Visa เผย 4 ใน 5 ของคนไทยทำธุรกรรมการเงินออนไลน์มากขึ้น

4 ใน 5 ของคนไทย (78 เปอร์เซ็นต์) พยายามใช้เงินผ่านช่องทางดิจิตอลเพียงอย่างเดียวในชีวิตประจำวัน ซึ่งสูงขึ้นกว่าปี 2017 ที่มีเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ อ้างอิงผลจากการสำรวจเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี 2018 ของวีซ่า (Visa Consumer Payment Attitudes Survey 2018) โดยผลสำรวจฉบับนี้ศึกษาถึงทัศนคติ และพฤติกรรมการชำระเงินระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงเทรนด์สำคัญของผู้บริโภคจากผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 4,000 คน จาก 8 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 500 คนจากประเทศไทย

โดย 57 เปอร์เซ็นต์ ผู้บริโภคชาวไทยนั้นนิยมทำธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางดิจิตอล อาทิ บัตรเดบิต/เครดิต แอปพลิเคชั่นการชำระเงินบนสมาร์ทโฟน และคิวอาร์โค้ด เทียบกับเพียง 43 เปอร์เซ็นต์ที่ยังนิยมใช้เงินสด

คุณสุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการ Visa ประจำประเทศไทย กล่าวว่า การที่คนไทยมีความเชื่อมั่น และใช้จ่ายผ่านช่องทางดิจิตอลมากขึ้นนั้นเป็นผลมาจากความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนที่ได้ร่วมผลักดันระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (National e-Payment) ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง 

“นอกจากนั้น เราเชื่อว่าการที่คนไทยหันมาชำระเงินผ่านช่องทางดิจิตอลมากขึ้นเป็นผลมาจากเทคโนโลยีการชำระเงินที่มีหลากหลายรูปแบบ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ประกอบกับมีร้านค้าที่รับชำระเงินดิจิตอลมากขึ้น โดยในปัจจุบัน ผู้บริโภคสามารถชำระเงินด้วยอุปกรณ์เชื่อมต่อที่หลากหลาย อาทิ สมาร์ทโฟนแอปพลิเคชั่น อุปกรณ์สวมใส่ และการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยสำหรับร้านค้าที่เคยรับแต่เงินสดเพียงอย่างเดียว ยังมีคิวอาร์โค้ดเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ในการรับชำระเงินที่รวดเร็ว ปลอดภัย และคุ้มค่า”

ผลสำรวจพบว่า จำนวนสองในห้าของคนไทย (42 เปอร์เซ็นต์) มีการพกเงินสดน้อยลงในช่วงสองปีที่ผ่านมา ซึ่งมากกว่าผลสำรวจเมื่อปี 2017 ที่มีเพียง 26 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น โดยเหตุผลหลักที่ผู้บริโภคพกเงินสดน้อยลงมาจากความไม่ปลอดภัยในการพกพาเงินสด (65 เปอร์เซ็นต์) การชำระเงินผ่านระบบดิจิตอลที่มากขึ้น (65 เปอร์เซ็นต์) และความไม่สะดวกในการใช้เงินสด (39 เปอร์เซ็นต์)

นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่าสำหรับคนที่พยายามใช้เงินผ่านช่องทางดิจิตอลเพียงอย่างเดียวนั้น กว่า 60 เปอร์เซ็นต์สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้หนึ่งวันโดยไม่ใช้เงินสด และมีจำนวนถึง 45 เปอร์เซ็นต์ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้เงินสดเลยได้นานกว่าสามวัน

โดยภาพรวมแล้ว มีคนไทยจำนวนมากขึ้นที่แสดงความมั่นใจว่าประเทศไทยจะพัฒนาเป็นสังคมไร้เงินสดได้ในอนาคต ซึ่งกว่าหนึ่งในสาม (29 เปอร์เซ็นต์) มีความมั่นใจว่าประเทศไทยจะสามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดได้ภายในสามปี ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2017 มีเพียง 11 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และกว่า 39 เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่าจะใช้เวลาสี่ถึงเจ็ดปีเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยสู่สังคมไร้เงินสด ในขณะที่คนไทยราว 6 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่าจะต้องใช้เวลามากกว่า 15 ปี

“จากผลสำรวจดังกล่าวเป็นสัญญาณที่ดี และทำให้มั่นใจได้ว่าเราได้เดินมาในทิศทางที่ถูกต้อง ที่สำคัญยิ่งกว่าคือการแสดงให้ผู้บริโภคและร้านค้าตระหนักถึงประโยชน์จากการชำระเงินรูปแบบดิจิตอล ในขณะเดียวกันเรายังคงมุ่งมั่นร่วมมือกับทุกภาคส่วนในระบบนิเวศน์การชำระเงิน และนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ จากเครือข่ายของวีซ่าทั่วโลก เพื่อร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยให้เข้าสู่สังคมไร้เงินสดได้อย่างเต็มตัว” คุณสุริพงษ์ กล่าวสรุป

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รับมือภัยไซเบอร์ เมื่อเทคโนโลยีคือโอกาส ความมั่นคงปลอดภัยคือเงื่อนไขของการอยู่รอด

ในโลกที่ภัยไซเบอร์ซับซ้อนขึ้นทุกวัน AI กลายเป็นทั้งเครื่องมือป้องกันและภัยคุกคามองค์กร เรียนรู้แนวโน้ม กลยุทธ์ และมาตรการรับมือ เพื่อความอยู่รอดอย่างมั่นคงและยั่งยืน...

Responsive image

World ผนึกกำลัง 11 พันธมิตรชั้นนำ ต่อสู้กับบอทและมิจฉาชีพในยุคแห่ง AI

Tools for Humanity (TFH) บริษัทเทคโนโลยีผู้พัฒนา World ซึ่งเป็นระบบพิสูจน์ความเป็นมนุษย์ในยุค AI เปิดตัวความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ 11 พันธมิตร ในงาน World Day 2025...

Responsive image

gamescom asia ผนึก Thailand Game Show จัดงานครั้งแรกในไทย ผลักดันอุตสาหกรรมเกมสู่เวทีโลก

ครั้งแรกในไทย! การผนึกกำลังของ gamescom asia และ Thailand Game Show เปิดประตูอุตสาหกรรมเกมสู่เวทีโลก พบกับโอกาสทางธุรกิจและความบันเทิงครบวงจร 16-19 ตุลาคม 2025 ที่ศูนย์การประชุมแห่...