ม.มหิดล ผนึก Thonburi Healthcare จัดตั้งศูนย์วิจัยคิดค้น Health Tech พัฒนา Smart Hospital | Techsauce

ม.มหิดล ผนึก Thonburi Healthcare จัดตั้งศูนย์วิจัยคิดค้น Health Tech พัฒนา Smart Hospital

บมจ.ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป ลงนามเอ็มโอยู กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมมือจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์และบริการทางการแพทย์ ที่รพ.ธนบุรี บำรุงเมือง เพื่อพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์เพื่อใช้ภายในโรงพยาบาลเครือ THG ก้าวสู่ Smart Hospital รับศักยภาพประเทศไทยเป็นเมดิคัลฮับของภูมิภาคหลังรับมือการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ได้ดี พร้อมร่วมกันวิจัยพัฒนานวัตกรรม Health Tech สู่การจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในอนาคต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางการแพทย์และสุขภาพแก่ประเทศ 

คุณแพทย์บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีนโยบายนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ๆ เข้ามาให้บริการเพื่อเพิ่มศักยภาพและยกระดับโรงพยาบาลเครือ THG สู่ Smart Hospital รับยุคดิจิทัลและศักยภาพประเทศไทยเป็นเมดิคัลฮับของภูมิภาคนี้ รวมถึงความต้องการใช้บริการทางการแพทย์จากชาวต่างชาติที่เป็นกลุ่มเฮลท์ 

ทัวริสซึมหรือกลุ่มท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เนื่องจากประเทศไทยสามารถรับมือการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ได้ดีเป็นอับดับต้นๆ ของโลกและมีอัตราการเสียชีวิตต่ำ ล่าสุด จึงลงนามความร่วมมือเอ็มโอยูกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้ง ‘ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม Medical Services’ ที่ รพ.ธนบุรี บำรุงเมือง เพื่อสนับสนุนการวิจัยพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ เพื่อนำมาใช้ในโรงพยาบาลเครือ THG และร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม Health Tech สู่การจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในอนาคต ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนความก้าวหน้าและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางการแพทย์แก่ประเทศอีกด้วย  

"เทรนด์ของโรงพยาบาลในอนาคตจะต้องพัฒนาสู่ Smart Hospital นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ต่างๆ เข้ามาใช้ เช่น ระบบ A.I., เพื่อยกระดับบริการให้ก้าวหน้าล้ำสมัยสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล ช่วยให้คนไข้ที่อยู่ห่างไกลสามารถได้รับคำปรึกษาและเข้าถึงการรักษาได้ทันเวลา ขณะที่โรงพยาบาลสามารถให้บริการคนไข้ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น" นายแพทย์บุญ กล่าว 

ดร.เจษฎา ธรรมวณิช Chief PPP Business บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG   กล่าวว่า การเปลี่ยนเแปลงสู่ยุคดิจิทัลและ COVID-19 เป็นตัวเร่งให้โรงพยาบาลต้องปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงและป้องกันความเสี่ยงจากโรคระบาด โดยนำนวัตกรรมเทคโนโลยีและอุปกรณ์การแพทย์ รวมถึงการนำหุ่นยนต์ผู้ช่วยบุคลากรทางแพทย์เข้าให้บริการในโรงพยาบาลเพื่อลดการสัมผัสคนไข้และแก้ไขปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ยังเพียงพอต่อความต้องการ 

ที่ผ่านมา THG ได้เพิ่มศักยภาพให้บริการแก่คนไข้ โดยนำเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในโรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง อาทิ ระบบทันตกรรมดิจิทัล สามารถทำรากฟันเทียมเสร็จภายใน 1 วันเท่านั้น, ศูนย์ตรวจสุขภาพ (Personalized Wellness Check-Up Center) สามารถให้บริการตรวจสุขภาพแบบครบวงจรภายในที่เดียวและออกแบบโปรแกรมเช็กอัพที่เหมาะกับแต่ละบุคคล นอกจากนี้เตรียมนำหุ่นยนต์ผู้ช่วยบุคลากรทางแพทย์เข้ามาให้บริการภายใน รพ.ธนบุรี บำรุงเมือง เพื่อลดการสัมผัสและเพิ่มขีดความสามารถให้บริการแก่คนไข้และการจัดการภายในโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น 

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางการวิจัยพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ของภูมิภาคนี้ เนื่องจากมีนักวิจัยที่มีคุณภาพ และมีจุดแข็งด้านความสามารถให้บริการทางการแพทย์ที่โดดเด่น จากวิกฤติโควิด-19 ได้สะท้อนถึงศักยภาพและความสามารถรับมือการแพร่ระบาดและการรักษาคนไข้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพจนได้รับความชื่นชมและเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก  

ทั้งนี้ ในปัจจุบันโรงพยาบาลต่างๆ  มีความต้องการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพ (Health Tech) เพื่อยกระดับการให้บริการรับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลและเพิ่มขีดความสามารถให้บริการแก่คนไข้ โดยปัจจุบันมีนวัตกรรมและอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์หลายอย่างที่น่าสนใจและเป็นเทรนด์การพัฒนาที่เกิดขึ้นต่อจากนี้ อาทิ ระบบ A.I. เพื่อประเมินอาการและแนวทางวิธีการรักษาเบื้องต้นแก่คนไข้, ระบบ Telemedicine ที่สามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลประวัติการรักษาเพื่อให้บริการแก่คนไข้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลไม่สะดวกเดินทางมายังโรงพยาบาล, การพัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อให้บริการแก่คนไข้ ฯลฯ นอกจากนี้ภายหลังเกิดโรค COVID-19 มีโรงพยาบาลหลายแห่งที่นำนวัตกรรมและหุ่นยนต์ทางการแพทย์เข้ามาให้บริการ  

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ใหม่ๆ ยังมีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนและต่อยอดสู่ความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ต่างประเทศที่มีองค์ความรู้และชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในตลาดเชิงพาณิชย์ ซึ่งการที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการสนับสนุนจาก บมจ.ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป ร่วมกันจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม Medical Services จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายร่วมกันได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น      

รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกและนำเข้าอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับต้นๆ ในอาเซียน โดยส่งออกปีละกว่า 107,700 ล้านบาท และนำเข้าปีละกว่า 66,500 ล้านบาท ภาพรวมของการส่งออกขยายตัวปีละเฉลี่ย 8-10% ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านเฮลท์แคร์และเฮลท์เทค กำลังเป็นที่ต้องการจากทั่วโลกเพื่อยกระดับบริการทางการแพทย์และก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในยุคนิวนอร์มอล โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมร่วมมือกับ THG ดำเนินการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ จะช่วยเพิ่มศักยภาพการให้บริการแก่คนไข้ และจะนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ในอนาคต ซึ่งเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมทางการแพทย์และสุขภาพให้แก่ประเทศอีกด้วย 

ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาทางวิศวะมหิดล ได้พัฒนางานวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ หุ่นยนต์ผ่าตัดนำวิถี, ระบบหุ่นยนต์ผ่าตัดทางไกล (Real -Time Tele Surgery), หุ่นยนต์ช่วยเดินเพื่อฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต( Exoskelton),  หุ่นยนต์แพทย์อัจฉริยะ DoctoSight 1 และ 2 สำหรับการวินิจฉัยและรักษาผ่านระบบโทรเวช,  หุ่นยนต์ “เวสตี้” เก็บขยะติดเชื้อในโรงพยาบาลด้วยระบบ AGV (Automated Guide Vehicle) ที่ใช้แถบแม่เหล็กนำทาง มีระบบแขนกลในการยกถังขยะได้สูงสุดครั้งละ 5 กิโลกรัม, หุ่นยนต์ “ฟู้ดดี้” ส่งอาหารและยาแก่คนไข้ในหอผู้ป่วย ได้ประมาณ 200 คนต่อวัน โดยใช้ระบบนำทางอัจฉริยะด้วยข้อมูลแผนที่ในตัวหุ่นยนต์แบบ QR-Code Mapping รับน้ำหนักบรรทุกได้ 30 - 50 กิโลกรัม 

เพื่อลดภาระงานหนักและความเสี่ยงบุคลากรทางการแพทย์ต่อการติดเชื้อโรคระบาด รวมถึงลดการนำเข้าหุ่นยนต์จากต่างประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ยังมี วีลแชร์ไฟฟ้าควบคุมด้วยสัญญาณสมอง, Alertz อุปกรณ์เตือนการหลับในขณะขับรถด้วยสัญญาณสมอง, ระบบฝึกการแพทย์ผ่าตัดนัยน์ตา (Eye Surgical Training System), ระบบฝึก Haptics VR การแพทย์ผ่าตัดเนื้องอกในสมอง, สารเคลือบนาโนป้องกันเชื้อโรค (NanoCoating), เครื่องกายภาพไจโรโรลเลอร์ (Gyro-Roller) สำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง, ไบโอเซนเซอร์ (Biosensor) อุปกรณ์ตรวจวัดทางชีวภาพ, เป็นต้น  

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SCB 10X เปิดเวที “Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand” เดินหน้าวิจัย AI ไทย พร้อมเปิดตัว ‘ไต้ฝุ่น 2.0’ เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด

SCB 10X เปิดตัว "ไต้ฝุ่น 2" โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สุดล้ำในงาน Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand พร้อมยกระดับวิจัย AI ไทยสู่เวทีโลก...

Responsive image

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future”

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 มุ่งขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทยด้วยเทคโนโลยี AI สู่ยุคดิจิทัล...

Responsive image

ส.อ.ท. เตรียมจัด FTI EXPO 2025 รวมสุดยอดนวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผนึกกำลังพันธมิตรองค์กรชั้นนำ จัดงาน FTI EXPO 2025 ภายใต้แนวคิด “4GO” ที่ครอบคลุม 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ ดิจิทัล นวัตกรรม การขยายตลาดสู่ต่างประเทศ แ...