เนื่องจาก Proptech ช่วยอำนวยความสะดวกต่อผู้บริโภค ตั้งแต่การค้นหาที่อยู่อาศัย การซื้อ/เช่า/ลงทุน การอยู่อาศัย ไปจนถึงบริการหลังการขาย ขณะเดียวกัน Proptech ก็เข้ามามีบทบาทช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยมากขึ้นด้วย ทั้งการทำการตลาดนำเสนอโครงการผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ รวมถึงใช้บริการแพลตฟอร์มตัวแทนจับคู่นายหน้ากับผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ยังพัฒนาสมาร์ตโฮม และใช้แอปพลิเคชันบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการที่อยู่อาศัยอีกด้วย
การทำธุรกรรมด้านที่อยู่อาศัยผ่านทางออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วง COVID-19 ที่เร่งตัวขึ้น เป็นปัจจัยผลักดันให้ผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยนำ Proptech มาใช้หลากหลายด้าน และครอบคลุมทั้ง Ecosystem ของตลาดที่อยู่อาศัยมากขึ้น ตั้งแต่การค้นหาที่อยู่อาศัย การเข้าชมโครงการแบบ Virtual viewing กระบวนการซื้อ การทำการตลาดเชิงรุกผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ตลอดจนการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์
อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของการทำธุรกรรมด้านที่อยู่อาศัยผ่านทางออนไลน์ยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านกฎระเบียบ ซึ่งหากมีการผ่อนคลายกฎระเบียบในการทำธุรกรรมมากขึ้น ก็จะยิ่งหนุนให้การทำธุรกรรมด้านที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มที่จะเป็นการทำธุรกรรมผ่านทางออนไลน์แบบ End-to-end transaction ผ่าน Proptech ได้ในระยะข้างหน้า
นอกจากนี้ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่หนุนให้การใช้ Proptech มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาร์ตโฮม เพื่อสร้างความความสะดวกสบาย เสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และยกระดับความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ โดยนำระบบอัตโนมัติ เซนเซอร์ และการแจ้งเตือนมาใช้ เพื่อตอบโจทย์การอยู่อาศัยมากขึ้น
ความต้องการหรือปัญหาของผู้อยู่อาศัยแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาระบบอัตโนมัติ เซนเซอร์ และการแจ้งเตือนสำหรับผู้สูงอายุ ก็จะมีความแตกต่างจากครอบครัวที่มีเด็กเล็ก หรือสัตว์เลี้ยง ดังนั้น การวิเคราะห์ความต้องการหรือปัญหาในเชิงลึกของผู้อยู่อาศัย และใช้ Proptech มาตอบโจทย์ หรือแก้ปัญหาสำหรับผู้อยู่อาศัยได้อย่างเฉพาะเจาะจง ภายใต้ Ecosystem และกฎระเบียบต่าง ๆ จะช่วยสร้างความแตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น ๆ และจะเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จในการขายที่อยู่อาศัย ท่ามกลางการแข่งขัน
ในตลาดที่อยู่อาศัยที่ยังคงรุนแรงในระยะข้างหน้า
Proptech ช่วยอำนวยความสะดวกต่อผู้บริโภค ตั้งแต่การค้นหาที่อยู่อาศัย การซื้อ/เช่า/ลงทุน การอยู่อาศัย ไปจนถึงบริการหลังการขาย ขณะเดียวกัน Proptech ก็เข้ามามีบทบาทช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยมากขึ้นด้วยโดย Property Technology (Proptech) คือ นวัตกรรม หรือเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น ซอฟต์แวร์, แพลตฟอร์ม, แอปพลิเคชัน, Digital solution ที่เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพ และช่วยอำนวยความสะดวกในกิจกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ทั้งที่อยู่อาศัย และอสังหาริมทรัพย์
เชิงพาณิชย์ ตั้งแต่การก่อสร้าง การซื้อ/เช่า/ลงทุน การอยู่อาศัย การใช้พื้นที่ ไปจนถึงการบริหารจัดการ
1.การค้นหาที่อยู่อาศัย ในรูปแบบแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น การรวบรวมข้อมูลการประกาศขาย/ให้เช่าที่อยู่อาศัย ตัวแทนจับคู่นายหน้ากับผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัย การทำการตลาดของผู้ประกอบการ รวมถึงการเข้าชมโครงการที่อยู่อาศัยแบบ Virtual viewing
2.กระบวนการซื้อ/เช่า/ลงทุน ทั้งแพลตฟอร์มที่เป็นตัวแทนจับคู่ผู้ที่ต้องการซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัย กับเจ้าของที่อยู่อาศัย โดยไม่ผ่านนายหน้า การบริหารจัดการด้านการเช่า ไปจนถึงการอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น การกู้เงิน การประเมินมูลค่าที่อยู่อาศัย
3. การอยู่อาศัย โดยเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมาร์ตโฮม เช่น ระบบอัตโนมัติ การสั่งการด้วยเสียง การควบคุมระบบต่าง ๆ ทั้งจากภายใน และภายนอกที่อยู่อาศัยผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ
4. บริการหลังการขาย ทั้งการบริหารจัดการ
สิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการที่อยู่อาศัย บริการซ่อมแซม บำรุงรักษา ติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ บริการทำความสะอาด รับ/ส่งพัสดุ ไปจนถึงประกันภัยที่อยู่อาศัย
ปัจจุบัน วงการ Proptech ในต่างประเทศมีความคึกคัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งในปี 2021 มีผู้ประกอบการ Proptech ด้านที่อยู่อาศัยถึง 1,340 ราย ตัวอย่างที่สำคัญ ได้แก่ Zillow ซึ่งเป็น แพลตฟอร์ม ด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ครบวงจร ทั้งบริการซื้อ/ขาย/เช่าที่อยู่อาศัย ไปจนถึงการพิจารณาสินเชื่อ ที่มีการเชื่อมโยงผู้เล่นในตลาดหลากหลายกลุ่ม ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้เช่าที่อยู่อาศัย นักลงทุน ผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัย และนายหน้า
ทั้งนี้ Zillow เป็นแพลตฟอร์มที่มีการวิเคราะห์ Big Data และใช้ Artificial Intelligence (AI) คาดการณ์พฤติกรรมของซื้อ ผู้ขาย ผู้เช่าที่อยู่อาศัยและนักลงทุน รวมถึงมีการพัฒนาระบบการจับคู่ความต้องการที่อยู่อาศัย กับเจ้าของที่อยู่อาศัยได้เฉพาะเจาะจง ส่งผลให้ Zillow เป็นแพลตฟอร์มด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความนิยมในการใช้บริการเป็นลำดับต้น ๆ ในสหรัฐอเมริกา โดยมีอสังหาริมทรัพย์กว่า 135 ล้านรายการอยู่ในฐานข้อมูล มีผู้ชมเว็บไซต์ โดยเฉลี่ย 36 ล้านครั้ง/เดือน และมียอด ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันผ่าน Google Play มากกว่า 10 ล้านครั้ง
สำหรับตลาดที่อยู่อาศัยในไทยนั้น ผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยก็มีการนำ Proptech มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจ และอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ซื้อ ผู้ขาย และผู้เช่าที่อยู่อาศัยบ้างแล้ว ทั้งการทำการตลาดนำเสนอโครงการที่อยู่อาศัยผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ รวมถึงยังใช้บริการแพลตฟอร์มตัวแทนจับคู่นายหน้ากับผู้ประกอบการ เพื่อใช้บริการนายหน้าที่มีความเชี่ยวชาญในการขายโครงการที่อยู่อาศัย
และมีฐานผู้ซื้อที่อยู่อาศัยเซกเมนต์ต่าง ๆ โดยผู้ซื้อ/ผู้เช่าที่อยู่อาศัยก็ได้มีการใช้แพลตฟอร์มรวบรวมข้อมูลการประกาศขาย/ให้เช่าที่อยู่อาศัย เป็นช่องทางในการค้นหาข้อมูลที่อยู่อาศัย ในทำเล และระดับราคาต่าง ๆ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังพัฒนาสมาร์ตโฮม และใช้แอปพลิเคชันบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการที่อยู่อาศัยอีกด้วย
ทั้งนี้การใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคในปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่หลากหลาย อีกทั้ง เทคโนโลยีบางกลุ่ม ยังมีความทับซ้อนกันกับ Proptech ส่งผลให้ผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับการขยายขอบเขตไปสู่การลงทุน หรือการสร้างความร่วมมือเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการเทคโนโลยีอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ทำให้เกิดการผสมผสานนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีที่หลากหลาย
ไม่ว่าจะเป็น Construction tech ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย Health & Wellness tech ที่ช่วยอำนวยความสะดวกด้านสุขภาพสำหรับผู้อยู่อาศัย Internet of Things (IoTs) ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของสมาร์ตโฮมไปจนถึงฟินเทคที่จะมาช่วยอำนวยความสะดวกในการชำระค่าที่อยู่อาศัย และค่าบริการต่าง ๆ เพื่อพัฒนา Digital solution ที่ช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับผู้อยู่อาศัยได้อย่างครบวงจร
นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิเคราะห์ Big Data ที่เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในเชิงลึกของผู้อยู่อาศัย การประเมินราคา การวิเคราะห์โอกาสในการลงทุน
ไปจนถึงการทำการตลาดไปยังผู้ซื้อที่อยู่อาศัยกลุ่มเป้าหมายในแพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยใช้เกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น รูปแบบที่อยู่อาศัย อายุ รายได้ ทำเล ระดับราคา เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงซื้อที่อยู่อาศัยกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันขายโครงการที่อยู่อาศัยได้มากขึ้นในระยะต่อไป
การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยาวนาน ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่เป็น New normal เป็นปัจจัย เร่งให้ Proptech เข้ามามีบทบาทในตลาดที่อยู่อาศัยมากขึ้น การแพร่ระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่ต้นปี 2020 ส่งผลกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัยอย่างมาก ทั้งกำลังซื้อที่หดตัวลงไปตามภาวะเศรษฐกิจ และข้อจำกัดในการเยี่ยมชมโครงการที่อยู่อาศัยในช่วงที่การแพร่ระบาดเป็นไปอย่างรุนแรง ส่งผลให้ยอดขายที่อยู่อาศัยหดตัวลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา
สถานการณ์ดังกล่าว เป็นปัจจัยเร่งให้ผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยปรับกลยุทธ์ โดยส่วนใหญ่
นำ Proptech มาใช้มากขึ้น เพื่อให้การดำเนินธุรกิจยังสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งการทำการตลาดเชิงรุกผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ และการให้บริการเข้าชมโครงการที่อยู่อาศัยแบบ Virtual viewing ที่นำเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) มาช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้เข้าชมโครงการ เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายที่อยู่อาศัย ท่ามกลางข้อจำกัดในการเข้าชมโครงการในช่วงที่การแพร่ระบาดเป็นไปอย่างรุนแรง
โดยปัจจุบันเทคโนโลยี AR และ VRกลายเป็นบริการพื้นฐานที่โครงการที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ส่วนใหญ่จะมีไว้เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้เข้าชมโครงการ ซึ่งสามารถช่วยกระตุ้นยอดขายที่อยู่อาศัยได้บางส่วน โดยตลาดที่อยู่อาศัยยังเผชิญแรงกดดันหลักจากกำลังซื้อที่หดตัวลงไปตามภาวะเศรษฐกิจเป็นหลัก
ทั้งนี้ EIC มองว่า การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยาวนาน และยังไม่มีแนวโน้มที่จะสิ้นสุดลง ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป โดยเกิดพฤติกรรมที่เป็น New normal อย่างแนวโน้มที่ผู้คนใช้ชีวิตอยู่ภายในที่อยู่อาศัยมากขึ้น ทั้ง Work from home และการเรียนออนไลน์ ส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยให้ความสำคัญกับความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และการประหยัดพลังงานภายในที่อยู่อาศัยมากขึ้น
อ้างอิง EIC
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด