นักวิจัยติดรูปโทษจากการกินเนื้อสัตว์บนเมนู หวังลดปริมาณการกิน อิงจากรูปมะเร็งบนซองบุหรี่

ถ้ามีคนเลิกบุหรี่ได้ จากรูปคำเตือนน่ากลัวบนซอง แล้วเราจะลดการกินเนื้อสัตว์ ด้วยรูปน่ากลัวแบบเดียวกันได้ไหม

ทำไมต้องบริโภคเนื้อสัตว์ให้น้อยลง

นักวิจัยจากภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัย Durham University กล่าวว่า การบริโภคเนื้อสัตว์ฝังรากลึกในสังคมตะวันตกมาอย่างยาวนาน เช่น กรณีของสหราชอาณาจักร สำรวจพบว่า ประชากรในสหราชอาณาจักรกว่า 72% เป็นกินเนื้อสัตว์ และมีประชากรเพียงแค่ 7% ที่เป็นมังสวิรัติหรือวีแกน 

การบริโภคเนื้อสัตว์มาก ๆ นอกจากจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว (การทำปศุสัตว์ปล่อยคาร์บอนจำนวนมาก) ยังส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของประชาชน เช่น โรคระบาดจากเนื้อสัตว์ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่นักวิจัยต้องการให้ผู้คนลดปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ 

‘กลยุทธ์ฉลากบนกล่องบุหรี่’ ใช้ได้จริงไหม ?

การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดผลกระทบเชิงลบจากสิ่งที่ผู้คนบริโภค นักวิจัยพบว่า การติดฉลากคำเตือนบนผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ คล้ายกับที่ติดบนซองบุหรี่ มีส่วนช่วยให้ผู้คนรับประทานเนื้อสัตว์น้อยลง เพราะฉลากเหล่านี้แสดงภาพที่เตือนใจผู้คนถึงปัญหาที่ผลกระทบของการบริโภคเนื้อสัตว์ เช่น สุขภาพและสิ่งแวดล้อม

วิธีการศึกษา: นักวิจัยได้ทดลองด้วยการใช้ฉลากคำเตือนที่แตกต่างกัน 3 แบบ ซึ่งแต่ละแบบก็จะแสดงให้เห็นผลกระทบจากเนื้อสัตว์ ว่าส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง เช่น ฉลากที่ 1 แสดงรูปภาพคนป่วย พร้อมข้อความเขียนบรรยายปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการบริโภคเนื้อสัตว์ เป็นต้น

ในการศึกษา นักวิจัยทดสอบผู้ใหญ่ที่บริโภคเนื้อสัตว์กว่า 1,001 คน โดยแบ่งคนเหล่านี้ออกเป็น  4 กลุ่ม ให้พวกเขาดูเมนูอาหารแต่ละแบบ โดยบางเมนูจะมีฉลากคำเตือนกำกับไว้ เช่น ฉลากผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ, ผลกระทบด้านสุขภาพ, ผลกระทบด้านโรคระบาด และบางเมนูไม่มีฉลากกำกับ

จากนั้นให้ผู้เข้ารับการทดสอบเลือกเมนูอาหารที่แตกต่างกัน 20 เมนู หลังจากนั้นนักวิจัยจึงเริ่มเก็บข้อมูลด้วยการถามผู้เข้ารับการทดสอบว่า ฉลากเหล่านี้ส่งผลอย่างไรต่อพวกเขา มันทำให้พวกเขารู้สึกวิตกกังวลหรือไม่

ผลการศึกษา: ผู้คนส่วนใหญ่ที่พบเห็นฉลากคำเตือนเหล่านี้มีท่าทีที่อยากบริโภคเนื้อสัตว์น้อยลง โดยฉลากที่สามารถลดความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ได้มากที่สุด คือ ฉลากที่แสดงผลกระทบด้านโรคระบาด ทำให้ผู้คนอยากบริโภคเนื้อสัตว์ลดลงได้ถึง 10%

ตามมาด้วยฉลากที่แสดงผลกระทบด้านสุขภาพ ทำให้ผู้คนอยากบริโภคเนื้อสัตว์ลดลงได้ 8.8% และลำดับสุดท้าย คือ ฉลากที่แสดงผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศ ทำให้ผู้คนอยากบริโภคเนื้อสัตว์ลดลงได้ 7.4% นักวิจัยเผยว่า ผู้คนดูเหมือนจะให้ความสำคัญต่อฉลากคำเตือนด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เพราะมองว่าน่าเชื่อถือ

ซึ่งนอกเหนือจากการศึกษานี้ คณะกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CCC) ยังได้คำแนะนำแก่รัฐบาลสหราชอาณาจักร ว่าควรที่จะให้ประชาชนลดการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมลง 20% ภายในสิ้นทศวรรษนี้ เนื่องจากการบริโภคเนื้อสัตว์มากไปจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ และกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดโรคต่าง ๆ ได้

อ้างอิง: ecowatch

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

VTT จับมือ Refinity ถ่ายทอดเทคโนโลยี Olefy พลิกโฉมการรีไซเคิลพลาสติกแบบผสมสู่เวทีโลก

VTT หน่วยงานวิจัยและพัฒนาแห่งชาติของฟินแลนด์ ได้ลงนามถ่ายทอดสิทธิการใช้ Olefy เทคโนโลยีการรีไซเคิลพลาสติกแบบผสม (mixed plastic recycling) ให้กับบริษัท Refinity...

Responsive image

Muhammad Yunus เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี 2006 กล่าวอะไรบ้างบนเวที BIMSTEC Young Gen Forum

Pro.Muhammad Yunus เดินทางมาร่วมงาน BIMSTEC Young Gen Forum: Where the Future Meets กิจกรรมคู่ขนานของการประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 6 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ สาระสำคัญมีอะไรบ้างน...

Responsive image

"Fungal Battery" แบตเตอรี่ชีวภาพจากเชื้อรา พิมพ์ 3D ได้ ผลิตไฟฟ้าเองได้ ย่อยสลายได้จริง

แบตเตอรี่ชีวภาพจากเชื้อรา นวัตกรรมใหม่จากสวิตเซอร์แลนด์ ใช้เทคโนโลยี 3D Printing ผสมเชื้อราสร้างแบตเตอรี่ที่ผลิตไฟฟ้าได้จริง ย่อยสลายตัวเองได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมพลิกวงการ...