ไทยพาณิชย์เปิดตัว SCB มีตังค์ บริการเบิกจ่ายล่วงหน้า แก้ปัญหาการเงินฉุกเฉินให้กับมนุษย์เงินเดือน | Techsauce

ไทยพาณิชย์เปิดตัว SCB มีตังค์ บริการเบิกจ่ายล่วงหน้า แก้ปัญหาการเงินฉุกเฉินให้กับมนุษย์เงินเดือน

ธนาคารไทยพาณิชย์ ปลุกพลัง “SCB มีตังค์” เปลี่ยนทางเลือกเป็นทางรอดในวิกฤตสภาพคล่อง ชวนนายจ้างฉีกกฎสวัสดิการให้พนักงานเบิกเงินเดือนล่วงหน้าได้ตามจำนวนวันที่ทำงานไปแล้ว ด้วยแนวคิด “มีตังค์ไม่ต้องรอสิ้นเดือน” พร้อมจัดสิทธิประโยชน์จาก SCB Payroll ช่วยนายจ้างจ่ายเงินเดือนล่วงหน้าโดยไม่เป็นภาระเงินสำรองของบริษัท ตอบโจทย์การบริหารงานบุคคลขององค์กรยุคใหม่ ที่พร้อมแก้ปัญหาการเงินฉุกเฉินของพนักงานในวิกฤตโควิด-19 ได้อย่างลงตัว ร่วมสร้างทางรอดให้มนุษย์เงินเดือนสามารถวางแผนการเงินจากรายได้ประจำของตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาหนี้นอกระบบ ทั้งนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ต้องการช่วยเหลือลูกจ้างในสถานการณ์ปัจจุบัน จึงจัดแคมเปญให้พนักงานขององค์กรที่เข้าร่วมโครงการและรับเงินเดือนผ่าน SCB Payroll เบิกเงินเดือนล่วงหน้าผ่านฟังก์ชันมีตังค์ ในแอปพลิเคชัน SCB Easy ด้วยค่าธรรมเนียมเพียง 1,000 ละ 10 บาท ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2564 – 31 ธันวาคม 2564 นี้เท่านั้น

SCB

นายธนวัฒน์ กิตติสุวรรณ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน GTS and Ecosystems ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ปัญหาสภาพคล่องตึงมือในกลุ่มมนุษย์เงินเดือนมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จากผลกระทบการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ลากยาวเกือบ 2 ปี ทั้งภาระค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตที่สูงขึ้นและรายจ่ายที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดของครัวเรือน ในขณะที่มีรายได้ลดลงทั้งจากการปรับลดเงินเดือน ชั่วโมงทำงาน และโบนัส ซึ่งข้อมูลจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) ระบุว่าไตรมาสแรกปี 2564 เงินเดือนของตลาดแรงงานปรับลดลง -2.9% ในทุกอุตสาหกรรมและรายได้จากโบนัสลดลงถึง -41.0% หากรวมผลกระทบจากการระบาดระลอก 3 ซึ่งมีความรุนแรงจะทำให้ตัวเลขรายได้แย่ลงมากกว่านี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ต้องการลดปัญหามนุษย์เงินเดือนหันหน้าพึ่งพาเงินกู้นอกระบบตั้งแต่ต้น จึงเดินหน้าจัดทำโครงการ “SCB มีตังค์” ซึ่งปัจจุบันมีพนักงานกว่า 5,600 คนขององค์กรพันธมิตรใช้บริการ วันนี้จึงเป็นจังหวะเหมาะสมที่จะได้นำนวัตกรรมของ “SCB มีตังค์” และศักยภาพของ SCB Payroll ช่วยแก้ไขวิกฤตสภาพคล่องให้กับมนุษย์เงินเดือนโดยไม่สร้างภาระสำหรับนายจ้าง ด้วยการเบิกเงินเดือนล่วงหน้า (On-Demand Access Wages) ซึ่งมั่นใจว่าหลังจากนี้จะได้รับความสนใจจากองค์กรต่างๆ สมัครเข้าร่วมโครงการเพื่อนำไปเป็นสวัสดิการที่ดียิ่งขึ้นให้กับพนักงาน

“SCB มีตังค์” เป็นหนึ่งในบริการพิเศษของ SCB Payroll Solution ที่มอบให้กับพนักงานขององค์กรที่ใช้บริการ SCB Payroll ของไทยพาณิชย์ ให้สามารถเบิกเงินเดือนล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน SCB Easy ได้ตามจำนวนวันที่ตัวเองต้องการ ผ่านแนวคิด “มีตังค์ไม่ต้องรอสิ้นเดือน” ด้วยระบบการทำงานที่ง่ายและสะดวกสำหรับทุกฝ่าย เพียงบริษัทนายจ้างแจ้งชื่อพนักงานกลุ่มเป้าหมายและอัปเดตจำนวนวันทำงาน จากนั้นพนักงานที่ปรากฎชื่อในสิทธิก็จะสามารถเบิกเงินเดือนได้เท่ากับจำนวนวันที่ได้ทำงานจริงมาแล้วในเดือนนั้น ๆ  สูงสุดไม่เกิน 50% ของเงินเดือน หรือไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือน (หรือตามที่นายจ้างกำหนด) สามารถตอบโจทย์การบริหารงานบุคคลขององค์กรยุคใหม่ ควบคู่กับการช่วยดูแลด้านการเงินให้พนักงานมีทางเลือกในยามฉุกเฉินอย่างลงตัว นอกจากนี้ธนาคารยังมีแพ็คเกจสวัสดิการทางการเงินที่มอบให้กับพนักงานขององค์กรอย่างครบครัน อาทิ เงินฝาก สินเชื่อ ประกันชีวิต และบัตรเครดิต ที่ให้สิทธิพิเศษเหนือกว่าทั้งดอกเบี้ยพิเศษและโปรโมชั่นเฉพาะกลุ่มอีกมากมาย 

ทั้งนี้ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในสถานการณ์ปัจจุบัน ธนาคารได้ปรับลดค่าธรรมเนียมการเบิกเงินเดือนล่วงหน้าจาก 1,000 ละ 20 บาท เหลือ 1,000 ละ 10 บาท ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2564 – 31 ธันวาคม 2564 นี้เท่านั้น โดยพนักงานที่รับเงินเดือนผ่าน SCB Payroll และองค์กรที่เข้าร่วมโครงการจะสามารถเบิกเงินเดือนล่วงหน้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านฟังก์ชัน มีตังค์ ในแอปพลิเคชัน SCB Easy องค์กรที่สนใจใช้บริการ SCB Payroll Solution สามารถติดต่อผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์ หรือศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.scb.co.th/th/payroll.html สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ SCB Business Call Center 0 2722 2222

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NIA เปิดเวที AGROWTH เร่งการเติบโตดีพเทคสตาร์ทอัพเกษตร

NIA เดินหน้าสร้างสตาร์ทอัพ สายเกษตรให้เพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีเชิงลึก เพื่อเร่งการเติบโตและแก้ไขปัญหาซ้ำซ้อนในภาคเกษตร ที่ต้องการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบเดิมไปสู่การพึ่...

Responsive image

ไทยมี ‘ผู้บริหารหญิง’ นั่งบอร์ด แค่ 19% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก-อาเซียน

มีผู้หญิงจำนวนน้อยกว่าหนึ่งในสี่ (ร้อยละ 23.3) ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 นับตั้งแต่รายงานฉบับล่าสุดที่เผยแพร่ในปี 2565...

Responsive image

EVAT จับมือ กฟผ. และ ม.กรุงเทพธนบุรี จัดแข่งรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง พร้อมลงนาม MOU พัฒนายานยนต์ไฟฟ้า

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย จับมือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี พร้อมเดินหน้าจัดงานแข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคต ครั้งที่ 3 พร้อมลงนามบั...