สำรวจชี้คนรวย 1% ก่อมลพิษเท่าคนจน 5 พันล้านคน แต่คนจนรับผลกระทบจากโลกร้อนทั้งหมด | Techsauce

สำรวจชี้คนรวย 1% ก่อมลพิษเท่าคนจน 5 พันล้านคน แต่คนจนรับผลกระทบจากโลกร้อนทั้งหมด

แม้ประโยคที่ว่า “ทุกคนในโลกมีส่วนทำให้โลกร้อน” จะเป็นความจริง แต่รู้ไหมว่า กลุ่มคนรวยที่สุดในโลกซึ่งคิดเป็น 1% ของประชากรทั้งหมด ก่อมลพิษเท่ากับคนจน 5 พันล้านคน

วันนี้ Techsauce จะพาไปสำรวจปัญหา Climate Crisis จากความเหลื่อมล้ำผ่านผลสำรวจจาก Oxfam กัน

โลกร้อนเพราะกลุ่มคนรวย ?

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (20 พ.ย. 66) Oxfam ได้เปิดเผยรายงานที่น่าตกใจว่า กลุ่มคนรวยเพียง 1% หรือราว ๆ 77 ล้านคนทั่วโลกปล่อยก๊าซคาร์บอนเทียบเท่ากับคนจน 66% หรือ 5 พันล้านคน! และกลายเป็นประเด็นร้อนที่ถกเถียงกันดุเดือดในแวดวงนักสิ่งแวดล้อม

จากรายงานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ‘Polluter Elite’ หรือผู้ปล่อยมลพิษชนชั้นสูงเหล่านี้กำลังเป็นตัวถ่วงในการแก้ไขปัญหาภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศทั่วโลกอยู่ รวมถึงประเด็น Climate Justice หรือผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ไม่เท่าเทียมกันทั่วโลก 

เรื่องนี้ยังกลายเป็นวาระสำคัญในการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศของ UN Cop28 ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทำให้การศึกษาครั้งนี้มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ

สำหรับประเด็น Climate Justice จากการศึกษาพบว่า คนรวยปล่อยมลพิษสูงถึง 5.9 พันล้านตันในปี 2019 ซึ่งการสร้างมลพิษขนาดนี้สามารถคร่าชีวิตผู้คนถึง 1.3 ล้านคนในอีก 10 ปีข้างหน้าได้ และแม้ว่าคนรวยกลุ่มเล็ก ๆ จะปล่อยมลพิษออกสู่อากาศมากแค่ไหน 

พวกเขาก็มีเงินที่จะซื้อชีวิตที่สุขสบาย หนีจากภัยพิบัติ หรือแม้แต่ซื้อ ‘อากาศบริสุทธิ์’ ไว้หายใจ แต่ผู้รับผลกระทบจากการกระทำของพวกเขาก็คือประชากรโลกทั่วไปที่ไม่มีเงินซื้อ ‘ชีวิตที่ปลอดภัย’ ให้ตนเองได้เลย

คนรวยสบาย คนจนรับเคราะห์

องค์การสหประชาชาติรายงานว่า 91% ของการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงคนที่มีฐานะยากจน ชุมชนชาติพันธุ์ชายขอบ หรือผู้อพยพ ที่พวกเขาอาจไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำเหล่านั้น แต่ต้องรับผลของมันไปแทนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Oxfam ชี้ว่า คนรวยเหล่านี้กำลังทำร้ายโลกอย่างรุนแรง และกลุ่มคนที่ยากจนที่สุดคือกลุ่มที่ทุกข์ทรมานมากที่สุด ไลฟ์สไตล์ฟุ่มเฟือยของพวกเขา รวมถึงเครื่องบินเจ็ตส่วนตัวและคฤหาสน์หลังใหญ่ ส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสูงกว่าปริมาณที่จำเป็นถึง 77 เท่า

เมื่อปี 2022 ก็มีรายงานออกมาว่าปริมาณการใช้เครื่องบินเจ็ทส่วนตัว (Private Jet) ทั่วยุโรป พุ่งสูงขึ้นถึง 64% และ Amitabh Behar ผู้อำนวยการบริหารของ Oxfam เผยว่า เราควรมีการเก็บภาษี 60% จากรายได้ของคนรวยเหล่านี้ เพราะมันสามารถสร้างรายได้มากถึง 6.4 ล้านล้านดอลลาร์ทุกปี ซึ่งเงินจำนวนนี้สามารถนำไปใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ถึง 695 ล้านตัน

“การไม่เก็บภาษีคนรวยเหล่านี้ ก็เหมือนเป็นการเปิดโอกาสให้พวกเขาสามารถแย่งทรัพยากรไปจากผู้อื่น ทำร้ายโลก และขัดต่อหลักการของประชาธิปไตย” - Amitabh Behar ผู้อำนวยการบริหารของ Oxfam กล่าว

อย่างน้อยที่สุด สิทธิที่จะได้หายใจในอากาศบริสุทธิ์ก็ไม่ควรถูกจำกัดไว้ให้กับอภิสิทธิชนหรือคนใดคนหนึ่ง

อ้างอิง: cnbc , theguardian

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

David Capodilupo จาก MIT Sloan เปิดเหตุผลตั้งสำนักงานในไทย ต้นแบบสู้ Climate Change อาเซียน

David Capodilupo ผู้ช่วยคณบดีด้านโครงการระดับโลกของ MIT Sloan เผยเหตุผลที่สถาบันเข้ามาตั้งสำนักงานในไทย เพื่อให้ไทยเป็นฮับอาเซียน ในการส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัยพัฒนา การแก้ปั...

Responsive image

SAF เชื้อเพลิงการบินยั่งยืน อุปสรรค และโอกาสครั้งใหญ่ของไทย ถอดแนวคิด Yap Mun Ching ผู้บริหารด้านความยั่งยืนแห่ง AirAsia

การเดินทางทางอากาศ แม้จะเชื่อมโยงโลกเข้าด้วยกัน แต่ก็สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การลดคาร์บอนจึงเป็นภารกิจสำคัญของอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก และเชื้อเพลิงการบินที่...

Responsive image

AirAsia จับมือ Airbus ผนึกกำลังลดคาร์บอน พัฒนาเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน 'SAF' ในอาเซียน

AirAsia ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Airbus ผู้ผลิตเครื่องบินชั้นนำจากยุโรป เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านความยั่งยืนในอุตสาหกรรมการบิน เพื่อเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ...