เส้นใยเห็ดราวัสดุยั่งยืนแห่งอนาคตจาก Ecovative เป็นได้ตั้งแต่อาหารจนถึงเสื้อผ้า | Techsauce

เส้นใยเห็ดราวัสดุยั่งยืนแห่งอนาคตจาก Ecovative เป็นได้ตั้งแต่อาหารจนถึงเสื้อผ้า

เชื่อหรือไม่ว่าเส้นใยจากเห็ดรา หรือ ไมซีเลียม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ใช้แทนพลาสติก โฟม หนังสัตว์ และแปรรูปเพื่อทดแทนเนื้อสัตว์ได้อีกด้วย บทความนี้เราจะชวนมารู้จักกับบริษัท Ecovative ผู้วิจัยและพัฒนาเส้นใยจากเห็ดราเพื่อใช้เป็นวัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

จุดเริ่มต้น Ecovative

ไอเดียสุดล้ำนี้จุดประกายจากโปรเจกต์ในช่วงมหาวิทยาของผู้ก่อตั้งบริษัท อย่าง Eben Bayer และ Gavin McIntyre โดยโปรเจคนี้มีโจทย์ว่า ต้องคิดวิธีการแก้ปัญหาที่สามารถสร้างประโยชน์ให้กับโลก

พวกเขาทั้งคู่ตัดสินใจทำโปรเจคพัฒนาวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่ง Bayer เสนอให้ศึกษาเส้นใยจากเห็ดราหรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ก็คือไมซีเลียม เพราะเขาสนใจคุณสมบัติของมันอยู่แล้ว 

หลังจากการศึกษาค้นคว้าจนพบคุณสมบัติพิเศษของไมซีเลียม เช่น เป็นฉนวนกันความร้อน ทนทานและมีความยืดหยุ่นสูง เมื่อหมดอายุการใช้งานก็สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งดีกว่าพลาสติกอีก !

ต่อมาในปี 2007 พวกเขาทั้งคู่จึงเริ่มก่อตั้งบริษัท Ecovative เพื่อใช้ประโยชน์จากไมซีเลียมมาทำเป็นสิ่งของต่าง ๆ เช่น โฟมกันกระแทก หรือโคมไฟพลาสติก ความเชี่ยวชาญด้านการใช้ไมซีเลียมของบริษัท ทำให้มีกลุ่มนายทุนมากมายสนใจวัสดุชิ้นนี้

ในปัจจุบันบริษัท Ecovative จึงมีโอกาสขยายธุรกิจไมซีเลียมไปยังอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และอุตสาหกรรมแฟชั่น นอกจากนี้บริษัทก็กำลังลงทุนเพื่อค้นคว้าหาวัสดุใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม

ผลิตภัณฑ์จาก Ecovative 

ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ที่บริษัทผลิตและพัฒนามักจะเป็นสิ่งของในชีวิตประจำวัน ซึ่งบริษัทต้องการลดปริมาณการปล่อยมลพิษ เช่น ก๊าซมีเทนจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์ และต้องการลดขยะจากพลาสติกแบบ Single-use ผลิตภัณฑ์หลักของ Ecovative จึงมีอยู่ 5 ประเภทดังนี้ 

  • อาหาร: เบคอนไมซีเลียม คือ เบค่อนที่ Ecovative พัฒนาร่วมกับ MyForest Foods เป็นผลิตภัณฑ์อาหารชิ้นแรก ออกขายในชื่อ MyBacon โดยใช้เทคโนโลยี AirMycelium เพื่อทำให้ไมซีเลียมมีรสชาติคล้ายกับเบคอนที่ทำจากเนื้อสัตว์จริง ๆ
  • แฟชั่น: หนังเทียมไมซีเลียม คือ หนังเทียมที่บริษัทเลี้ยงเส้นใยเห็ดราขึ้นมาโดยเฉพาะ ให้มีความสวยงาม ทนทาน เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมแฟชั่น แทนหนังเทียมจากพลาสติก
  • โฟมอเนกประสงค์: โฟมไมซีเลียม คือ โฟมชนิดพิเศษที่บริษัทพัฒนาขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ประกอบกับสินค้าอื่น ๆ เช่น พื้นร้องเท้า เบาะรองนั่ง มีความยืดหยุ่นสูง กันน้ำ กันไฟ และระบายอากาศได้ดี
  • ความงาม: อุปกรณ์ด้านความงาม คือ การนำเส้นใยราที่บริษัทเลี้ยงมาอย่างพิถีพิถันและสะอาด 100% มาผลิตเป็นฟองน้ำแต่งหน้าไมซีเลียม หรือแผ่นมาร์กหน้าไมซีเลียม
  • แพ็กเกจ: กันกระแทกสินค้า คือ กันกระแทกที่บริษัทใช้กัญชงผสมกับไมซีเลียมเลี้ยงให้เส้นใยราโตในแม่พิมพ์ ซึ่งข้อดีคือมีน้ำหนักเบา แข็งแรง ทนไฟ และกันน้ำ

นอกจากข้าวของเครื่องใช้เหล่านี้แล้ว ในปัจจุบันมีผู้ผลิตมากมายที่เอาไมซีเลียมเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมของตนเอง อย่างโลงศพไมซีเลียม จาก Loop Biotech ที่เมื่อฝังลงดินแล้วจะย่อยสลายได้เองและกลายเป็นปุ๋ยบำรุงดิน หรืออิฐบล็อกไมซีเลียมที่กำลังอยู่ในขั้นตอนวิจัยและพัฒนาเพื่อนำมาใช้ในอนาคต

นวัตกรรมการพัฒนาไมซีเลียมเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของวัสดุธรรมชาติที่เข้ามาปฏิวัติอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้เริ่มสนใจใช้วัสดุที่ดีมีคุณภาพและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม Ecovative เชื่อว่าในอนาคตเราจะค้นพบวัสดุใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะ…

ธรรมชาติได้สร้างวัสดุที่ดีต่อโลกไว้ให้พวกเราอยู่แล้ว อยู่ที่ว่าพวกเราจะค้นหามันเจอหรือไม่

อ้างอิง: vegconomist, ecovative

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึกวิกฤตน้ำกับ TCP เมื่อน้ำกำลังจะกลายเป็นของหายาก

วิกฤตน้ำทั่วโลกส่งผลกระทบหนักต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจ TCP เสนอแนวทางแก้ไขผ่าน Nature-based Solutions และกลยุทธ์บริหารจัดการน้ำ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจไทยในยุคโลกร้อน...

Responsive image

David Capodilupo จาก MIT Sloan เปิดเหตุผลตั้งสำนักงานในไทย ต้นแบบสู้ Climate Change อาเซียน

David Capodilupo ผู้ช่วยคณบดีด้านโครงการระดับโลกของ MIT Sloan เผยเหตุผลที่สถาบันเข้ามาตั้งสำนักงานในไทย เพื่อให้ไทยเป็นฮับอาเซียน ในการส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัยพัฒนา การแก้ปั...

Responsive image

SAF เชื้อเพลิงการบินยั่งยืน อุปสรรค และโอกาสครั้งใหญ่ของไทย ถอดแนวคิด Yap Mun Ching ผู้บริหารด้านความยั่งยืนแห่ง AirAsia

การเดินทางทางอากาศ แม้จะเชื่อมโยงโลกเข้าด้วยกัน แต่ก็สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การลดคาร์บอนจึงเป็นภารกิจสำคัญของอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก และเชื้อเพลิงการบินที่...