Sea (Group) เผยเทรนด์ E-commerce ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่น่าจับตามองในปี 2019

Sea (Group) เผยเทรนด์ E-commerce ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่น่าจับตามองในปี 2019

‘Sea (Group)’ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำ อาทิ Garena Shopee และ AirPay ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวันชี้เทรนด์และแนวโน้มอุตสาหกรรม E-commerce ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังคงอยู่ในช่วงตลาด ‘Sunrise’ และมีการเติบโตของอุตสาหกรรม E-commerce เติบโตอย่างต่อเนื่อง

สามเทรนด์ที่น่าจับตามองของ E-commerce ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี 2019

แม้นักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักต่างก็คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มจะชะลอตัวลงในปี 2019 เนื่องด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น สงครามการค้าระหว่างประเทศและการขึ้นอัตราดอกเบี้ย นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังมองว่า E-commerce ในอาเซียนน่าจะยังเติบโตได้อย่างแข็งแรง

รายงานจาก Google และ Temasek ระบุว่า อุตสาหกรรม E-commerce ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 62% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และคาดการณ์ว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผลักดันให้ยอดขายทั้งหมด (GMV) มีมูลค่ามากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.1ล้านล้านบาท) ภายในปี 2025 เนื่องจากการที่คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้นผ่านทางโทรศัพท์สมาร์ทโฟน การลงทุนจากภาคเอกชนและรัฐเพื่อพัฒนาระบบนิเวศน์ของ E-commerce บวกกับการที่ยอดขายบนแพลตฟอร์ม E-commerce ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับเป็นเพียง 3-5% ของยอดขายจากการค้าปลีกทั้งหมด นับว่ามีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับประเทศจีนและสหรัฐอเมริกาที่สัดส่วนยอดขาย E-commerce สูงถึง 20% และ 10% ตามลำดับ

 หากเจาะลึกลงไปอีกขั้นจะพบว่าสิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดดคือ “รูปแบบ”ของการขยายตัวและการพัฒนาของ E-commerce ในภูมิภาคนี้ที่กำลังเปลี่ยนแปลงพลิกโฉมอย่างมหาศาลเช่นกัน โดยมีสามเทรนด์ที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด ได้แก่

 

1. ปรากฎการณ์ ‘Experiential ecommerce’ หรือ การที่ E-commerce กลายเป็นเรื่องของคนซื้อ “ประสบการณ์” ไม่ใช่แค่ซื้อของ คล้ายกับการไปห้างสรรพสินค้า

ในปัจจุบันความต้องการของผู้ใช้ E-commerce ไม่หยุดอยู่เพียงแค่การซื้อสินค้าที่ตนเองต้องการ แต่ยังชอบที่จะค้นพบสินค้าใหม่ที่ตนไม่เคยรู้จักมาก่อน มองหาความเพลิดเพลินจากการใช้แพลตฟอร์ม E-commerce และพอใจที่จะมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนและผู้คนในแวดวงของตนเอง อีกด้วย ผู้บริโภคอาจเข้าแอพพลิเคชั่นโดยที่ยังไม่มีสินค้าที่อยากซื้ออยู่ในใจ แต่เข้ามาเพื่อมองหาสินค้าและข้อเสนอที่น่าสนใจจากแพลตฟอร์ม E-commerce และสอบถามข้อมูลจากผู้ขายเมื่อพบสินค้าที่ตนเองสนใจ

การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) บวกกับ Big Data เพื่อให้รู้จักผู้บริโภคและสามารถปรับสินค้าแนะนำที่แต่ละคนจะเห็นจึงกลายเป็นเรื่องที่สำคัญมาก นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังเข้าแอพพลิเคชั่นมาเพื่อเล่นมินิเกม เช่น เกมตอบคำถามแบบในเกมโชว์ ที่ดำเนินรายการโดยดาราที่เราคุ้นเคย เพื่อชิงรางวัลได้เป็นส่วนลดไปใช้ในการช้อปปิ้งต่อได้ ที่สำคัญผู้เล่นยังสามารถเข้าไปเล่นร่วมกับเพื่อนไปพร้อมๆกัน เป็นกิจกรรมไม่ได้ทำคนเดียวแต่มีมิติของสังคมผสมเข้าไปด้วย

สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือพรมแดนระหว่างการช้อปปิ้ง แวดวงสังคม และความบันเทิงจางหายไป ทำให้ตัวชี้วัดความสำเร็จของ E-commerce แพลตฟอร์มก็เปลี่ยนไปเช่นกัน ปัจจัยที่เมื่อก่อนนักวิเคราะห์อาจไม่สนใจเช่น “ระยะเวลา”ที่ผู้คนใช้บนแอพพลิเคชั่นก็ได้กลายเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

2. E-commerce แพลตฟอร์มกลายเป็น “เพื่อนคู่คิดภาคดิจิทัล” สำหรับผู้ขาย‘ออฟไลน์’

เมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป แพลตฟอร์ม E-commerce กำลังได้รับบทบาทใหม่ทางธุรกิจ ที่มากกว่าแค่ ‘ช่องทางจำหน่ายออนไลน์’ แต่ได้กลายเป็นเพื่อนคู่คิดของแบรนด์ออฟไลน์ต่างๆ โดยใช้ความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ดาต้า คาดการณ์ความต้องการผู้บริโภค ช่วยนำเสนอแนวทางการโฆษณาและ  ทำการตลาด โปรโมชั่น รวมไปถึงแก้ปัญหาเรื่องโลจิสติกส์ การชำระเงิน เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้น อีกด้วย แม้ผู้ค้าปลีกต่างๆจะเห็นความสำคัญของตลาดออนไลน์มานานแล้วสิ่งที่เปลี่ยนไปจากแต่ก่อนก็คือ ร้านและแบรนด์ออฟไลน์ทุกเจ้าไม่จำเป็นต้องเปิดและลงทุนเงินมหาศาลในการสร้างร้านออนไลน์ของตนเองจากศูนย์เพราะสามารถหันมาจับมือใช้บริการของ E-commerce แพลตฟอร์มที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนี่ได้

เทรนด์นี้ได้เกิดขึ้นแล้วในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงที่ผ่านมาแบรนด์ที่ผลิตสินค้าอุปโภค-บริโภค และร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ อาทิ ‘Miniso’ ในสิงค์โปร ‘Nestle’ ในมาเลเชีย และ ‘Big C’ ในประเทศไทย ได้เปิดร้านในแพลตฟอร์ม E-commerce และร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นเพื่อพัฒนาบริการให้ผู้บริโภค

3. E-commerce “เปิดประตู” สู่ผู้บริโภคและผู้ขายใหม่ที่ไม่เคยค้นพบมาก่อน

แพลตฟอร์ม E-commerce สามารถช่วยให้กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย หรือ กลุ่ม ‘micro-entrepreneurs’ และ SME เข้าถึงตลาดใหม่ๆ ที่ไม่ได้กำจัดพื้นที่อยู่แค่ตลาดท้องถิ่นที่ผู้ประกอบการรายย่อยนั้นดำเนินการอยู่ อีกทั้งยังสร้างโอกาสให้กับแบรนด์ชั้นนำต่างๆ ให้เข้าถึงกลุ่มตลาดใหม่ ที่ไม่ใช่แค่ตลาดหลักดั้งเดิมของแบรนด์นั้นๆ อีกด้วย ยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของ Shopee ได้ทำงานร่วมกับธุรกิจจำหน่าย ‘ปลาร้า’ แห่งหนึ่งซึ่งปกติจะพบข้อกำจัดด้านการจัดส่งและการเข้าถึงลูกค้า หลังจากได้เปิดช่องทางออนไลน์ SME รายนี้สามารถเพิ่มยอดขายได้ถึงสองเท่าในเวลาสามเดือน จนสุดท้ายติดลมบนพัฒนาจนกลายเป็นผู้ส่งออกไปต่างประเทศเช่น ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์

แต่ความสำเร็จเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เพราะยังมี SME จำนวนมากที่ไม่คุ้นกับการใช้ E-commerce โดยการศึกษาของ ‘Bain & Company’ ชี้ให้เห็นว่าแม้วิสาหกิจขนาดย่อมส่วนใหญ่ของไทยเห็นประโยชน์ของการขายออนไลน์ มีไม่ถึง 50%ที่ได้ทำจริง การร่วมมือกันระหว่าง E-commerce แพลตฟอร์มและรัฐบาลในการจัดคอร์สอบรมเพื่อช่วยให้ร้านค้าเหล่านี้ใช้ E-commerceได้เต็มที่อย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ใช่เพียงฝั่งผู้ขายเท่านั้นที่จะเชื่อมเข้าสู่ตลาดได้ง่ายขึ้น ผู้บริโภคที่อาจอยู่ในถิ่นที่ไม่ค่อยมีร้านค้าปลีกให้เลือกมากนักก็สามารถใช้E-commerceเพื่อให้ได้สินค้าโดยเฉพาะของจำเป็นที่ต้องการได้ โดยข้อมูลของช้อปปี้ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มลูกค้าที่อาศัยอยู่นอกเขตเมืองหลวง ได้กลายเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีความสำคัญมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

E-commerce ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทยนั้นเปรียบเสมือนยังอยู่ใน “วัยเยาว์” ที่ไม่เพียงเติบโตอย่างรวดเร็วแต่มีการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการอยู่ตลอด ต้องลองมาจับตาดูว่าปี 2019 นี้เทรนด์เหล่านี้จะมีผลอย่างไรต่อธุรกิจและเศรษฐกิจประเทศไทยอย่างไรบ้าง

ดร. สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist Sea (Group) กล่าวว่า “ปี 2018 ที่ผ่านมา นับว่าเป็นอีกหนึ่งปีที่ดีของอุตสาหกรรม E-commerce โดยเรายังได้เห็นแนวโน้มการเติบโตของ E-commerce อย่างต่อเนื่อง สำหรับ Sea  (กรุ๊ป) เราเดินหน้าสู่ความเป็นผู้นำการให้บริการอินเตอร์เน็ตแพลตฟอร์มของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ที่มีศักยภาพครอบคลุมพร้อมตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ผู้ใช้งานในยุคดิจิตอล ภายใต้พันธกิจ ‘Connecting the dots’ ในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มที่ครอบคลุมทั้งบนระบบคอมพิวเตอร์พื้นฐาน เราพร้อมเดินหน้าพัฒนากลุ่มสินค้าและบริการ ให้มีความหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทุกคน และหวังว่าเทรนด์ E-commerce ที่น่าจับตาในปี 2019 นี้ จะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมโดยกว้าง”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ส.อ.ท. เตรียมจัด FTI EXPO 2025 รวมสุดยอดนวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผนึกกำลังพันธมิตรองค์กรชั้นนำ จัดงาน FTI EXPO 2025 ภายใต้แนวคิด “4GO” ที่ครอบคลุม 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ ดิจิทัล นวัตกรรม การขยายตลาดสู่ต่างประเทศ แ...

Responsive image

เดลต้า ประเทศไทย ชูธงนวัตกรรม ESG คว้าดัชนี FTSE4Good ตอกย้ำความเป็นเลิศ

เดลต้าได้รับคัดเลือกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดัชนี FTSE4Good Index Series ซึ่งจัดทำโดย FTSE Russell ผู้ให้บริการด้านดัชนีและข้อมูลระดับโลก...

Responsive image

GMM Music เผย Digital Streaming ตัวเร่งสำคัญในการเติบโตของอุตสาหกรรมเพลงไทย

อุตสาหกรรมเพลงไทยยุคดิจิทัล
อุตสาหกรรมเพลงไทยกำลังเข้าสู่ยุคทองของการเติบโตแบบก้าวกระโดด จากพลังแห่งโลกดิจิทัลที่ทำให้ดนตรีไทยทะยานสู่ระดับโลก โดยปี 2023 ตลาดเพลงไทยขยายตัว 16% เที...