Vilja Solutions ผู้นำธนาคารคลาวด์นอร์ดิก บุกไทย ขยายสู่อาเซียน เตรียมขับเคลื่อนนวัตกรรมดิจิทัล | Techsauce

Vilja Solutions ผู้นำธนาคารคลาวด์นอร์ดิก บุกไทย ขยายสู่อาเซียน เตรียมขับเคลื่อนนวัตกรรมดิจิทัล

เมื่อวันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2024 ที่ผ่านมา Vilja Solutions บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมธนาคารดิจิทัลจากสวีเดน ได้จัดงานเปิดตัวครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ สร้างความฮือฮาให้กับวงการธนาคารและฟินเทคในภูมิภาคอาเซียน งานนี้ได้รับความสนใจจากผู้บริหารวงการธนาคารดิจิทัลชั้นนำของไทยกว่า 70 ราย และมีการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐของไทยและสวีเดน โดยมุ่งเน้นการนำโซลูชันใหม่ๆ เพื่อรองรับการเข้าถึงบริการทางการเงิน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลให้ก้าวไกล

Vilja Solutions บุกไทย ขยายสู่อาเซียน 

เอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย นางอันนา แฮมมาร์เกรน กล่าวเปิดงานพร้อมแสดงความยินดีและสนับสนุนโครงการของบริษัท Vilja ในประเทศไทย โดยเน้นว่าการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจะช่วยรับมือกับความท้าทายต่างๆ ในอนาคต และช่วยให้ทุกคนเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น

นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการ DEPA ก็ได้แสดงความยินดีเช่นกัน โดยกล่าวว่านวัตกรรมของ Vilja สอดคล้องกับแผนของรัฐบาลในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และภาคการเงินถือเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เขายังชื่นชมที่ Vilja เลือกลงทุนในไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศในภูมิภาคอาเซียน

“ประเทศไทยเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองในอาเซียน เป็นที่ตั้งของสถาบันการธนาคารที่มีชื่อเสียงและทันสมัยที่สุดในภูมิภาค เราเห็นว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียนติดตามการพัฒนาในประเทศไทยอย่างใกล้ชิด ด้วยโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจที่เติบโตเต็มที่ ประเทศไทยจึงมีสถานะที่ดีในการใช้ประโยชน์จากโซลูชันธนาคารยุคใหม่เพื่อให้บริการแก่ผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงบริการ ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นที่เรามีความภูมิใจที่จะแบ่งปันกับพันธมิตรในท้องถิ่นของเรา” Fredrik Ulvenholm ซีอีโอของ Vilja กล่าว

ในพิธีลงนามความร่วมมือ Vilja ได้จับมือกับพันธมิตรไทย 4 ราย เพื่อร่วมกันนำเสนอโซลูชันของ Vilja ให้กับลูกค้าในไทย ทั้งปัจจุบันและอนาคต โดยมีตัวแทนจากรัฐบาลไทยและสวีเดนร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี ซึ่งพันธมิตรที่เข้าร่วมลงนาม ได้แก่ คุณ Amy S. Vajropala ซีอีโอจาก Dataone Asia, คุณบุญช่วย สงวนวรพงศ์ ซีเอ็มโอจาก Magic Software Thailand, คุณ Akbar Motani ซีอีโอจาก DPM Thailand, และคุณ Shahan Farid ซีอีโอจาก AquaOrange Software 

Juan Carlos Mauritz กรรมการผู้จัดการ Vilja APAC อธิบายเพิ่มเติมว่า “การได้รับความไว้วางใจจากพันธมิตรในท้องถิ่นชั้นนำเหล่านี้พิสูจน์ให้เห็นถึงความต้องการโซลูชันของเราในตลาด เราจำเป็นต้องทำงานร่วมกับพันธมิตรในท้องถิ่นที่ดีที่สุดเพื่อทำให้เทคโนโลยีของเรามีให้ใช้งานอย่างกว้างขวาง เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมธนาคารไทยสามารถเข้าถึงกลุ่มเศรษฐกิจที่ยังเข้าไม่ถึงบริการได้ ที่นี่เราก้าวไปไกลกว่าการเป็นผู้ขาย นำความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในวงกว้างเพื่อให้ความรู้ สำรวจ และเชื่อมโยงความรู้และอุตสาหกรรมของประเทศของเรารวมกัน เพื่อหาวิธีที่เป็นนวัตกรรมมากขึ้นในการกำหนดเงื่อนไขที่ดีที่สุดสำหรับการเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินในประเทศไทย”

คุณชลเดช เขมะรัตนา Executive Committee member Thanobol Cenphakdee ยังประกาศความคิดริเริ่มร่วมกัน (Joint Initiative) เพื่อเพิ่มความร่วมมือด้านฟินเทคระหว่างไทยและกลุ่มประเทศนอร์ดิก ซึ่งนำโดย Vilja ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) และสมาคมฟินเทคสวีเดน ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยการเดินทางไปสตอกโฮล์มของเหล่าคณะตัวแทนของผู้นำอุตสาหกรรมไทยในเดือนธันวาคมนี้ “กลุ่มประเทศนอร์ดิกเป็นภูมิภาคที่สร้างสรรค์นวัตกรรมมากที่สุดในโลก โดยมีการพัฒนาดิจิทัลในระดับสูงสุด การร่วมมือกับ Vilja ในครั้งนี้ จะช่วยให้เราเชื่อมโยงอุตสาหกรรมและความรู้ของเราเพื่อพัฒนานวัตกรรมไทยและการเข้าถึงบริการทางการเงินต่อไป”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

iNT: พันธมิตรเพื่ออนาคต พร้อมเปิดประตูสู่นวัตกรรมและธุรกิจ Start-Up

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT (อิ๊นท์) ตอกย้ำบทบาทผู้นำ ด้านการสนับสนุนธุรกิจ Start-Up และการส่งเสริมการต่อยอดผลงานวิจัย นวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์...

Responsive image

5 ประโยชน์จาก DUSCAP เครื่องมือ AI อัจฉริยะ ยกระดับองค์กรสู่ความสำเร็จในทุกมิติ

เมื่อเทคโนโลยีกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กร การค้นหาโซลูชันที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และตอบโจทย์การทำงานในยุคดิจิทัลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ DUSCAP ...

Responsive image

KBank เปิดผลงานปี 67 กำไร 48,598 ล้านบาท ท่ามกลางความท้าทายเศรษฐกิจ

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ยังมีสัญญาณฟื้นตัวไม่ทั่วถึง (K-Shaped Recovery) แม้ในภาพรวมสามารถประคองการขยายตัวไว...