NIA ขับเคลื่อนย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี หลังนายกฯ อนุมัติหนุนมาตรการส่งเสริมการลงทุน | Techsauce

NIA ขับเคลื่อนย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี หลังนายกฯ อนุมัติหนุนมาตรการส่งเสริมการลงทุน

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยถึงมาตรการส่งเสริมการลงทุนในปี 2565 ของที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บอร์ดบีโอไอ ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน 

NIA ขับเคลื่อนย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี หลังนายกฯ อนุมัติหนุนมาตรการส่งเสริมการลงทุน

ยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้านการแพทย์และสาธารณสุขไทย

โดยได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนในเขตพื้นที่ย่านนวัตกรรมการแพทย์ เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยมีพื้นที่ศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมและวิจัยทางการแพทย์ ตลอดจนยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้านการแพทย์และสาธารณสุขไทย โดยต้องเป็นเขตพื้นที่ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธีที่ประกาศโดย NIA

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า NIA ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสร้างศักยภาพของ “ย่านนวัตกรรม” ที่มุ้งเน้นพัฒนาพื้นที่ทั้งเชิงกายภาพ และกิจกรรมที่ดึงดูดกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม (Innovation-based enterprise, IBE) วิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) และวิสาหกิจขนาดใหญ่ (Corporate) ในการสร้างธุรกิจใหม่ที่เกิดจากการรวมกลุ่ม ผ่านเครื่องมือและกลไกที่เอื้อต่อกิจการทางนวัตกรรมภายในย่านนวัตกรรม ซึ่งจะนำไปสู่การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัยและเศรษฐกิจภายในย่านด้วยการแบ่งปันทรัพยากร  การสร้างและใช้นวัตกรรม รวมทั้งการร่วมกันกำหนดแนวทางและเป้าหมายที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่มากยิ่งขึ้น

ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี ศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมและการวิจัยทางการแพทย์ศักยภาพสูง

สำหรับย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี เป็นหนึ่งในย่านนวัตกรรมต้นแบบของ NIA เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมและการวิจัยทางการแพทย์ศักยภาพสูงที่สามารถต่อยอดธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์ระดับประเทศ และยกระดับสุขภาวะของประชาชนได้ 

โดยมีองค์ประกอบหลัก 3 มิติ คือ 

1) การรวมกลุ่มของผู้ประกอบธุรกิจนวัตกรรม วิสาหกิจเริ่มต้น ธุรกิจใหม่ องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ และหน่วยงานวิจัย (Innovation network) 

2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและนวัตกรรม (Physical Innovation Infrastructure, PII)  และมีการใช้ประโยชน์เครื่องมือหรือกลไกที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัย 

3) ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาย่านในสาขาธุรกิจที่มีความโดดเด่น (Innovation sector)

การลงนามในประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เรื่อง “มาตรการส่งเสริมการลงทุนในเขตพื้นที่ย่านนวัตกรรมการแพทย์” ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในครั้งนี้ เป็นอีกก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนย่านวัตกรรมการแพทย์โยธีให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการแพทย์ระดับประเทศ โดยระบุให้ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธีที่ออกประกาศโดย NIA ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2.2 ตารางกิโลเมตร 

ตั้งแต่บริเวณโรงพยาบาลรามาธิบดี ที่มีการกระจุกตัวของโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย เป็นต้น เป็นเขตส่งเสริมการลงทุน โดยสามารถรับสิทธิ และประโยชน์การลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติเป็นระยะเวลา 5 ปี เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยมีพื้นที่ศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมและการวิจัยทางการแพทย์ 

NIA ขับเคลื่อนย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี หลังนายกฯ อนุมัติหนุนมาตรการส่งเสริมการลงทุน

รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech) ระหว่างผู้ประกอบการกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ และสถาบันวิจัย 

โดยผู้ขอรับการส่งเสริมต้องมีความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ 2 รูปแบบ ได้แก่

1) ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เช่น โครงการสหกิจศึกษาและทวิภาคี

2) ความร่วมมือกับโรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถาบันวิจัย หรือหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนาเทคโนโลยีเชิงลึก

รุกขยายย่านนวัตกรรมในพื้นที่เป้าหมายอื่นๆ ต่อไปในอนาคต

ทั้งนี้ NIA ได้วางแนวทางที่จะประกาศพื้นที่ย่านนวัตกรรมในพื้นที่เป้าหมายอื่นๆ ต่อไปในอนาคต โดยปัจจุบัน NIA ดำเนินการพัฒนาย่านนวัตกรรมทั่วประเทศทั้งกรุงเทพฯ จำนวน 8 ย่าน ได้แก่ โยธี กล้วยน้ำไท อารีย์ ปุณณวิถี รัตนโกสินทร์ ปทุมวัน คลองสาน และลาดกระบัง 

ภาคตะวันออก 4 ย่าน ได้แก่ บางแสน ศรีราชา พัทยา บ้านฉาง-อู่ตะเภาภาคเหนือ 2 ย่าน ได้แก่ สวนดอก และแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ย่าน ได้แก่ ศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดนครราชสีมา รวมทั้งการเปิดพื้นที่ย่านใหม่ในพื้นที่ภาคใต้ 1 ย่าน ได้แก่ กิมหยง จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ในระยะ 3 ปี ตั้งแต่ปี 2565 – 2567

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SCBX ไตรมาส 1 ปี 67 กำไร 11,281 ล้านบาท เตรียมลุย 'Virtual Bank' พร้อมก้าวสู่องค์กร AI-First Organization

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ของปี 2567 จำนวน 11,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% จากปีก่อน...

Responsive image

“Money 20/20 Asia” ปักหมุดศูนย์ฯ สิริกิติ์ 3 ปี ส่งเสริมไทยสู่ศูนย์กลางฟินเทคชั้นนำของเอเชีย

เปิดประตูบานใหม่สู่ “Money 20/20 Asia” ครั้งแรกของเอเชีย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในวันที่ 23 – 25 เมษายน 2567 ที่ดึงดูดผู้คร่ำหวอดด้านฟินเทค และบริการทางการเงินกว่า 20,00...

Responsive image

เตรียมพบกับงานสัมมนา Social Value thailand Forum 2024 เปลี่ยนผ่านประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

งานสัมมนาเปลี่ยนผ่านประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยฐานความรู้ นวัตกรรม และความร่วมมือรัฐ เอกชน สังคม Accelerating Education and Partnership for the SDGs...