เชื้อไวรัสแพร่ระบาดได้ง่ายกว่า คนติดเชื้อเยอะกว่า ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ และมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกเป็นวงกว้าง อาจต้องใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่าในอดีต วิธีที่ดีที่สุดในการรับมือความผันผวนระยะสั้นแบบนี้ คือ โฟกัสที่การลงทุนระยะยาวในหุ้นดีราคาเหมาะสม กระจายความเสี่ยงในพอร์ตให้ดี และรักษาวินัยการลงทุน ไม่ตื่นตระหนกไปตามอารมณ์ขึ้นลงของตลาด” 



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SCG ส่งเสริมการใช้และพัฒนาทักษะ ด้วย Generative AI เพื่อสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ ๆ ผ่านกิจกรรม Prompt-A-Thon

การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร (Culture Transformation) เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจให้สามารถอยู่รอดและเติบโตได้อย่างยั่งยืน ซึ่งที่ SCG ได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษในการปรับตัวเข...

Responsive image

รู้จัก “Talent Identification” เทคโนโลยี AI ใหม่จาก Banpu ตัวช่วยที่ทำให้ HR บริหารคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“Talent Identification” เป็นนวัตกรรม HR สุดล้ำจาก Banpu NEXT ที่พัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยี Narrow AI โดยทีม AI ของบ้านปู เพื่อช่วยประเมินพนักงานอย่างแม่นยำ นำข้อมูลศักยภาพและผลงานของพน...

Responsive image

Siriraj x MIT Hacking Medicine เปิดทางสู่นวัตกรรมขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุในประเทศกำลังพัฒนา

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ MIT ประสบความสำเร็จในการจัดประชุมวิชาการ Siriraj x MIT Hacking Medicine ภายใต้หัวข้อ “Scaling Aged Care in Developing Countries”...