NIA เผย 5 เทรนด์ฮิต TravelTech ที่จะผลักดันวงการท่องเที่ยวปี 2020 | Techsauce

NIA เผย 5 เทรนด์ฮิต TravelTech ที่จะผลักดันวงการท่องเที่ยวปี 2020

NIA เปิด 5 เทรนด์ฮิต TravelTech ดันอุตฯท่องเที่ยวโตปี 2020 พร้อมชวน Startup จับกระแสนักเดินทาง ชี้กลุ่ม FIT ยังแรงต่อเนื่อง

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA  เผย 5 นวัตกรรมสำคัญและจำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปีถัดไป ได้แก่ 

1.AR (Augmented Reality) และ VR (Virtual Reality) หรือการนำเสนอข้อมูลเชิงเสมือนที่ผสมผสานกับโลกของความเป็นจริง 

2.บล็อกเชน เทคโนโลยีที่ช่วยสร้างความปลอดภัยและแม่นยำของข้อมูล 

3.Recognition หรือเทคโนโลยีเพื่อการจดจำ 

4.เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสมาร์ทโฟน เนื่องจากปัจจุบันนักท่องเที่ยว 45% ใช้สมาร์ทโฟนดำเนินการทุกอย่างที่เกี่ยวกับแผนท่องเที่ยว 

5. ผู้ช่วยเสมือนอัจฉริยะ เทคโนโลยีที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นและทำให้นักท่องเที่ยวได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง  

พร้อมชี้กลุ่มนักท่องเที่ยวแบบเดินทางด้วยต้นเองหรือ FIT ยังคงเป็นกลุ่มที่มาแรงโดยในปี 2019 มีการเดินทางเข้ามาในประเทศไทยกว่า 19.9 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ ยังได้แนะแนวทางที่ผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต้องให้ความสำคัญและปรับตัวเพิ่มขึ้น อาทิ การค้นหาข้อมูลที่ต้องทำได้ฉับไวรวดเร็วขึ้น การพัฒนาสื่อรูปแบบใหม่ๆที่ช่วยมอบประสบการณ์ให้กับผู้มีแนวโน้มที่จะเดินทางมาเยือนพื้นที่ต่างๆ เพื่อเป็นการตอกย้ำศักยภาพทางการท่องเที่ยว ฯลฯ

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายครั้งใหญ่ ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับภูมิทัศน์การท่องเที่ยวไปทั่วโลก โดยแนวคิดด้านดังกล่าวได้เปลี่ยนจาก"นักท่องเที่ยว" เป็น "นักเดินทาง" ขณะที่ "ตัวแทนจากองค์กรท่องเที่ยว" กลายเป็น "ผู้ให้คำแนะนำ" หรือ "ที่ปรึกษาด้านการท่องเที่ยว" ผู้บริโภคสามารถจองตั๋วเครื่องบิน ที่พัก และตั๋วเข้าชมสถานที่ต่างๆ ด้วยตนเองผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่และแพลตฟอร์มต่างๆ ที่อยู่ในระบบอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น นอกจากนี้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมยังเปลี่ยนตัวแปรสำคัญในการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ สำหรับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการสตอบสนองความต้องการได้แบบเรียลไทม์ รวมถึงการติดต่อสื่อสารกันอย่างไร้พรมแดน ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพในไทยต้องให้ความใส่ใจ และหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีที่มีอยู่รอบตัวให้เป็นประโยชน์เพิ่มมากกว่าเดิม

สำหรับเทคโนโลยีที่น่าสนใจและจำเป็นต้องนำมาใช้สร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในปีถัดไป ได้แก่

  • AR (Augmented Reality) และ VR (Virtual Reality) หรือการนำเสนอข้อมูลเชิงเสมือนที่ผสมผสานกับโลกของความเป็นจริง โดย AR และ VR เป็นเทคโนโลยีที่หลายอุตสาหกรรมกำลังค้นหาวิธีใช้งาน ส่วนในวงการท่องเที่ยวได้เริ่มมีการประยุกต์ใช้ AR แล้ว ไม่ว่าจะเป็น การฉายภาพทิวทัศน์ต่างๆในระบบ 3 มิติเพื่อให้ผู้บริโภคได้เห็นก่อนนำมาตัดสินใจในการเลือกเดินทางไปยังสถานที่นั้นๆ เช่น ร้านอาหาร ที่พัก การนำมาใช้สำรวจการเปลี่ยนแปลงของสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ เป็นต้น
  • Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างความปลอดภัยและแม่นยำของข้อมูล แต่อย่างไรก็ตาบล็อกเชนถูกมองว่าอาจนำมาประยุกต์ใช้กับการท่องเท่ยวได้แม้จะยังไม่มีตัวอย่างท่ชัดเจนนัก แต่มีแนวคิดว่าบล็อกเชนอาจนามาใช้กับการยืนยันตัวตนที่สนามบิน การชำระเงินในต่างประเทศ หรือความโปร่งใสของรีวิวจากนักท่องเที่ยว
  • Recognition หรือเทคโนโลยีเพื่อการจดจำ ไม่ว่าจะเป็นการจดจำข้อมูลด้วยใบหน้า ลายนิ้วมือ หรือดวงตา การจดจำข้อมูลของนักท่องเที่ยวด้วยสิ่งเหล่านี้จะทำให้การบริการมีศักยภาพที่ดีขึ้น เช่น โรงแรม เลานจ์ หรือสายการบินสามารถใช้การจดจำข้อมูลลักษณะนี้เพื่อคัดกรองแขกประจำที่สามารถเข้าไปใช้บริการพื้นที่พิเศษ หรืออาจใช้เพื่อตรวจจับผู้โดยสารหรือแขกที่มักจะมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เพื่ออให้พนักงานเตรียมรับมือได้ทันท่วงที

  • สมาร์ทโฟน มีรายงานว่าปัจจุบันนักท่องเที่ยว 45% ใช้สมาร์ทโฟนดำเนินการทุกอย่างที่เกี่ยวกับแผนท่องเที่ยว เพื่อให้กิจกรรมต่างๆมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยสมาร์ทโฟนเป็นโจทย์ที่ทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องต้องเร่งหาทางตอบสนอง เช่น ในระบบสายการบินที่ควรจะต้องมีบริการหรือแพลตฟอร์มที่ช่วยลดความยุ่งยากทางด้านเอกสาร บริการจองที่พักหรือร้านอาหารที่ต้องพัฒนาระบบจองคิว รวมทั้งแอพพลิเคชั่นนำเที่ยวที่ต้องมีการให้ข้อมูลเชิงลึกผ่านภาพ วิดีโอ หรือข้อความ เพื่อให้นักเดินทางสามารถตัดสินใจได้ทันท่วงที
  • ผู้ช่วยเสมือนอัจฉริยะ ซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกับ Siri หรือ Alexa แต่เป็นผู้ช่วยที่ฝึกฝนมาเพื่อช่วยเหลือหรือให้ประสบการณ์เฉพาะเกี่ยวกับการท่องเที่ยว พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวว่าสามารถท่องเที่ยวได้อย่างสะดวกสบาย มีความปลอดภัย และได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง 

 ดร.พันธุ์อาจ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากเทคโนโลยีต่างๆจะมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแล้ว สิ่งที่ผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพ และผู้พัฒนานวัตกรรมในธุรกิจดังกล่าวต้องปรับตัวให้ทันอีกหนึ่งเรื่องคือ พฤติกรรมต่างๆของนักเดินทางที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็น การเลือกที่พักที่ต้องมีทางเลือกมากขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการในรูปแบบที่เน้นคุณค่าและบ่งบอก ลักษณะเฉพาะตัวมากขึ้น เช่น มีอินเทอร์เน็ตฟรีทุกพื้นที่ มีบริการที่เข้าถึงง่าย มีการสร้างปฏิสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยว ประเด็นถัดมาคือ การค้นหาข้อมูลที่ทำได้ฉับไวรวดเร็วขึ้น ส่งผลต่อระยะการวางแผนล่วงหน้าที่เคยเฉลี่ยอยู่ที่ 60 วันก่อนการเดินทางเป็นอย่างต่ำ เปลี่ยนเป็นใกล้วันเดินทางแบบนาทีสุดท้ายหรือ last minute booking จนกลายเป็นเทรนด์หลักของนักเดินทางยุคปัจจุบัน  นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการเดินทางที่เปลี่ยนจากยุคของกรุ๊ปทัวร์มาสู่การเดินทางด้วยตัวเอง (Free Independent Traveller: FIT) ซึ่งในปีนี้มีการเดินทางเข้ามาในประเทศไทยกว่า 19.9 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมถึงการพัฒนาสื่อรูปแบบใหม่ๆที่ช่วยมอบประสบการณ์ให้กับผู้มีแนวโน้มที่จะเดินทางมาเยือนพื้นที่ต่างๆ เพื่อเป็นการตอกย้ำศักยภาพทางการท่องเที่ยว และเชิญชวนนักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลเข้ามาในไทยเพิ่มมากขึ้น

จากการคาดการณ์ขององค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (UNWTO) ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ด้านการท่องเที่ยว (Tourism Landscape) จะปรากฏชัดในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งจะมีนักเดินทางทั่วโลกกว่า 1,600 ล้านคน ขับเคลื่อนมาสู่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถึง 416 ล้านคน หรือครองสัดส่วน 1 ใน 4 โดยมีประเทศไทยเป็นปลายทางสำคัญ ซึ่งเรื่องดังกล่าวนับเป็นผลดีสำหรับผู้ดำเนินธุรกิจต่างๆที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจที่พัก ร้านอาหาร และการเดินทางเป็นอย่างมาก และการเติบโตทั้งหมดนี้จะต้องขับเคลื่อนด้วยการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ ประสานด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการสร้าง strength from within หรือความเข้มแข็งจากภายใน หรือระดับท้องถิ่น ก่อนจะไปเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจระดับโลก พร้อมปรับตัวเพื่อให้ก้าวผ่านการดิสรัปชั่นของเทคโนโลยี และรักษาสถานะปลายทางท่องเที่ยวชั้นนำของโลกไว้ได้อย่างแข็งแกร่งต่อไป ดร.พันธุ์อาจ กล่าวสรุป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NIA จัดใหญ่ฉลองครบรอบ 20 ปี รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ตอกย้ำความยิ่งใหญ่ ชวนนวัตกรสมัครคว้าชัยประจำปี 2567

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดประตูสู่เวทีประกวดชิงรางวัลอันทรงเกียรติสูงสุดแห่งวงการนวัตกรรมไทย “รางวัลนวัตกรรมแห่งช...

Responsive image

เปิดตัว 7 สตาร์ทอัพ FinTech ในงาน Money20/20 Asia เสริมแกร่งอุตสาหกรรมการเงินในภูมิภาค

Money20/20 Asia ผู้จัดงานงานฟินเทคโชว์สุดยิ่งใหญ่เปิดตัวบริษัทสตาร์ทอัพทั้ง 7 ที่เชื่อว่าจะผลักดันพร้อมปฏิวัติโลกของการเงิน...

Responsive image

Betagro เปิดตัว Betagro Ventures ตั้งกองทุนหนุนสตาร์ทอัพ สาย FoodTech & AgriTech

“BTG” เปิดตัว “Betagro Ventures” มุ่งบ่มเพาะและพัฒนาธุรกิจ “FoodTech & AgriTech” พร้อมเดินหน้าลงทุนสตาร์ทอัพ ผ่านกองทุน 30 ล้านเหรียญสหรัฐ สร้างโอกาสเติบโตที่ยั่งยืน...