ภาพรวมธุรกิจ Ride-hailing ในประเทศไทย

ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดเผยข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการให้บริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชัน หรือ Ride-hailing ในประเทศไทย ในรูปแบบของ Infographic (ตามไฟล์แนบ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผลการศึกษาและวิจัยเชิงวิชาการในหัวข้อ อุตสาหกรรมการให้บริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชัน (Ride-hailing service): บทบาทในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทยและความจำเป็นในการพัฒนาหลักเกณฑ์และกฎหมายให้ตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดย อ. ดร. สุทธิกร กิ่งแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ภาพรวมธุรกิจ Ride-hailingในประเทศไทย

  • อุตสาหกรรมการให้บริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชัน หรือ Ride-hailing ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2661 มีมูลค่าตลาดประมาณ 21,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 6 ของ GDP ภาคขนส่งทางบกไทย โดยคาดว่าจะเติบโตสูงขึ้นเป็น 4.33 แสนล้านบาทในปี พ.ศ. 2568 หรือคิดเป็นร้อยละ 27 ของ GDP ภาคขนส่งทางบกไทย
  • มีผู้โดยสารใช้บริการ Ride-hailing ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2561 ประมาณ 2.4 ล้านคนต่อเดือน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 11 ล้านคนต่อเดือนในปี พ.ศ. 2568
  • มีผู้ขับขี่รถยนต์โดยสารเพื่อให้บริการ Ride-hailing ในปี พ.ศ. 2561 ประมาณ 105,000 คนต่อเดือน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 590,000 คนต่อเดือนในปี พ.ศ. 2568

ความคิดเห็นของผู้โดยสารที่ใช้บริการ Ride-hailing

  • 82% ของคนกรุงเทพฯ ที่วางแผนจะซื้อรถยนต์ในอีก 5 ปีข้างหน้าระบุว่า เปลี่ยนใจที่จะไม่ซื้อรถยนต์หากบริการ Ride-hailing สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งในด้านจำนวนรถเพียงพอกับความต้องการ ราคาที่เหมาะสม และเวลาที่ใช้ในการเรียกรถ
  • 92% ของผู้โดยสารเห็นว่าบริการ Ride-hailing มีความปลอดภัยกว่าทางเลือกอื่นๆ
  • 95% ของผู้โดยสารเห็นว่าบริการ Ride-hailing ช่วยเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น
  • 77% ของผู้โดยสารระบุว่าการใช้บริการ Ride-hailing มีความสะดวกและช่วยประหยัดเวลาในการเรียกรถ
  • 86% ของผู้โดยสารระบุว่าบริการ Ride-hailing มีส่วนช่วยให้มีเวลาเพิ่มขึ้นในการทำงาน หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ระหว่างการเดินทาง

ความคิดเห็นของผู้ขับขี่รถยนต์โดยสารเพื่อให้บริการ Ride-hailing

  • บริการ Ride-hailing ช่วยสร้างงานและรายได้ให้กับผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพอื่น บุคคลว่างงาน และบุคคลที่เกษียณอายุแล้ว โดยคิดเป็น 60% ของผู้ขับในปัจจุบัน
  • 99% ของผู้ขับที่เป็นแท็กซี่ระบุว่า แอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อให้บริการ Ride-hailing ช่วยทำให้มีผู้โดยสารและมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
  • 94% ของคนขับระบุว่า รายได้ที่เกิดขึ้นจากการให้บริการผ่านแอปพลิเคชันช่วยลดภาระหนี้สินได้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

มหิดล เปิดกลยุทธ์ชุดใหญ่ สร้าง 'Real World Impact' ยกระดับการแพทย์ ตั้งโรงงานยาที่มีชีวิต

มหาวิทยาลัยมหิดล เผยกลยุทธ์สร้าง 'Real World Impact' ไม่ใช่แค่ Academic Impact เพื่อช่วยแก้สารพัดปัญหา พัฒนาสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิต และเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ พร้อมทั้งมุ่งเป็นผ...

Responsive image

depa เปิดฉาก ESPORTS REGIONAL TOURNAMENT เดินหน้าผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางอีสปอร์ตภูมิภาค

ดีป้า พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร เดินหน้าผลักดันวงการอีสปอร์ตไทยอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการ “depa ESPORTS” ภายใต้แนวคิด PLAYGROUND FOR THE FUTURE มุ่งส่งเสริมเยาวชนและบุคคลทั่วไปที...

Responsive image

ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ นำเอกชนไทย ร่วมงาน NVIDIA ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม AI

ที่ปรึกษา รมว.กต.นำเอกชน AI ไทยร่วมงาน NVIDIA ที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ สร้างเครือข่าย-ขยายประสิทธิภาพเทคโนโลยีไทย - ย้ำรัฐบาลให้ความสำคัญอุตสาหกรรม AI-Semiconductors วางนโยบายส่งเสริ...