noBitter ผนึกกำลัง 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำ พัฒนา “ฟาร์มนวัตกรรม” ยกระดับเกษตรไทยสู่เวทีโลก | Techsauce

noBitter ผนึกกำลัง 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำ พัฒนา “ฟาร์มนวัตกรรม” ยกระดับเกษตรไทยสู่เวทีโลก

noBitter ผนึกกำลัง 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำ จุฬาฯ  ลาดกระบัง และปัญญาภิวัฒน์ ผนึกความร่วมมือ เดินหน้าพัฒนางานวิจัยเกษตรนวัตกรรมเพื่อยกระดับเกษตรไทยสู่เวทีโลกโดยมุ่งเน้นผลผลิตจากเทคโนโลยี “ฟาร์มแนวตั้ง” (Vertical Farming) ตั้งเป้าเพิ่มผลผลิตและความยั่งยืนภายใต้แนวคิดการเกษตรแบบควบคุมสภาพแวดล้อม แก้ไขปัญหาความท้าทายทางการเกษตรในยุคที่สภาพอากาศแปรปรวนและสร้างระบบนิเวศการเกษตรที่ยั่งยืน เฟสต่อไปเตรียมนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ IoT, AI และ Big Data ประยุกต์ใช้ สร้างแพลตฟอร์มการเกษตรแบบแม่นยำ และพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรแบบ Plant Factory ที่จะช่วยลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมี และเพิ่มคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย ไปพร้อมกับการสร้างคนเกษตรพันธ์ใหม่ รู้จักใช้เทคโนโลยียกระดับการเกษตรไทย นับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ที่ตอบโจทย์ทั้งในระดับประเทศและตลาดโลก 

ดร.วิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โนบิทเทอร์ จำกัด (noBitter) ผู้บุกเบิกนวัตกรรมการเกษตรแนวตั้งเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย  ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเกษตรแนวตั้ง (Vertical Farming) ซึ่งจะยกระดับการเกษตรไทยไปสู่เวทีโลก  ระบบฟาร์มแนวตั้งนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดการใช้น้ำและทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัยและคุณภาพสูงที่ตอบโจทย์ตลาดทั้งในประเทศและทั่วโลก

โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) ผ่านโครงการ "TED Market Scaling Up" โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ (Smart Farmer) สำหรับนิสิตและนักศึกษา เพื่อพัฒนานวัตกรเกษตรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) และนักวิจัยที่เชี่ยวชาญ พร้อมส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน โดยการใช้วัสดุและทรัพยากรท้องถิ่นในระบบฟาร์มแนวตั้ง นอกจากนี้ การพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรในประเทศยังช่วยลดการนำเข้าอาหารและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในระยะยาว พร้อมยกระดับความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศ

“ความร่วมมือครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการปฏิวัติวงการเกษตรไทยให้ก้าวสู่เวทีโลกอย่างมั่นคง ผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านการเกษตรสมัยใหม่ พร้อมสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ที่สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมเกษตรอย่างยั่งยืน” ดร.วิลาสกล่าว ทิ้งท้าย

ทั้งนี้ โครงการนี้ยังเป็นการเน้นย้ำบทบาทของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางอาหารของโลก ด้วยการผลิตสินค้าเกษตรที่ตอบโจทย์ความต้องการทั้งในประเทศและตลาดโลก เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง และการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในภาคเกษตร ความร่วมมือครั้งนี้สะท้อนถึงศักยภาพของประเทศไทยในการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรที่ตอบโจทย์โลกยุคใหม่และใน เฟสต่อไปเตรียมนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ IoT, AI และ Big Data ประยุกต์ใช้ พร้อมนำประเทศสู่การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเกษตรนวัตกรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ศาสตราจารย์ ดร.ประณัฐ โพธิยะราช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความสำคัญของโครงการว่า ความร่วมมือกับโนบิทเทอร์ ช่วยให้นิสิตได้เรียนรู้เทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับระบบการผลิตพืชในโรงเรือนและการใช้ฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์ในการควบคุมสิ่งแวดล้อม ผลงานที่ได้จะช่วยยกระดับคุณภาพอาหารและสุขภาพของผู้บริโภคนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดในปัจจุบัน โครงการนี้มุ่งเตรียมความพร้อมให้นิสิตได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง ช่วยขยายมุมมองการเรียนรู้ในห้องเรียนให้กว้างขวางขึ้น แต่ยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตในการพัฒนาองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ต่อยอดในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนการพัฒนานโยบายและแนวทางด้านพฤกษศาสตร์ระดับชาติในอนาคตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน 

นายมนตรี คงตระกูลเทียน คณบดีคณะเกษตรนวัตและการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Plant Factory และเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ที่พัฒนาโดยคนไทย เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้นักศึกษาในการพัฒนานวัตกรรมเกษตรในอนาคต ความร่วมมือนี้จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทั้งทางเศรษฐกิจเพิ่มศักยภาพทางการตลาดส่งออกของผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ซึ่งประเทศไทยในปี 2566 มีสมุนไพรส่งออก มูลค่าสูงถึง 56 พันล้านบาท ผลของการสร้างรายได้มหภาคสำหรับมูลค่าการส่งออกปี 2566 พืชสมุนไพร มีมูลค่า 483 ล้านบาท และสารสกัดสมุนไพร มีมูลค่า 382 ล้านบาทและยังช่วยในมิติของสิ่งแวดล้อม โดยระบบ Plant Factory ที่มีประสิทธิภาพสูงช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะโลกรวน  ช่วยลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมี และเพิ่มคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย พร้อมสร้างศักยภาพให้เกษตรกรแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยเป้าหมายของสถาบันฯ คือการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเชิงเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น ตลอดจนการแปรรูปพืชผลให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ตลาดสากล 

รองศาสตราจารย์ ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังกล่าวว่า ประเทศไทยกำลังก้าวไปสู่การเกษตรแบบแม่นยำ (Precision agriculture) โดยใช้เทคโนโลยีและการจัดการข้อมูลเพื่อการวางแผนและบริหารจัดการ ฟาร์มของเกษตรกร เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น IoT, AI และ Big Data มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยระบบเซนเซอร์และระบบวิเคราะห์ข้อมูลช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ระบบ Controlled-Environment Agriculture (CEA) และ Vertical Farm เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเกษตรของไทย โดยช่วยลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและศัตรูพืช รวมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้น้ำลงถึง 90% เมื่อเทียบกับการเกษตรทั่วไป นอกจากนี้ เกษตรกรยังสามารถปลูกพืชที่มีมูลค่าสูงและสร้างโอกาสใหม่ในตลาดด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้ ซึ่งนับเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับการเกษตรไทยในอนาคต “เทคโนโลยี IoT, AI และ Big Data ที่ถูกนำมาใช้ในแพลตฟอร์มการเกษตรแบบแม่นยำ จะช่วยให้เกษตรกรสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยง และเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ได้สูงสุด”

สำหรับผู้ที่สนใจระบบเกษตรแนวตั้งแบบครบวงจร บริษัท โนบิทเทอร์ จำกัด มีให้บริการตั้งแต่การให้คำปรึกษาและวางแผนโครงการ ออกแบบและติดตั้งระบบ รวมถึงการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการทำเกษตรกรรมในยุคใหม่อย่างยั่งยืน ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://nobitter.life หรืออีเมลสอบถามที่ [email protected]



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ซีพี แอ็กซ์ตร้า จับมือพันธมิตร พัฒนาโซลูชัน "Smart Restaurant" พลิกโฉมร้านอาหารยุคใหม่ สู่ความสำเร็จยุคดิจิทัล

ซีพี แอ็กซ์ตร้า ร่วมกับพันธมิตรในเครือ ได้แก่ บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด และ บริษัท แอสเซนด์ กรุ๊ป จำกัดจัดงานสัมมนา ‘Smart Restaurant ถอดรหัสความสำเร็...

Responsive image
Responsive image

อว.-บพข. ร่วมผลักดัน Deep Tech Startup ไทยเจาะตลาดนอร์ดิก

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำโดยหน่วยงานบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) จัดงาน "OKRs Workshop: From Epicenter to Th...