SAP ชี้ ตัวแปรสำคัญยับยั้งการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กรในอาเซียน คือปัญหาความมั่นคงด้านอาหารและขยะอาหาร | Techsauce

SAP ชี้ ตัวแปรสำคัญยับยั้งการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กรในอาเซียน คือปัญหาความมั่นคงด้านอาหารและขยะอาหาร

จำนวนประชากรที่เติบโตอย่างรวดเร็วและความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยและปัญหาที่เกิดขึ้นกับซัพพลายเชนที่ทวีความรุนแรงขึ้นในภูมิภาคอาเซียน ได้ตอกย้ำให้เห็นถึงความท้าทายด้านความมั่นคงด้านอาหารในอนาคตของภูมิภาคซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายในการพัฒนาสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

SAP ชี้ ตัวแปรสำคัญยับยั้งการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กรในอาเซียน คือปัญหาความมั่นคงด้านอาหารและขยะอาหาร

ประเด็นดังกล่าวได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยในงาน 'A Growing ASEAN, A Hungry Population: Building Resilient and Sustainable Food Supply Chains' จัดโดย SAP ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้นำทางธุรกิจทั่วทั้งระบบนิเวศอาหารของภูมิภาค ครอบคลุมธุรกิจในหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร การผลิต การจัดจำหน่าย การขนส่ง โดยมีตัวแทนจากองค์กรชั้นนำในภูมิภาคอาเซียนอย่าง Dole Asia Holdings ผู้นำระดับโลกด้านการเพาะปลูก จัดหา จัดจำหน่าย และทำการตลาดผลิตภัณฑ์ผลไม้และอาหารว่างเพื่อสุขภาพLoc Troi ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการชั้นนำด้านการเกษตรด้วยการจัดการซัพพลายเชนยั่งยืนผ่านการวิจัย การผลิต และการขายผลิตภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ ยาป้องกันวัชพืช ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ชีวภาพ ข้าวและกาแฟพร้อมด้วย บุญรอด ซัพพลายเชน จำกัด, บริษัทในเครือของ บุญรอดบริวเวอรี่ ร่วมแนะแนวทางจัดการซัพพลายเชนยั่งยืน

ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่มีบทบาทในอุตสาหกรรมได้กล่าวถึงโอกาสที่รออยู่ข้างหน้าสำหรับภูมิภาคอาเซียนซึ่งเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีศักยภาพในด้านการผลิตเชิงการเกษตรมากที่สุดภูมิภาคหนึ่งในโลก โดยพูดถึงการลงทุนในการขับเคลื่อนธุรกิจด้านการเกษตรผ่านการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง การเสริมสร้างความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรม การสร้างระบบดิจิทัลซัพพลายเชน รวมถึงการสร้างซัพพลายเชนให้มีความยืดหยุ่นพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง และกิจกรรมอื่น ๆ ในห่วงโซ่คุณค่าเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของภูมิภาคในด้านอาหาร

พลิกโฉมการผลิตอาหารในภูมิภาคอาเซียน

เวเรน่า เซียว ประธานและกรรมการผู้จัดการของ SAP เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารในภูมิภาคนี้มีความหลากหลายโดยมีธุรกิจที่ครอบคลุมตั้งแต่การผลิตไปจนถึงค้าปลีกและร้านอาหาร ธุรกิจต่าง ๆ จึงต้องการความช่วยเหลือในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการดูแลการดำเนินงานของธุรกิจแบบ end-to-end การคาดการณ์ถึง Demand ล่วงหน้าผ่าน Big Data เพื่อให้ส่งอาหารได้ทันท่วงที รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพของซัพพลายเชนแบบองค์รวม ซึ่งทั้งหมดนี้จะสามารถช่วยลดปัญหาการขาดแคลนอาหารได้อย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ ลีโอนาร์โด ราเบโล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ Dole Asia Holdings ยังได้กล่าวถึงความพยายามของบริษัทในการยกระดับแนวปฏิบัติทางการเกษตร เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้ผลผลิตที่ดีขึ้นสำหรับเกษตรกร ไปพร้อมกับการขับเคลื่อนแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนเพื่อลดขยะอาหารในพื้นที่ดำเนินงานขนาดใหญ่ขององค์กร

ความเรียบง่ายเป็นแนวทางปฏิบัติพื้นฐานเพื่อความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของเราในการปูทางสู่การลดขยะอาหารให้เป็นศูนย์ เทคโนโลยีด้านการเกษตรหรือ Agtech มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกำหนดวาระการลดขยะและของเสียแบบเชิงรุกให้รุดหน้าไปอีกขั้น เทคโนโลยี IoT ที่ติดตั้งในฟาร์ม การติดตามไทม์ไลน์ผลผลิต และการปรับใช้ระบบดิจิทัลแบบ end-to-end จะเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถปรับปรุงคุณภาพและมูลค่าผลิตภัณฑ์โดยรวมของเราอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และลดปริมาณของเสียได้มหาศาล สำหรับขยะที่เหลือ เราจะเน้นการอัพไซเคิลหรือการนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วหรือของที่จะถูกทิ้งเป็นขยะมาแปลงให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพที่ดีขึ้น เช่น น้ำซุปกล้วยเข้มข้น, กล้วยแช่แข็ง ฯลฯ สำหรับ Dole เรายึดหลัก 'ศิลปะแห่งความเป็นไปได้' และปณิธานอันแรงกล้าของเรา จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลดขยะผลไม้ให้กลายเป็นศูนย์ได้ ลีโอนาร์โด กล่าว

ระบบดิจิทัล ตัวช่วยสำคัญสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกอาหาร

เนื่องจากความต้องการด้านอาหารยังคงเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของประชากรและชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้น ประเทศต่างๆ จะต้องมองหาวิธีที่จะสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหารในประเทศและส่งเสริมการผลิตในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าและส่งออกในภูมิภาค และการเพิ่มการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและการเงิน เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเกษตรกรและผู้ผลิตอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเทคโนโลยีจะสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตและเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลพืชผลได้แบบเรียลไทม์ ปัจจุบัน ผลผลิตข้าวของเวียดนามคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของผลผลิตรวมในกลุ่มประเทศเหล่านี้

เหงียน ดอย ทวน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท Loc Troi ของเวียดนาม ได้กล่าวถึงโครงการนำร่องมาตรฐานความยั่งยืนข้าวแห่งแรกของโลกของบริษัทที่ทำร่วมกับชาวนา 150 รายทั่วสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืนและมีคุณภาพสูง และสุดท้ายทำการตลาดข้าวที่ผ่านการรับรอง Sustainable Rice Platform (SRP) ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ

และเมื่อเร็วๆ นี้ Loc Troi ได้เข้าสู่เส้นทางการทำ Digital transformation โดยเริ่มใช้ซอฟต์แวร์ S/4HANAในปี 2563 ซึ่งช่วยสร้างมาตรฐานในกระบวนการทางธุรกิจทั้งหมดให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดระดับสากล ปรับปรุงความสามารถในการวางแผน และติดตามกิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมดได้โดยอัตโนมัติ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการเกษตรและการบูรณาการได้อีกด้วย

พลิกโฉมระบบซัพพลายเชนเพื่อยกระดับการจัดการทรัพยากรในประเทศไทย

จากปัญหาซัพพลายเชนที่หยุดชะงักในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลายประเทศทั่วโลกต้องประสบกับปัญหาซัพพลายเชนหยุดชะงัก ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องการจัดการระบบซัพพลายเชนให้ทำงานได้ยืดหยุ่นมากขึ้น จากการสำรวจของ IDC ในเดือนธันวาคม ในช่วงปีที่ผ่านมาพบว่าระบบซัพพลายเชนกำลังเผชิญกับความปั่นป่วนที่เพิ่มขึ้นทั่วทั้งตลาด ผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกพบปัญหาหยุดชะงักในการขนส่ง 18% ในขณะที่ 52% เผชิญกับการหยุดชะงักของอุปสงค์ (Demand) และ 30% มีปัญหาหยุดชะงักในการจัดหา (Supply)

เอทูล ทูลิ กรรมการผู้จัดการ เอสเอพี อินโดไชน่า กล่าวว่า "บริษัทต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ ต้องการความสามารถในการรับรู้ คาดการณ์ และตอบสนองต่อเหตุการณ์ไม่คาคคิดที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจของตน Digital Supply Chain จะเป็นโซลูชั่นที่เข้ามาช่วยเปลี่ยนแปลงแนวทางที่บริษัทจะสามารถสร้างการมีส่วนร่วม โต้ตอบ สร้างแหล่งรายได้ใหม่ และดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนแม้ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เครือข่ายลอจิสติกส์ดิจิทัลจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวและการมองเห็นภาพรวมของสถานการณ์ครอบคลุมแบบเรียลไทม์ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถตัดสินใจได้ว่ากระบวนการทางธุรกิจใดต้องได้รับการออกแบบใหม่ เนื่องจากพวกเราทุกคนมีความรับผิดชอบในการกำหนดอนาคตของสังคม โซลูชั่นดิจิทัลจึงเป็นกุญแจสู่เป้าหมายความยั่งยืน


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NIA เปิดเวที AGROWTH เร่งการเติบโตดีพเทคสตาร์ทอัพเกษตร

NIA เดินหน้าสร้างสตาร์ทอัพ สายเกษตรให้เพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีเชิงลึก เพื่อเร่งการเติบโตและแก้ไขปัญหาซ้ำซ้อนในภาคเกษตร ที่ต้องการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบเดิมไปสู่การพึ่...

Responsive image

ไทยมี ‘ผู้บริหารหญิง’ นั่งบอร์ด แค่ 19% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก-อาเซียน

มีผู้หญิงจำนวนน้อยกว่าหนึ่งในสี่ (ร้อยละ 23.3) ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 นับตั้งแต่รายงานฉบับล่าสุดที่เผยแพร่ในปี 2565...

Responsive image

EVAT จับมือ กฟผ. และ ม.กรุงเทพธนบุรี จัดแข่งรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง พร้อมลงนาม MOU พัฒนายานยนต์ไฟฟ้า

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย จับมือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี พร้อมเดินหน้าจัดงานแข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคต ครั้งที่ 3 พร้อมลงนามบั...