Opensignal เผยประสบการณ์การดูวิดีโอบนมือถือในประเทศไทยโหลดช้าและหยุดชะงักบ่อย | Techsauce

Opensignal เผยประสบการณ์การดูวิดีโอบนมือถือในประเทศไทยโหลดช้าและหยุดชะงักบ่อย

  • ประเทศไทยคือเป็นผู้นำด้านความพร้อมใช้งาน 4G ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีการให้บริการเพื่อเข้าถึง 4G อยู่ในระดับที่แทบจะไม่มีใครเทียบได้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทว่าจากข้อมูลที่พบในดัชนีชี้วัดกลับแสดงถึงคะแนนที่ต่ำอยากผิดสังเกตคือในเรื่องประสบการณ์รับชมวิดีโอ ในรายงานล่าสุดของประเทศไทยของ เราระบุว่าผู้ประกอบการทั้งสามรายในประเทศไทยได้คะแนนอยู่ในเกณฑ์รั้งท้ายหรืออยู่ในระดับแค่พอใช้เท่านั้น ซึ่งสามารถติดตามชมได้ในบทวิเคราะห์ใหม่ล่าสุดของเรา
  • การสตรีมวิดีโอบนสมาร์ทโฟนเฉลี่ยใช้เวลามากกว่า 5 วินาที ในการโหลดเพื่อเริ่มเล่น เนื่องจากข้อจำกัดหลักๆ ที่มาจากการส่งสัญญาณเครือข่ายที่อาจเกิดความล่าช้าตอนเปิดชมวิดีโอ TrueMove H ใช้เวลาโหลดวิดีโอราว 4.9 วินาที ขณะที่ DTAC ใช้เวลาโหลด 5.7 วินาที ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติทั่วไป แต่ผู้ใช้ AIS กลับต้องรอนานกว่า เมื่อใช้เวลาโหลดถึง 7.4 วินาที
  • เราพบข้อจำกัดใหญ่ๆ หลายอย่างที่ขวางการพัฒนาประสบการณ์การรับชมวิดีโอในประเทศไทย ที่อยู่ในตัวชี้วัดเรื่องการเกิดวิดีโอติดขัด ผู้ใช้ประมาณหนึ่งในสี่บนเครือข่ายของทั้ง DTAC และ TrueMove ประสบกับการที่วิดีโอหยุดชะงัก ขณะที่ AIS มีคะแนนในเรื่องนี้สูงมากกว่า 40% ของผู้ใช้ AIS พบการที่วิดีโอหยุดชะงักเวลารับชม

โดย เควิน ฟิทชาร์ด นักวิเคราะห์หลัก Opensignal

ในรายงานประสบการณ์เครือข่ายมือถือล่าสุดในประเทศไทยที่ได้จัดทำขึ้น พบว่าผู้ประกอบการในไทยมีความสามารถในการให้บริการ 4G ได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งทำให้การเข้าถึง 4G อยู่ในระดับที่ไม่มีใครเทียบได้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เราพบเรื่องที่ประเทศไทยต้องปรับปรุงอย่างมากอย่างหนึ่ง นั่นคือประสบการณ์การรับชมวิดีโอ ไม่มีผู้ให้บริการรายใดในประเทศไทยที่ได้คะแนนดีกว่าระดับพอใช้ในการจัดอันดับประสบการณ์รับชมวิดีโอของเรา แม้จะดูที่ความเร็วการเชื่อมต่อ 4G เพียงอย่างเดียว ก็ยังรอการโหลดวิดีโอเป็นเวลานานและวิดีโอหยุดเล่นบ่อยครั้ง OpenSignal เฝ้าติดตามประสบการณ์การรับชมวิดีโอในประเทศไทยอย่างใกล้ชิดเพื่อดูว่าเหตุใดถึงได้คะแนนต่ำและจะเพิ่มคะแนนเหล่านั้นขึ้นได้อย่างไร

สำหรับการวิเคราะห์นี้ เราตรวจสอบสององค์ประกอบหลักของตัวชี้วัดประสบการณ์วิดีโอ: นั่นคือเวลาในการโหลดวิดีโอ 4G และการเกิดวิดีโอติดขัดบน 4G ตัวชี้วัดแรกคือความเร็วในการโหลดวิดีโอ วัดระยะเวลาเฉลี่ยในหน่วยวินาทีที่ผู้บริโภครอให้วิดีโอโหลดและเริ่มสตรีมมิ่ง คุณจะเห็นได้ว่าผู้ใช้งานชาวไทยประสบกับการหยุดชะงักก่อนวิดีโอจะเริ่มเล่น

คาดได้ว่าจะเกิดความล่าช้าในวิดีโอที่สตรีมผ่านเครือข่ายมือถือ แม้แต่ผู้ใช้ของเราในสิงคโปร์ซึ่งได้คะแนนสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในด้านประสบการณ์รับชมวิดีโอก็ยังคุ้นเคยกับการรอ 2-3 วินาทีเพื่อรับชมวิดีโอสตรีม ในแง่นี้ คะแนนการโหลดวิดีโอของ TrueMove H อยู่ที่ 4.9 วินาที และคะแนน DTAC อยู่ที่ 5.7 วินาทีซึ่งไม่ได้ต่างจากที่คาดการณ์ อย่างไรก็ตามผู้ใช้ AIS ของเราต้องรอนานโดยเฉลี่ยมากกว่า 7 วินาทีเพื่อให้เฟรมวิดีโอแรกแสดงผล

เมื่อดูการเกิดปัญหาวิดีโอติดขัด ทำให้เราเริ่มเห็นข้อจำกัดในประสบการณ์รับชมวิดีโอมือถือในประเทศไทย การเกิดวิดีโอติดขัดจะวัดสัดส่วนของผู้ใช้ที่ประสบกับการหยุดชะงักระหว่างการเล่น ไม่ว่าจะเป็นอาการติดขัดในวิดีโอสตรีม การหยุดชั่วคราวนานขึ้นเพื่อบัฟเฟอร์หรือการหยุดเล่นวิดีโอไปเลย ในประเทศที่ประสบการณ์วิดีโอ 4G อยู่ในระดับดีหรือยอดเยี่ยม เราจะเห็นการเกิดวิดีโอติดขัดต่ำกว่า 10% อย่าง ผู้ให้บริการทั้งสามรายของสิงคโปร์มีคะแนนในตัวชี้วัดนี้ต่ำกว่า 5%

อย่างไรก็ตาม ไม่มีผู้ประกอบการรายใดในไทยได้คะแนนการเกิดวิดีโอติดขัดต่ำกว่า 20% ทั้ง DTAC และ TrueMove ติดอันดับสูงสุด จากผู้ใช้ประมาณหนึ่งในสี่บนเครือข่ายที่ประสบปัญหาวิดีโอหยุดชะงัก เมื่อมาดูที่ AIS ซึ่งมีคะแนนการเกิดปัญหาวิดีโอติดขัดมากกว่า 40% หมายความว่าการหยุดเล่นนั้นกลายเป็นเรื่องค่อนข้างธรรมดา ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ AIS เป็นผู้ประกอบการไทยเพียงรายเดียวที่ได้คะแนนประสบการณ์วิดีโอต่ำสุด ซึ่งอยู่รั้งท้ายในรายงานของเราในประเทศไทย

ผู้ประกอบการไทยควรทำอะไรเพื่อปรับปรุงประสบการณ์รับชมวิดีโอของลูกค้าได้บ้าง? ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มขีดความสามารถให้กับเครือข่ายโดยการเพิ่มแหล่งกำเนิดคลื่นความถี่ใหม่ สร้างจุดรับส่งสัญญาณเพิ่ม หรือเชื่อมโยงการเชื่อมต่อแบบส่งต่อที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นให้กับจุดรับส่งสัญญาณที่มีอยู่ อีกทั้งผู้ประกอบการยังสามารถใช้เทคโนโลยีการจัดการคอนเทนด์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งวิดีโอ การเพิ่มความเร็วในการดาวน์โหลดเฉลี่ยก็เป็นอีกโซลูชันหนึ่ง ความเร็วที่เร็วขึ้นนั้นไม่ได้รับประกันว่าจะได้รับประสบการณ์ชมวิดีโอที่ดีกว่าเสมอไป แต่ดูเหมือนว่าจะมีความเร็วขั้นต่ำที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องคงรักษาไว้เพื่อสร้างความแตกต่างในด้านคุณภาพวิดีโอ ในรายงานสถานะวิดีโอมือถือของเราที่เผยแพร่เมื่อเดือนกันยายนปีก่อน เกือบทุกประเทศที่มีคะแนนรั้งท้ายหรืออยู่ในระดับพอใช้ มีความเร็วในการดาวน์โหลดโดยรวมต่ำกว่า 14 Mbps ประเทศไทยก็อยู่ในหมวดนั้นอย่างแน่นอน ไม่มีผู้ให้บริการรายใดในประเทศที่มีคะแนนประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดสูงกว่า 8 Mbps ในรายงานภาษาไทยของเรา

ความเร็วที่ต่ำของประเทศไทยอาจเกิดจากการออกแบบ ผู้ประกอบการในประเทศไทยประสบความสำเร็จในการขยายความพร้อมการให้บริการ 4G มากกว่าที่จะเพิ่มความเร็วที่ส่งมอบให้ผู้บริโภค ผู้ประกอบการไทยบางรายจำกัดความเร็วที่ผู้บริโภคได้รับไปตามแผนการใช้งานที่แตกต่างกันเพื่อเสนอทางเลือกในการกำหนดราคาการใช้ 4G ที่ไม่แพง ตราบใดที่ความสมดุลของ 4G ในประเทศไทยยังเอนไปที่การเข้าถึงมากกว่าความเร็ว เราก็ยังน่าจะเห็นคะแนนประสบการณ์รับชมวิดีโออยู่ในระดับต่ำ แต่เราเริ่มเห็นสัญญาณว่าความสมดุลนี้กำลังเปลี่ยนไป

เราได้บันทึกความเร็วการดาวน์โหลดเฉลี่ยของ DTAC ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อปีที่แล้วเนื่องจากการลงทุนในคลื่นความถี่ 4G และโครงสร้างพื้นฐานใหม่่ หากสิ่งนั้นกระตุ้นให้คู่แข่งปฏิบัติตาม เราอาจได้เห็นว่าไม่เพียงแต่ประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดที่สูงขึ้น แต่ยังเพิ่มความเสถียรในการเชื่อมต่อและความจุของเครือข่ายอีกด้วย และในทางกลับกันก็จะนำไปสู่ประสบการณ์รับชมวิดีโอที่ดียิ่งขึ้น

รายละเอียดทั้งหมดในรายงานการวิเคราะห์คลิกอ่านได้ ที่นี่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ดีอี ผนึก ‘อว.- ศธ.’ ร่วมมือ UNESCO นำเวที UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025

ประเทศไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพงาน “UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025” ครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก ภายใต้แนวคิด “Ethical Governance of AI in Motion” ย้ำบทบาทผู้นำจริยธรรม AI ระดั...

Responsive image

เสริมสร้างความร่วมมือไทย-ฟินแลนด์ ศึกษาดูงานและขยายโอกาสนวัตกรรม

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศและเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ นำคณะผู้แทนไทยศึกษาดูงานที่ฟินแลนด์ เพื่อกระชับความร่วมมือด้านนวัตกรรม พลังงานหมุนเวียน และเศรษฐกิจหมุนเวียน...

Responsive image

ไทยพบเอสโตเนีย แลกเปลี่ยนมุมมองรัฐบาลดิจิทัล ศึกษาต้นแบบ e-Government

ไทยเปิดใจเรียนรู้จากเอสโตเนีย ระบบ e-Government ที่ประชาชนไว้วางใจ...