NIA ประกาศผล 2 ทีมผู้ชนะโครงการ Inno4Farmers พร้อมจับคู่ 10 Startup ด้านเกษตรกับ 11 บริษัทเอกชน | Techsauce

NIA ประกาศผล 2 ทีมผู้ชนะโครงการ Inno4Farmers พร้อมจับคู่ 10 Startup ด้านเกษตรกับ 11 บริษัทเอกชน

NIA ประกาศผล  ทีม Hyperm and CheckMate  คว้ารางวัลชนะเลิศสุดยอด Startup เกษตร (The Best AgTech Startup) และ Novy Drone ได้รางวัลชนะเลิศสุดยอด Startup เกษตรขวัญใจมหาชน (The Popular AgTech Startup))  จากการร่วมโครงการ Inno4Farmers ในการจับคู่ 10 Startup เกษตรสายดีพเทค หรือผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตรเชิงลึกกับบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ 11 ราย เพื่อส่งต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ตอบโจทย์ให้กับกลุ่มเกษตรกร และแก้ปัญหาของธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร 

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า เอ็นไอเอ โดยศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร (ABC center) ทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มกลางเชื่อมโยงประสานงานและขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างระบบนิเวศที่ส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมการเกษตร ได้ดำเนินโครงการพัฒนา Startup ด้านการเกษตรด้วยเทคโนโลยีเชิงลึก หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “Inno4Farmers” ซึ่งเป็นโปรแกรม Pre-acceleration เพื่อเร่งสร้าง Startup ด้านการเกษตรของไทย ให้เป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงในการพลิกโฉมการเกษตรโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 

โดยเป็นโครงการแรกของไทยที่มีการร่วม co-creation ได้ร่วมทำงานกับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเกษตร ที่ร่วมเป็นที่ปรึกษาแนะนำ พร้อมหาแนวทางแก้ไขปัญหา(Pain Points) ของภาคเกษตรร่วมกัน เพื่อให้เกิดการต่อยอดเป็นลูกค้าคนแรกให้กับ Startup หรือพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกันต่อไป ทำให้เกิดการขยายโมเดลการใช้งานจากธุรกิจส่งต่อไปยังเกษตรกรในเครือข่ายต่อไป

“ 10 Startup เกษตรในที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการอย่างเข้มข้นเข้าร่วมโครงการ อยู่ในระยะเริ่มต้นที่มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่พัฒนาแล้ว พร้อมนำไปใช้งานและต่อยอดธุรกิจ ที่สำคัญคือ ต้องมีเทคโนโลยีเชิงลึกไปประยุกต์ใช้งานด้านการเกษตรใน 3 กลุ่ม ได้แก่ เทคโนโลยี Artificial Intelligent หรือ AI การใช้ Big Data, IoTและ Sensors รวมถึง หุ่นยนต์ (Robotics) และระบบอัตโนมัติ (Automation) จากนั้นมีจับคู่กับบริษัทพันธมิตรที่เข้าร่วมโครงการ 11 แห่ง เพื่อตอบโจทย์แก้ปัญหาร่วมกัน โดยนำโซลูชั่นของ Startup ไปพิสูจน์ทดลองการใช้งานจริง ในการตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาร่วมกัน” 

ดร.กริชผกา กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือของเอกชนในครั้งนี้ถือว่าได้รับการตอบรับค่อนข้างดี เนื่องจากธุรกิจด้านการเกษตรขนาดใหญ่ในประเทศไทย ล้วนกำลังมองหาเทคโนโลยีเชิงลึกที่จะเข้ามาส่งเสริมระบบการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงมองหานวัตกรรมที่จะช่วยลดความสูญเสีย และการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งกว่าที่ผ่านมา ดังนั้น NIA จึงได้ทำการจับคู่ (Co-creation)  Startup กับธุรกิจนวัตกรรมเกษตรทั้ง 11 ราย ตอบโจทย์ปัญหาของแต่ละธุรกิจ ประกอบด้วย 

1) บริษัทบางซื่อโรงสีไฟเจียเม้งจำกัด และ 2)บริษัทสุนทรธัญทรัพย์จำกัด ผู้ประกอบธุรกิจข้าว กับทีม Startup EASY RICE ผู้พัฒนาเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพข้าวด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์  3) บริษัทซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบธุรกิจปศุสัตว์ กับทีม Startup HyPerm&CheckMate ผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม AI สำหรับการตรวจวัดคุณภาพของตัวอสุจิ และตรวจจับภาวะเป็นสัดในปศุสัตว์ 4) บริษัท ทักษิณปาล์ม (2521) จำกัด ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มครบวงจร กับทีม Startup Novy Droneอากาศยานไร้คนขับสำหรับการตรวจสอบป้องกันโรคและศัตรูพืช 5) บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด ธุรกิจมันสำปะหลัง กับทีม Startup BSFR TECH เครื่องวัดปริมาณแป้งและคุณภาพของหัวมันสำปะหลังในแปลงปลูกแบบไม่ทำลายชนิดพกพา 6) บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตน้ำตาล กับทีม Startup Rodai Smart Farm เซ็นเซอร์วัดความชื้นในดินที่มีความแม่นยำสูงและทนทานต่อการใช้งาน 7) บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตข้าวโพดหวาน กับ Startup ทีม OZT Robotics ผู้พัฒนาระบบ AI เพื่อตอบโจทย์ทางการเกษตร 8) บริษัทมานิตย์เจเนติกส์จำกัด ดำเนินธุรกิจฟาร์มสัตว์น้ำ กับทีม Startup Artificial anything เซ็นเซอร์แม่นยำสูงเพื่อตรวจสอบสารปนเปื้อนในของเหลวด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 9) บริษัทเอซีเคไฮโดรฟาร์มจำกัด ผู้ผลิตผักสลัด กับทีม Startup Energy of Thing ระบบประหยัดพลังงานไฟฟ้าสำหรับการเกษตร 10) บริษัท เกษมชัยฟู๊ดส์ จำกัดผู้ดำเนินธุรกิจฟาร์มเป็ดและไก่ กับ Startup ทีมUpSquareระบบควบคุมการเลี้ยงไก่ไข่แบบอัตโนมัติ และ 11) ทีม Rim ระบบควบคุมและนำทางเรือรดน้ำไร้คนขับเพื่อการเกษตร  ทดสอบในสวนขนาดใหญ่

คุณธนารักษ์  พงษ์เภตรา กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 3 เดือน กิจกรรมหลักของโครงการนี้ จะเร่งสร้างและยกระดับความสามารถของ Startup ด้านการเกษตร ที่แก้ปัญหาด้านการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกผ่าน 3 กิจกรรมหลักได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้ ที่จะปรับพื้นฐาน ตอบโจทย์ด้านต่างๆ ที่สตาร์อัพต้องการเสริมจุดแข็งและกำจัดจุดอ่อน 2) กิจกรรมการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทั้งด้านเทคโนโลยี Startup ด้านการเกษตรรุ่นพี่ และผู้ที่อยู่ในวงการ Startup เพื่อให้คำแนะนำในการพัฒนานวัตกรรม ปรับมุมองของเทคโนโลยีและปรับรูปแบบธุรกิจให้นำมาใช้ในภาคเกษตรและสร้างโอกาสทางธุรกิจ และ 3) กิจกรรมการฝึกภาคปฏิบัติ เป็นการร่วมรังสรรค์ หรือ Co-creation โดย Startup ด้านเกษตรได้ลงมือทำงานจริงกับลูกค้าหรือบริษัทพันธมิตรทางธุรกิจ 

ในวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมาทาง เอ็นไอเอได้จัด Demo Day เพื่อให้ Startup ได้นำเสนอผลงานการแก้ไขปัญหาทางการเกษตรในรูปแบบต่างๆ ต่อนักลงทุน หน่วยงานภาครัฐ บริษัท และพันธมิตรทางธรุกิจ เพื่อแสดงศักยภาพผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดผลจริงอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมแนวทางต่อยอดในอนาคต ได้ประกาศรางวัลชนะเลิศสุดยอด Startup เกษตรที่มีการแก้ไขปัญหาที่ดีและพร้อมเติบโต (The Best Startup in  AgTech Solutions & Growth Award) จาการตัดสินของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเกษตรและการลงทุน ได้แก่ Hyperm and ChekMate โดยเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการตรวจจับพฤติกรรมการเป็นสัดของปศุสัตว์ด้วยการใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things; IoT) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจจับภาวะเป็นสัดในปศุสัตว์ สำหรับในโคนมโดยมีความแม่นยำถึง 95% โดยใช้การวิเคราะห์และตรวจจับพฤติกรรมการเป็นสัดของโคนมเพศเมียโดยใช้หลักการเรียนรู้เชิงลึกในการวิเคราะห์สัญญาณที่บ่งบอกถึงอาการเป็นสัดของโค และตำแหน่งของโคนมคู่ที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ร่วมกับ แพลตฟอร์ม AI สำหรับการตรวจวัดคุณภาพของตัวอสุจิ ผลิตภัณฑ์น้ำเชื้อโคนมคัดคุณภาพพิเศษ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการคัดกรองเฉพาะตัวอสุจิที่มีชีวิต มีการเคลื่อนที่ดีและไม่เป็นอสุจิที่ผิดปกติ เพื่อนำมาผลิตเป็นน้ำเชื้อแช่แข็ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการผสมติดของโคนมเพศเมียให้เพิ่มมากขึ้น

และรางวัลชนะเลิศสุดยอด Startup เกษตรขวัญใจมหาชน (The Popular AgTech Solutions & Growth Award) จากการตัดสินของผู้เข้าร่วมงาน ได้แก่ ทีม Novy Drone ที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ มาผนวกกับแนวคิดการพัฒนาโดรนทางการเกษตร ที่สามารถคิดริเริ่มและพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นในการประยุกต์ใช้งานต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย เช่น โดรนรับบริการถ่ายภาพจากมุมสูง ทำแผนที่3มิติ ตรวจสอบเขตที่ดิน รับบริการบินโดรนขึ้นที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการได้ตอบโจทย์ที่สำคัญในการนับจำนวนต้นในแปลงการเกษตร เช่น ปาล์ม ยางพารา ผลไม้ ที่จะทำให้สามารถคำนวณผลผลิตในการวางแผนการตลาดได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น

“ทั้งนี้ Startup ด้านการเกษตร ยังมีจำนวนน้อยและยังขาดแนวทางการสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ จึงหวังว่า “โครงการ Inno4Farmers ” จะเป็นกลไกสำคัญในการสร้าง Startup ด้านเกษตรให้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดดและเข้มแข็ง สร้างรูปแบบธุรกิจใหม่แบบ B2B ที่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจเกษตรส่งต่อไปยังเกษตรกร เพื่อให้ Startup ด้านการเกษตรสร้างนวัตกรรมบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่จะช่วยยกระดับก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเกษตรของประเทศไทยได้อย่างรวดเร็ว”คุณธนารักษ์ กล่าวสรุป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แอดวานซ์เทค ติดท็อป 5 ‘Best Taiwan Global Brands’ 7 ปีซ้อน ขับเคลื่อน Edge AI ด้วยมูลค่า 2.8 หมื่นล้าน

แอดวานซ์เทค (Advantech Co., Ltd.) ผู้นำด้านอุตสาหกรรม IoT ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 5 แบรนด์ชั้นนำระดับโลกของ "2024 Best Taiwan Global Brands" ด้วยมูลค่าแบรนด์ 851 ล้านดอลลาร์...

Responsive image

PLEX MES ก้าวสู่อนาคต ยกระดับอุตสาหกรรมการผลิต ด้วย Smart Manufacturing Solutions

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา วงการอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ด้วยการแนะนำ PLEX MES โซลูชันที่เปรียบเสมือน "สมองดิจิทัล" สำหรับโรงงานยุคใหม่ ระบบนี้ถูกออกแบบ...

Responsive image

ทีทีบี คว้ารางวัลธนาคารที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้าธุรกิจ Thailand Best Bank for Corporates

ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) คว้ารางวัล Thailand Best Bank for Corporates จาก Euromoney Awards 2024 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนธุรกิจไทยด้วยโซลูชันดิจิทัลและความยั่งยืนผ่านกรอบ B+ESG พร...