นักศึกษา มจธ. เจ๋ง พัฒนาผลงานทรานส์ฟาร์เมอร์ ควบคุมการเกษตรด้วยเทคโนโลยี | Techsauce

นักศึกษา มจธ. เจ๋ง พัฒนาผลงานทรานส์ฟาร์เมอร์ ควบคุมการเกษตรด้วยเทคโนโลยี

ปัจจุบันภาคการเกษตรถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญ แต่อาจจะยังไม่ค่อยมีการนำผลงานนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในภาคการเกษตรอย่างจริงจัง จึงเป็นที่มาของ ผลงานทรานส์ฟาร์เมอร์ ซึ่งเป็นระบบจัดการเกษตรที่ได้ทดลองแล้วบนแปลงปลูกผักจริง สามารถเข้าถึงโดยบุคคลทั่วไป เพื่อลดปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวย รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพทางการเกษตร  โดย ทีมสมาร์ทแฟคตอรี่ ประกอบด้วย นายณัฐพงษ์ มะลาเวช นายนนทวิชญ์ มากจันทร์ และนายศุภณัฐ ตันติอมรพงษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรวิศวกรรมอัตโนมัติ ภาควิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวด “Jinpao Automation Contest 2019” ได้รับทุนการศึกษา 300,000 บาท พร้อมโล่เกียรติคุณ

นายณัฐพงษ์ มะลาเวช เล่าว่า ได้นำความรู้วิชา Capstone Project ในชั้นเรียนที่บูรณาการระหว่างวิชาอิเล็กทรอนิกส์ ดิจิทัลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และวิชาระบบเครือข่ายและซอฟต์แวร์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นวิชาที่สอนให้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับภาคอุตสาหกรรม จึงมีแนวคิดที่สร้างผลงานทรานส์ฟาร์เมอร์ เป็นระบบการจัดการเกษตรกรรมที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการใช้งานได้ง่าย โดยมีการใช้ระบบ IOT เข้ามาช่วย เช่น ระบบ Automation, Cyber Networking หรือการเก็บข้อมูลบน Cloud เป็นต้น ซึ่งผลงานอยู่ในช่วงระยะทดลอง โดยหวังว่าจะเป็นการสร้างนวัตกรรม หรือเป็นการสร้างการเรียนรู้ให้กับภาคอุตสาหกรรมการเกษตรมากขึ้น เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรสามารถมีการพัฒนาหรือเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต

นายนนท์วิชญ์ มากจันทร์ กล่าวว่า ผลงานทรานส์ฟาร์เมอร์ ที่ทดลองบนแปลงปลูกผักไฮโดรโปรนิก แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1.ระบบฮาร์ดแวร์ การออกแบบแปลงผักเป็นชั้น เพื่อประหยัดพื้นที่ มีระบบท่อแบบน้ำวนไหลวนไปแต่ละชั้น ติดตั้งเซ็นเซอร์การวัดค่าปุ๋ย ติดตั้งอุปกรณ์แขนกลเพื่อเก็บผัก 2. ระบบเซริฟเวอร์ ที่เชื่อมระบบฮาร์ดแวร์และแอพพลิเคชั่น โดยใช้กูเกิลฟอร์มในการเก็บข้อมูลต่างๆ ของระบบการปลูกผัก เช่น ค่าอุณหภูมิ ความเข้มข้นแสง สภาพอากาศ ความชื้น เป็นต้น นอกจากนี้มีการเก็บข้อมูลของผู้ใช้งาน เช่น จำนวนแปลงผัก เมล็ดที่ปลูกไปแล้ว เป็นต้น 3. แอพพลิเคชั่น ทดลองในระบบแอนดรอยด์ เพียงสมัครใช้งานเพื่อลงทะเบียนการปลูกผักก็สามารถควบคุมการปลูกผักได้ด้วยตัวเอง และมีผลผลิตได้จริง โดยในอนาคตมองว่าจะมีการพัฒนาต่อยอดในเรื่องของฟังก์ชันการใช้งานอื่นๆ เช่น ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบบริหารจัดการการจัดจำหน่าย เป็นต้น

ดร.ธนกร เจณณวาสิน อาจารย์ที่ปรึกษา กล่าวว่า การที่นักศึกษาได้ใช้วิชาความรู้จากที่เรียนมา จะทำให้เกิดการฝึกฝนพัฒนา เรียนรู้ทักษะต่างๆ มากขึ้น เพื่อให้ประสบความสำเร็จ มีผลงานนวัตกรรมที่ใช้ได้ผลจริง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

KBank เปิดผลงานปี 67 กำไร 48,598 ล้านบาท ท่ามกลางความท้าทายเศรษฐกิจ

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ยังมีสัญญาณฟื้นตัวไม่ทั่วถึง (K-Shaped Recovery) แม้ในภาพรวมสามารถประคองการขยายตัวไว...

Responsive image

SCB 10X เปิดเวที “Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand” เดินหน้าวิจัย AI ไทย พร้อมเปิดตัว ‘ไต้ฝุ่น 2.0’ เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด

SCB 10X เปิดตัว "ไต้ฝุ่น 2" โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สุดล้ำในงาน Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand พร้อมยกระดับวิจัย AI ไทยสู่เวทีโลก...

Responsive image

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future”

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 มุ่งขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทยด้วยเทคโนโลยี AI สู่ยุคดิจิทัล...