อาเซียนรับกรรม ในบทบาท ‘ถังขยะโลก’ สังเวยชีวิตคนสิ่งแวดล้อม ด้วยการค้าขยะผิดกฎหมาย

ประเทศอาเซียนรับกรรม กลายเป็นถังขยะโลก จากการ ‘ค้าขยะ’ ผิดกฎหมายที่มาจากยุโรป สะท้อนกฎหมายอ่อนแอ ไร้ระบบจัดการขยะแบบยั่งยืน

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็น ‘ถังขยะโลก’

Waste trafficking หรือการค้าขยะอย่างผิดกฎหมาย ถือเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมของประเทศปลายทางผู้รับผล เพราะขยะจำนวนมากจะถูกกำจัดด้วยการฝังกลบหรือจัดเก็บแบบผิดกฎหมาย ไม่ก็ถูกเผาในที่โล่ง

ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งมาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย รวมถึงไทย กำลังกลายเป็น ถังขยะของโลก ด้วยการนำเข้าขยะผิดกฎหมายจากประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่มาจากทวีปยุโรป ตามรายงานของสหประชาชาติ (UN) ระบุ 15 ถึง 30% ของการขนส่งขยะจากสหภาพยุโรปมาแบบผิดกฎหมาย

แม้จะมีกฎหมายควบคุม แต่ผู้ค้าขยะผิดกฎหมายก็ใช้ช่องโหว่จากการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพ ถึงจะถูกจับได้บทลงโทษก็อ่อน การหากำไรง่ายๆ จากธุรกิจนี้เลยกลายเป็นแรงดึงดูดให้คนทำผิด คณะกรรมาธิการยุโรปคาดว่ารายได้จากการค้าขยะผิดกฎหมายนั้นสูงถึง 9.5 พันล้านยูโรต่อปี

ขยะจำนวนมากมาถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น เมื่อปี 2017 ที่จีนตัดสินใจประกาศจะลดการนำเข้าขยะพลาสติกและกระดาษจากทั่วโลก ซึ่งก่อนหน้านั้นจีนเป็นผู้รับขยะพลาสติกโลกมากถึง 56% มารีไซเคิล ความพยายามลดละเลิกนั้นก็เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและชีวิตของประชากรจีน ทำให้การค้าขยะเปลี่ยนเส้นทางมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทน

ทำให้อาเซียนซึ่งมีประชากรไม่ถึง 9% ของโลก นำเข้าขยะพลาสติก 17% ของทั้งโลกในช่วงปี 2017-2021 ยิ่งในช่วงปี 2016-2018 อาเซียนนำเข้าขยะพลาสติกเพิ่มขึ้น 171% คิดเป็น 2.26 ล้านตัน

ประเทศแถบนี้เป็นผู้สร้างขยะลงมหาสมุทรอันดับหนึ่ง สาเหตุหลักมาจากระบบแม่น้ำของภูมิภาค แนวชายฝั่งหมู่เกาะที่ทอดยาว รวมถึงกฎระเบียบและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่อ่อนแอ

ส่วนการแก้ไขนั้น ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าจำเป็นต้องมีการจัดการขยะที่ถูกกฎหมาย มีการควบคุม เพื่อลดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและป้อนขยะเข้าสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนโดยการลด การนำกลับมาใช้ใหม่ และการรีไซเคิลของเสีย นอกจากนั้นยังต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศหรือระดับภูมิภาค เพื่อปรับกรอบกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะให้สอดคล้องกัน และกำหนดบทลงโทษที่รุนแรงขึ้น 

อ้างอิง : DW, Nikkei Asia

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

VTT จับมือ Refinity ถ่ายทอดเทคโนโลยี Olefy พลิกโฉมการรีไซเคิลพลาสติกแบบผสมสู่เวทีโลก

VTT หน่วยงานวิจัยและพัฒนาแห่งชาติของฟินแลนด์ ได้ลงนามถ่ายทอดสิทธิการใช้ Olefy เทคโนโลยีการรีไซเคิลพลาสติกแบบผสม (mixed plastic recycling) ให้กับบริษัท Refinity...

Responsive image

Muhammad Yunus เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี 2006 กล่าวอะไรบ้างบนเวที BIMSTEC Young Gen Forum

Pro.Muhammad Yunus เดินทางมาร่วมงาน BIMSTEC Young Gen Forum: Where the Future Meets งานสัมมนาคู่ขนานกับการประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 6 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ สาระสำคัญมีอะไรบ้า...

Responsive image

"Fungal Battery" แบตเตอรี่ชีวภาพจากเชื้อรา พิมพ์ 3D ได้ ผลิตไฟฟ้าเองได้ ย่อยสลายได้จริง

แบตเตอรี่ชีวภาพจากเชื้อรา นวัตกรรมใหม่จากสวิตเซอร์แลนด์ ใช้เทคโนโลยี 3D Printing ผสมเชื้อราสร้างแบตเตอรี่ที่ผลิตไฟฟ้าได้จริง ย่อยสลายตัวเองได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมพลิกวงการ...