Value of Branding กุญแจไขความลับ สู่การเป็นแบรนด์ที่คนรักและศรัทธา | Techsauce

Value of Branding กุญแจไขความลับ สู่การเป็นแบรนด์ที่คนรักและศรัทธา

“ทำไมผู้หญิงจำนวนมากยินดีจ่ายเงินหลักแสน - หลักล้าน เพื่อเป็นเจ้าของกระเป๋าแบรนด์เนมหนึ่งใบ”

“ทำไมน้ำเปล่าถึงสามารถตั้งราคาที่แตกต่างกันได้ ตั้งแต่ขวดละ 5 บาท ไปจนถึงหลักร้อยบาทต่อขวด และยังมีคนมากมายเต็มใจจ่ายในราคานี้”

Value of Brandingเพราะธรรมชาติของมนุษย์ไม่ได้ตัดสินใจด้วยเหตุผลเสมอ และบ่อยครั้งที่มนุษย์ตัดสินใจโดยใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง ต่อให้เป็นเรื่อง “Value for Money” ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีเรื่องอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะคนเราจะรู้สึกดีใจและภูมิใจทุกครั้งที่สามารถซื้อสินค้าได้ในราคาถูกและคุ้มค่า ด้วยเหตุนี้ การสร้างแบรนด์จึงสำคัญ เพราะ Branding คือ การสร้างคุณค่าทางอารมณ์ และนี่คงเป็นเหตุผลว่าทำไมแบรนด์อย่าง Chanel และน้ำดื่ม Evian จึงมีอายุมากกว่า 100 ปี และมีคนมากมายพร้อมจ่ายเพื่อสินค้าเหล่านี้

จากการตีตราสินค้า (Brand) เพื่อแยกที่มาของสินค้าในอดีตถึงปัจจุบัน Brand เป็นองค์รวมของความหวัง ความทรงจำ เรื่องราว หรือความสัมพันธ์ ที่หล่อหลอมรวมกันและส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค แสดงให้เห็นว่าแบรนด์จึงเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้แต่อธิบายได้ และสามารถไปถึงจุดที่ยากจะประเมินค่าได้ หากแบรนด์นั้นสามารถสร้างช่องว่างระหว่าง “Willingness to Pay (จุดที่ผู้บริโภคยอมจ่ายเพื่อซื้อสินค้า)” 

และ “Actual Price (ราคามาตรฐานจริง)” เพราะยิ่งแบรนด์มีมูลค่าสูงเท่าไร ช่องว่างระหว่างทั้งสองจุดก็จะห่างมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นการสร้างมูลค่าแบรนด์จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่สามารถเริ่มต้นด้วยการส่งมอบคุณภาพและความรู้สึก “เกินความคาดหมาย” จากการซื้อสินค้าหรือใช้บริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความรู้สึกเชิงบวกให้เกิดขึ้นในใจผู้บริโภค

ปูทางสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้าง Functional Value ควบคู่ Emotional Value ให้ได้

“Functional Value” และ “Emotional Value” เปรียบได้กับพลังแห่งหยินและหยางในโลกของธุรกิจที่ต้องการสมดุล การสร้าง Functional Value เป็นการสร้างมูลค่าหรือคุณค่าจากประโยชน์ที่ได้จากการใช้สินค้าหรือบริการ เป็นโซลูชันที่สามารถแก้ไข Pain Point ให้ลูกค้าได้ ในขณะที่การสร้าง Emotional Value เป็นคุณค่าทางด้านจิตใจและความรู้สึกที่ก่อให้เกิดความผูกพันและความไว้ใจกันระหว่างลูกค้ากับแบรนด์สินค้า ซึ่งการรักษาสมดุลที่ดีระหว่าง Functional Value และ Emotional Value จะทำให้เกิด Willingness to Pay เป็นการสร้างความภักดี (Loyalty) และความได้เปรียบทางธุรกิจ (Advantage) ให้ธุรกิจสามารถแข่งขัน รวมถึงสร้างการเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน 

“Brand Strength Pyramid” ลำดับขั้นสู่การเป็น Iconic Brand ที่แข็งแกร่งและโดดเด่น

Brand เป็นการเชื่อมโยงความรู้สึกของลูกค้าที่มีต่อสินค้าหรือบริการ ที่เปรียบได้กับความรู้สึกของมนุษย์เวลารักหรือชอบใครสักคนมากๆ ก็ยากที่จะบอกเหตุผลได้ว่าเพราะเหตุใด ดังนั้น บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK จึงขอนำเสนอโมเดล “Brand Strength Pyramid” ที่ใช้สร้าง Emotional Connection ให้เกิดขึ้นในใจของลูกค้า เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่รักและศรัทธา 

ซึ่งโมเดลนี้ประกอบด้วย 3 ลำดับขั้น คือ

1) Trust: Performing Brand

คือ การสร้างแบรนด์ ต้องเริ่มจากการสร้างความเชื่อใจ (Trust) ที่สามารถเริ่มต้นด้วย การส่งมอบสินค้าและบริการที่เหนือความคาดหมายอย่างสม่ำเสมอ หากแบรนด์ไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อใจให้เกิดขึ้นในความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมาย ก็เท่ากับว่าแบรนด์ได้ปิดประตูความสำเร็จที่จะไต่ขึ้นไปสู่ระดับ Brand Love หรือ แบรนด์อันเป็นที่รัก

2) Love: Engaging Brand 

คือ การเพาะเมล็ดพันธ์ุแห่ง Brand love ในใจกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และกลุ่มเป้าหมายให้ได้ถึงระดับ Emotional Level ที่สามารถทำได้ผ่านกิจกรรมการสื่อสารทางการตลาด การสร้างแบรนด์ด้วยระบบ CRM รวมถึงงานโฆษณาที่สามารถถ่ายทอดจุดยืนของแบรนด์ได้อย่างชัดเจน และสร้างความประทับใจต่อผู้ที่พบเห็นอย่างลึกซึ้ง 

3) Respect: Iconic Brand 

คือ การขึ้นสู่ยอดพีระมิดของการสร้างแบรนด์ ด้วยการเป็น Iconic Brand ที่ทรงอิทธิลต่อสังคมและโด่งดัง ซึ่งการจะก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดนี้ได้ก็ต่อเมื่อแบรนด์นั้นมีการทุ่มเทให้กับการทำกิจกรรมต่างๆ ที่นอกเหนือจากการทำการตลาดในรูปแบบต่างๆ ทั่วไป การโฆษณา รวมถึงต้องได้รับการพิสูจน์แล้วว่าที่ผ่านมาแบรนด์นั้นๆ มิได้ให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่ยังอุทิศตนและมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนหรือยกระดับสังคมให้ดีขึ้นได้

ด้วยเหตุนี้ แบรนด์ชั้นนำระดับโลกจึงให้ความสำคัญกับการสร้าง Brand Connection กับผู้คนที่ลึกลงไปถึงระดับความเชื่อ ความรู้สึก เพราะสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนกลับมาเป็นมูลค่าของแบรนด์และทำให้มูลค่าของแบรนด์นั้นๆ ไม่สามารถตีเป็นมูลค่าที่แท้จริงทางบัญชีได้ ซึ่งความแข็งแกร่งระดับ “Iconic Brand” แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่ผู้คนมีให้กับแบรนด์ สินค้า แม้ว่าบริษัทจะต้องเผชิญกับภาวะยอดขายตกต่ำแค่ไหน 

แต่สุดท้ายแบรนด์นี้จะกลับมาได้ในที่สุด ซึ่งทางการตลาดเรียกสิ่งนี้ว่า Goodwill หรือ ค่าความนิยม ที่ทำให้คนยินดีจ่ายเงินให้กับแบรนด์สินค้านี้มากขึ้นด้วยเหตุผลทางอารมณ์ และนี่คือเหตุผลว่าทำไม Value of Branding จึงสำคัญ ทำไมจึงมีบริษัทจำนวนมากมายยินดีจ่ายเงินหลักล้านเพื่อ Brand Book เพียงเล่มเดียว และทำไมบทบาทของที่ปรึกษาทางการตลาดจึงสำคัญ ยกตัวอย่างแบรนด์สินค้าที่ประสบความสำเร็จในระดับ Iconic Brands อาทิ Nike, Tesla และ Apple เป็นต้น  

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SCB 10X เปิดเวที “Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand” เดินหน้าวิจัย AI ไทย พร้อมเปิดตัว ‘ไต้ฝุ่น 2.0’ เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด

SCB 10X เปิดตัว "ไต้ฝุ่น 2" โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สุดล้ำในงาน Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand พร้อมยกระดับวิจัย AI ไทยสู่เวทีโลก...

Responsive image

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future”

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 มุ่งขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทยด้วยเทคโนโลยี AI สู่ยุคดิจิทัล...

Responsive image

ส.อ.ท. เตรียมจัด FTI EXPO 2025 รวมสุดยอดนวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผนึกกำลังพันธมิตรองค์กรชั้นนำ จัดงาน FTI EXPO 2025 ภายใต้แนวคิด “4GO” ที่ครอบคลุม 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ ดิจิทัล นวัตกรรม การขยายตลาดสู่ต่างประเทศ แ...