Lazada เผยดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจ E-commerce ผู้ค้าออนไลน์ ใน SEA เชื่อ ธุรกิจจะโตขึ้นอีกในอนาคต | Techsauce

Lazada เผยดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจ E-commerce ผู้ค้าออนไลน์ ใน SEA เชื่อ ธุรกิจจะโตขึ้นอีกในอนาคต

Lazada ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยแพร่ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจอีคอมเมิร์ซเป็นครั้งแรก ซึ่งจะมีการจัดทำสองครั้งต่อปี โดยรายงานฉบับแรกในอุตสาหกรรมนี้มาจากการสำรวจความเชื่อมั่นธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เพื่อแสดงมุมมองของผู้ค้าออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีต่ออุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ พร้อมกับนำเสนอความท้าทายและโอกาสที่รออยู่ในอนาคต

ดัชนีความเชื่อมั่นนี้ได้มาจากการสำรวจผู้ค้าออนไลน์ 750 ราย ใน 6 ประเทศทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย และสิงคโปร์) ในช่วงหกเดือนแรกของปี 2021 (ครึ่งแรกของปี 2021) โดยรายงานระบุว่า ผู้ค้า 52% มีการเติบโตในระดับสูงในช่วงครึ่งแรกปี 2021 และ 70% เชื่อว่าธุรกิจจะโตอีกกว่า 10% ในไตรมาส 3 ของปีนี้ (ไตรมาส 3/2021) โดยจาก 70% ดังกล่าว หนึ่งในสาม (33%) ของผู้ค้ามีความเชื่อมั่นอย่างสูงว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้นกว่า 30% ในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งส่งผลให้คะแนนรวมของดัชนีเป็น "บวก" ด้วย 64 คะแนน ทั้งนี้ คะแนน 0 หมายถึง "มีมุมมองลบอย่างมาก" และคะแนน 100 หมายถึง "มีมุมมองบวกอย่างมาก"

"เรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่ได้เปิดตัวดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เพื่อแสดงถึงตัวบ่งชี้ในอนาคตและความเชื่อมั่นของผู้ประกอบธุรกิจ SME ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย SME จำนวนมากหันมาใช้เทคโนโลยีใหม่และพัฒนาศักยภาพทางดิจิทัล เพื่อพลิกโฉมและเตรียมธุรกิจของพวกเขาให้พร้อมสำหรับอนาคต แม้เผชิญกับวิกฤตโรคระบาดและความท้าทายมากมาย ดัชนีของเราก็ยังแสดงให้เห็นว่า ผู้ค้ายังคงมีความสามารถในการฟื้นตัวและมีมุมมองบวกเกี่ยวกับอนาคต" แม็กนัส เอ็คบอม ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ของลาซาด้า กรุ๊ป กล่าว

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ค้ามีมุมมองบวกคือ การที่พฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ด้วยการซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น โดยผู้บริโภค 47% ซื้อสินค้าออฟไลน์น้อยลง และ 30% หันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้นในปี 2020 สถานการณ์ COVID-19 ช่วยเร่งให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซขยายตัวมากขึ้นและกลายเป็นสมรภูมิสำคัญของผู้ค้าที่ต้องการขยายธุรกิจ

แนวโน้มการเติบโตอย่างแข็งแกร่งเกิดขึ้นในทุกหมวดหมู่สินค้า โดยผู้ขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และสินค้าอุปโภคบริโภคได้รับประโยชน์สูงสุดจากสถานการณ์ที่ผู้คนต้องกักตัวอยู่บ้าน โดยผู้ค้า 53% รายงานว่าธุรกิจเติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่วงครึ่งแรกของปี 2021

รายงานยังเผยให้เห็นถึงมุมมองอันหลากหลายที่ผู้ค้ามีต่ออนาคต ยกตัวอย่างเช่น ผู้ขายสินค้าแฟชั่นมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดย 48% ระบุว่าธุรกิจดีขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ขณะที่ 75% เชื่อว่าธุรกิจจะดีขึ้นอีกในไตรมาส 3/2021 และเกือบ 40% คาดว่าธุรกิจจะโตเกิน 30% ในไตรมาสดังกล่าว

"การฉีดวัคซีนมีผลอย่างมาก และสินค้าแฟชั่นในแพลตฟอร์มต่างๆ กลับมาเติบโตกว่า 70% ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ในสินค้าบางกลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่คือเสื้อผ้า" โรชาน ราจ หุ้นส่วนของ Redseer กล่าว "นอกจากนี้ การไลฟ์สดยังช่วยกระตุ้นยอดขายของผู้ค้าจำนวนมาก ด้วยการสร้างปฏิสัมพันธ์และดึงดูดให้ผู้บริโภคเข้ามาซื้อสินค้า โดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ากับผู้ซื้อเป็นกลไกสำคัญของธุรกิจสินค้าแฟชั่น ซึ่งเป็นธุรกิจแบบ C2C และต้องอาศัยการสร้างความมั่นใจผ่านการมีปฏิสัมพันธ์" อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์ COVID-19 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ทวีความรุนแรงขึ้น คุณโรชาน คาดการณ์ว่า "ความคาดหวังของผู้ขายสินค้าแฟชั่นอาจลดลงในอนาคตอันใกล้นี้"

ผู้ค้าที่ตอบแบบสำรวจระบุว่า ปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจออนไลน์คือ การพัฒนาสินค้าที่โดดเด่นและแตกต่าง (52%) การดึงดูดผู้ใช้งานให้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์มากขึ้น (50%) และความสามารถในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึก (23%) นอกจากนี้ ในตลาดที่มีความอิ่มตัวสูง การแข่งขันในหมู่ผู้ค้าออนไลน์ไม่ใช่แค่การแข่งขันด้านราคาอีกต่อไป แต่เป็นการแข่งขันในมิติใหม่ ซึ่งเทคโนโลยีที่ดึงดูดลูกค้ากลายเป็นปัจจัยที่สร้างความแตกต่างให้กับผู้ค้าจำนวนมาก

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NITMX เผยสถิติพร้อมเพย์ ปี 67 ยอดธุรกรรมโตแตะ 2,096 ล้านต่อเดือน ผู้ใช้พุ่งสูงถึง 79 ล้านราย

NITMX เผยข้อมูลสถิติการใช้งานระบบพร้อมเพย์ตลอดปี 2567 ซึ่งแสดงถึงการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในด้านธุรกรรมดิจิทัลทั้งในประเทศและข้ามพรมแดน ตอกย้ำบทบาทสำคัญในการผลักดันประเทศเข้าสู่ยุคสั...

Responsive image

มันนี่ทันเดอร์พลิกโฉมสินเชื่อไทย ด้วย AI ฝีมือคนไทย แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

“อบาคัส ดิจิทัล” (ABACUS digital) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน "มันนี่ทันเดอร์" (MoneyThunder) ได้สร้างปรากฎการณ์ในวงการสินเชื่อด้วยการใช้เทคโนโลยี AI ที่พัฒนาจากทีมคนไทยที่เข้าใจถึงความต้อ...

Responsive image

iNT: พันธมิตรเพื่ออนาคต พร้อมเปิดประตูสู่นวัตกรรมและธุรกิจ Start-Up

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT (อิ๊นท์) ตอกย้ำบทบาทผู้นำ ด้านการสนับสนุนธุรกิจ Start-Up และการส่งเสริมการต่อยอดผลงานวิจัย นวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์...