บริษัทก็อยู่ได้ โลกก็อยู่รอด วิถีธุรกิจแบบ Patagonia และ VT Garment | Techsauce

บริษัทก็อยู่ได้ โลกก็อยู่รอด วิถีธุรกิจแบบ Patagonia และ VT Garment

ในยุคที่ความยั่งยืน (Sustainability) ไม่ได้เป็นเพียงแค่ Buzzwords อีกต่อไป แล้วองค์กรต่างๆ จะสร้างความยั่งยืนไปพร้อมกับสร้างรูปแบบ ‘การทำงานที่มีความหมายกับพนักงาน’ ได้อย่างไร ? 

ใน Session: From Thread to Conscious Choice: A Journey of Sustainability and Meaningful Work นี้เราจะพามาเรียนรู้จาก Wendy Savage ผู้อำนวยการอาวุโสด้านผลกระทบทางสังคมและความโปร่งใสจาก Patagonia ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องความทุ่มเทในการปกป้องสิ่งแวดล้อมและดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม 

และคุณชลัมพล โลทารักษ์พงศ์  กรรมการผู้จัดการ VT Garment โรงงานที่ได้รับการรับรองจาก Fair Trade (การค้าที่เป็นธรรม) ซึ่งผลิตเสื้อผ้ามากถึง 182,000 ชิ้นต่อเดือนในประเทศไทยและเมียนมาร์

การเดินทางของ Patagonia และ VT Garment

Wendy Savage ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นของ Patagonia ที่มาจากธุรกิจผลิตอุปกรณ์ปีนเขาที่มีคุณภาพสูงและสามารถวนกลับมาใช้ซ้ำได้ (แต่ก่อนเป็นอุปกรณ์ปีนเข้าทั้งหนักและนำมาใช้ใหม่ไม่ได้ซึ่งสร้างขยะ) แต่เมื่อเขาทำสำเร็จกลับค้นพบว่า ‘อุปกรณ์ปีนเขาที่คิดค้นขึ้นมานั้นก็สร้างความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ’

ในปี 1972 จึงเกิดแถลงการณ์ Clean Climbing ขึ้นมา ซึ่งส่งเสริมแนวทางการปีนเขาอย่างยั่งยืนและมีสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า "Chock" ซึ่งยั่งยืนและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม หลังจากขายบริษัททำอุปกรณ์ปีนเขา Chouinard ก็ก่อตั้ง Patagonia ขึ้นมา 

โดยยังคงยึด Core Value เดิมนั่นก็คือ การผลิต ‘สินค้าคุณภาพสูงที่มีอายุการใช้งานยาวนานพอที่จะส่งต่อให้ลูกหลานได้’ เพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด และเพิ่มผลกระทบเชิงบวกให้มากที่สุด โดย Patagonia ดำเนินกิจการมาเป็นเวลา 15 ปีแล้ว โดยผลิตสินค้าสำหรับการปีนเขา เซิร์ฟ สกี และกีฬาอื่นๆ

Savage ชี้ว่า ในฐานะบริษัทที่ประสบความสำเร็จและมีประสบการณ์ยาวนานถึง 50 ปี บริษัทรู้ดีว่าเรามีขนาดเล็กเกินไปที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้เพียงลำพัง ดังนั้น บริษัทจึงแบ่งปันแนวคิดกับผู้อื่น เช่น

“Earth is now our only shareholder.” ซึ่งเป็นพันธกิจใหม่ที่ Emon Chouinard ผู้ก่อตั้ง Patagonia ตัดสินใจในปี 2017 ว่าบริษัทจะทำธุรกิจเพื่อดูแลรักษาโลกใบนี้ โดยแทนที่จะทำให้ทำเพื่อผลกำไรควรมีจุดมุ่งหมายที่ยิ่งใหญ่กว่า ส่งผลให้ในปี 2022 บริษัทตั้งใจจะมีเจ้านายเพียงคนเดียวคือ ‘Mother Earth’ 

นั่นหมายความว่าความรับผิดชอบหลักของ Patagonia คือ การปกป้องสิ่งแวดล้อม และนอกนจากนี้บริษัทยังคงบริจาคยอดขาย 1% ให้กับกระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Process)

การลงทุนเพื่อความยั่งยืนของ Patagonia

  1. การลดคาร์บอนในห่วงโซ่อุปทาน: ทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ ด้วยการช่วยให้ซัพพลายเออร์ลดการปล่อยคาร์บอน
  2. ส่งเสริมเกษตรกรรมทางเลือก: Patagonia มีส่วนร่วมในแนวทางที่ยั่งยืน เช่น ทำงานร่วมกับเกษตรกรในห่วงโซ่อุปทาน โดยสนับสนุนให้ใช้เส้นใยรีไซเคิลมากขึ้นในเสื้อผ้าเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  3. ค่าแรงขั้นต่ำ: บริษัทให้ความสำคัญกับค่าจ้างที่เป็นธรรมสำหรับคนงาน เพราะ Patagonia รู้ดีว่าแบรนด์จะคงอยู่และเติบโตไม่ได้เลย ถ้าไม่มีแรงงานเหล่านี้ นั่นทำให้บริษัทยอมจ่ายค่าแรงคนงานสูงกว่าขั้นต่ำในประเทศ เพื่อให้คนงานสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

การที่บริษัทมีแนวทางปฏิบัติแบบนี่ Savage เผยว่า เธอมักถูกถามอยู่บ่อยครั้งว่า “Patagonia เป็นที่รู้จักในฐานะแบรนด์ที่ยั่งยืนได้อย่างไร เพราะผู้คนสงสัยว่าเป็นเพราะการทำการตลาดหรือเปล่า” เธอบอกว่ามันไม่ใช่การโฆษณา แต่ความยั่งยืนนั้นอยู่ใน DNA ของ Patagonia ต่างหาก

ด้าน คุณชลัมพล โลทารักษ์พงศ์  กรรมการผู้จัดการ VT Garment ก็ย้ำว่า Patagonia ขึ้นชื่อด้านความความยั่งยืน โดยยึดมั่นในปรัชญาการบริโภคอย่างมีสติ สนับสนุนให้ซื้อเฉพาะสิ่งที่จำเป็นจริงๆ ซ่อมแซมสิ่งที่ชำรุด และรีไซเคิลหรือนำสิ่งของอื่นๆ กลับมาใช้ใหม่ แนวทางนี้เน้นย้ำถึงคุณค่าของคุณภาพมากกว่าปริมาณ ซึ่ง VT Garment เองก็ยึดมั่นในปรัชญานี้

ผลิตภัณฑ์ของบริษัท เช่น เสื้อคาร์ดิแกนได้รับการออกแบบมาให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ซึ่งมักจะนานกว่าอายุการใช้งานเฉลี่ยถึง 3 เท่า การที่ VT Garment ทำผลิตภัณฑ์ที่มีความทนทานแบบนี้ก็เพื่อจุดประสงค์เดียวกันกับ Patagonia นั่นคือ การส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น

 แนวทางเป็นบริษัทที่ยั่งยืนและ ‘ยังยืน’ อยู่ได้ในตลาด

คุณชลัมพล อธิบายถึงหลักการที่จะเป็นบริษัทที่ยั่งยืน จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับทั้ง 3 เงื่อนไข ได้แก่

  • People: ผู้คน
  • Planet: ผืนโลก
  • Profit: ผลกำไร

การที่บริษัทจะทำกำไรและสร้างความยั่งยืนไปพร้อมๆ กันได้นั้นต้องมาจากทั้ง 3 หลักนี้ สำหรับ VT Garment เป็นหนึ่งใน 100 โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่ได้รับการรับรองจาก Fair Trade 

บริษัทนำเงินบริจาคของลูกค้ามูลค่ารวมเกือบ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 70 ล้านบาท) ไปจัดทำโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อทีมงานของบริษัท เช่น การให้การสนับสนุนด้านการศึกษาแก่บุตรหลานของพวกเขา

เราจ่ายค่าจ้างประมาณ 86% ของค่าครองชีพขั้นต่ำของไทย และมีเป้าหมายที่จะเพิ่มค่าจ้างนี้เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของลูกค้า นอกจากนี้ โรงงานของเรายังรับประกันว่าไม่มี Gender Pay Gap หรือช่องว่างรายได้ที่ต่างกันเพราะเพศสภาพ

นอกจากนี้ เรายังพยายามปรับปรุงอาคารเก่าของเราให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันแม้อาคารของบริษัทจะมีอายุกว่า 30 ปี แต่ก็ได้รับคะแนนสูงในด้านคุณภาพอากาศและความยั่งยืน

ความยั่งยืนไม่ใช่เพียงแค่เป้าหมายสุดท้ายที่ต้องบรรลุ แต่เป็นกระบวนการทำอย่างต่อเนื่องในการตัดสินและเป็นงานที่สำคัญ


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

บางจาก ได้สินเชื่อรายแรกในไทย 6,500 ล้านบาทเพื่อพัฒนา SAF จากธนาคารยูโอบี ประเทศไทย

ธนาคารยูโอบี มอบสินเชื่อ 6,500 ล้านบาท สนับสนุนบางจากฯ พัฒนาโครงการน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) แห่งแรกในไทย ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุด 80% เพื่อเป้าหมาย Net Zero 20...

Responsive image

One Bangkok จับมือ 5 สถาบันการเงินชั้นนำ รับดีล Green Loan สูงสุดในประวัติการณ์เพื่อพัฒนาโครงการ

One Bangkok ประกาศลงนามสัญญาสินเชื่อสีเขียวระยะยาวเพื่อพัฒนาโครงการมูลค่า 5 หมื่นล้านบาทร่วมกับ 5 สถาบันการเงินชั้นนำของประเทศไทย ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศ...

Responsive image

เจาะลึกวิกฤตน้ำกับ TCP เมื่อน้ำกำลังจะกลายเป็นของหายาก

วิกฤตน้ำทั่วโลกส่งผลกระทบหนักต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจ TCP เสนอแนวทางแก้ไขผ่าน Nature-based Solutions และกลยุทธ์บริหารจัดการน้ำ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจไทยในยุคโลกร้อน...