บ๊ายบาย Mailbox นักพัฒนา Product ได้เรียนรู้อะไรจากการปิดตัวในครั้งนี้ | Techsauce

บ๊ายบาย Mailbox นักพัฒนา Product ได้เรียนรู้อะไรจากการปิดตัวในครั้งนี้

เมื่อสัปดาห์ก่อนได้รับอีเมลที่เหมือนจะไม่ได้เห็นการจ่าหัวจากที่นี่มานานแล้ว เรารู้สึกแอบแปลกใจเล็กน้อยว่ามาจาก Mailbox...เอ๊ะ! บริการนี้ จริงด้วยเราเคยดาวน์โหลดแอปฯ มา จำได้ว่ามี Growth Hack เจ๋งๆ ในช่วงเวลานึงที่ปล่อยให้คนตื่นเต้น รอคอยที่จะใช้มันโดยการเข้าคิว และเมื่อเปิดเข้าไปในอีเมลนั้น ก็พบว่า...Mailbox แจ้งปิดบริการอย่างเป็นทางการเสียแล้ว เราลืมพวกเขาไปอยู่พักใหญ่ๆ จริงๆ ด้วย เกิดอะไรขึ้นกับ Mailbox? วันนี้เรามีบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจจาก Venture Beat มาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็น อุทาหรณ์ในเชิงการพัฒนา Product

การสร้าง Email product ที่ดีนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

เป็นที่รู้ดีกันว่า Dropbox ได้ทำการเข้าซื้อกิจการโมบายแอปฯ อย่าง Mailbox มูลค่ากว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่อย่างไรก็ตาม Mailbox ไม่สามารถเทียบชั้นกับเดสทอปแอปฯ ได้เลย ด้วยตัวแอปฯ ได้รับฟีดแบคการรีวิวทั้งความไม่เสถียร แม้จะมี Interface ที่สวยแต่ก็ไม่สามารถตอบโจทย์การใช้งานจริงๆ ได้ การนำเสนอประสบการณ์การใช้งานอีเมลที่ดีบนแพลตฟอร์มใหม่นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย

คุณต้องเข้าใจว่าบริการแบบนี้ผู้ใช้มีความคาดหวังที่สูงมาก

เมื่อเป็นซอฟแวร์ทั่วไป ผู้ใช้ยอมได้กับเรื่อง bugs ในแอปฯ Twitter, การไม่มีฟีเจอร์ที่เชื่อมกับระบบ CRM ของพวกเขา, Interface น่าเกลียดๆ ในการวางบิล ตราบใดที่ประสบการณ์ใช้งานหลักยังไปได้ดีอยู่

แต่...อีเมลไม่ใช่แบบนั้น ปัญหาของอีเมลคือ ผู้ใช้เชี่ยวชาญกับการใช้อีเมลมากๆ เพราะว่าเราใช้เวลาอยู่กับมันในการส่งเมลมากมาย ตอบคำถาม และจัดการอีเมล และใช้มันมานานแล้วนั่นเอง และนี่คือสิ่งที่ผู้ใช้คาดหวังว่าจะได้จากการใช้งาน Email Client จาก Mailbox

  • ตัวอีเมลควรต้องทำงานได้ตลอด แต่ Mailbox ไม่ใช่เช่นนั้น อีเมลบางทีก็ส่งไม่ออก และอื่นๆ อีกมากมาย
  • ผู้ใช้ส่วนใหญ่มี Email Clients หลายตัว ถ้าเค้าไม่เห็นคุณค่าจาก Product ภายใน 5 นาทีแรก เขาก็จะเปลี่ยนไปยังตัวอื่น และลืม Product นั้นไปตลอดกาล
  • ผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจเรื่องอีเมลของพวกเขาถูก Google นำไปใช้ในการ Push ads หรือ NSA กำลังติดตามพวกเขาอยู่ แต่สำหรับผู้ใช้ที่เป็น Early Adopters แล้ว เขากังวลมากถ้า Startup รายใหม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องความเป็นส่วนตัวของพวกเขา

ตามติดมาด้วยความคาดหวังถัดมา...

  • อยากให้รองรับหลายๆ แพลตฟอร์มอย่าง IMAP, Gmail, Yahoo, Exchange ...ผู้ใช้อยากเชื่อมโยงกับหลายๆ ผู้ให้บริการได้
  • อยากให้รองรับหลายๆ อุปกรณ์ เพราะพฤติกรรมการใช้อีเมลนั้นเกิดขึ้นที่ไนก็ได้ บนอุปกรณ์ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ แทปเล็ต สมาร์ทโฟน เว็บฯ หรือ native แอปฯ

การพัฒนา Email Client ไม่ใช่งานเล่นๆ

แม้คุณจะมีทีมวิศวกรดูแลด้าน back-end และ front-end ที่สุดยอด แต่ก้าวถัดไปที่สำคัญคือการสอนและอบรมพวกเขาในด้านเทคนิคของอีเมลโดยเฉพาะเลย

อีเมลเป็นอะไรที่ยังอยู่ในรูปแบบฟอร์แมตแบบเก่าๆ กว่า 10 ปี ต้องเรียนรู้เรื่อง Base64, Quoted-Printable, UTF-8, MIME, Multipart และอื่นๆ อีกมายมายกว่าจะแสดงผลอีเมลแรกได้อย่างถูกต้อง

การทำ Minimum Viable Product (MVP) สำหรับกรณีนี้เป็นอะไรที่ยาวนาน ซับซ้อน และกระบวนการที่ปวดหัวใช่ย่อย ก่อนที่จะได้เวอร์ชั่นที่เสถียรใช้งานได้ออกมาสักเวอร์ชั่นหนึ่ง ซึ่งกว่าจะถึงจุดนั้นได้ก็ต้องใช้คนเก่งทั้งด้านการออกแบบและเทคนิค สำหรับ Mailbox แล้ว พวกเขามีทีมวิศวกร 12 คน และมีสุดยอดนักออกแบบ 1 คน แต่พวกเขาก้าวไปไม่ถึงจุดที่ทำให้เกิด product ที่เป็นเวอร์ชั่นที่เสถียรเวอร์ชั่นแรกได้นั่นเอง

การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องยาก

Gmail เป็นบริการฟรี! Mail.app ก็ฟรี! Yahoo Mail หล่ะ ก็ฟรี! และ product ของพวกเขาก็ยังใช้ได้ดี เลยเป็นการยากที่ผู้ใช้จะจ่ายเงินให้กับ Email Client ใหม่แม้เพียงไม่กี่ดอลล่าร์ Dropbox แทบไม่มีหวังเลยในการทำเงินจาก Mailbox ได้

ลองมาดูคู่แข่งรายอื่นๆ การขายอีเมลแอปฯ แบบโดดๆ นั้น เป็นเรื่องแทบจะเรียกว่าเป็นไปไม่ได้ Sparrow แม้จะเคยทำมาก่อนแต่สุดท้ายก็ขายให้กับ Google ถ้าคุณต้องการทำตลาดแบบ B2C ทางเลือกเดียวที่คุณจะทำได้คือเปิดให้ใช้ฟรี และรอให้มีคนมาซื้อกิจการไป แต่นั่นก็อาจไม่ได้เป็นข่าวดีเสมอไป.. เมื่อคุณถูกซื้อกิจการไป คุณก็จะเสีย 2 สิ่งหลักๆ สิ่งแรกแน่นอนเลยแรงกระตุ้นที่มาจากหุ้น เมื่ออำนาจถูกเปลี่ยนไป คุณอาจไม่สามารถที่จะนำเสนอหุ้นเพื่อดึงคนเก่งๆ เข้ามา อีกเรื่อง เป้าหมายที่ตั้งไว้แต่แรกอาจเปลี่ยนไป ช่วงๆ แรกก่อนขายกิจการ คุณเปิดให้คนใช้ฟรี จุดวัดก็คือจำนวนคนมาใช้ ดังนั้นสิ่งที่คุณต้องทำก็คือสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดให้จงได้เพื่อให้ลูกค้าชื่นชอบ แต่หลังจากการขายธุรกิจไปแล้ว เป้าหมายคุณอาจต้องปรับเปลี่ยนไปเพื่อช่วยบริษัทแม่ของคุณในการหารายได้

ในอนาคตข้างหน้าของอีเมลอาจไม่มี UI ใหม่ก็ได้

Startup มากมายพยายามแก้ปัญหาของ email client โดยการปรับเปลี่ยน User Interface ใหม่ ไอเดียคือการปรับปรุงประสบการณ์ใช้งานให้สวย มีแอปฯ จำนวนน้อยมากที่พยายามจะแก้ปัญหาของการใช้งานอีเมลในเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่ User Interface

ลองมองอีกมุมหนึ่ง ในแง่การใช้งานบางทีมันอาจไม่จำเป็นต้องไปแก้เรื่องของ Interface ก็เป็นได้ ปัจจุบันอีเมลถูกใช้เพื่อหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่าง ทั้งการสื่อสารส่วนตัว การทำงานร่วมกัน การเก็บไฟล์ ใช้ในการ support ลูกค้า ปฏิทิน To-do list และอื่นๆ อีกมากมาย  ซึ่งถ้าจะพูดถึงการใช้งานแบบนี้ จริงๆ คือไม่ต้องเปลี่ยนแปลง Interface ก็ได้ แต่เป็นการหันไปทำเครื่องมือที่สะดวกกว่าการใช้อีเมลในการสื่อสารเป็นการทดแทน อาทิเช่น

  • เครื่องมือในการทำงานร่วมกัน อย่าง Yammer, Asana, Trello, Basecamp, Notes เป็นต้น

  • เครื่องมือเก็บไฟล์ในการสื่อสาร มีทั้ง Box, Google Drive, Dropbox  เป็นต้น

  • เครื่องมือการสื่อสารในทีมอย่าง Slack, HipChat เป็นต้น

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม อีเมลก็ยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เมื่อ 2 คนต่างองค์กรกัน ต้องการสื่อสารกันในเชิงธุรกิจ อีเมลก็เป็นเสมือน Protocol สื่อสารหลัก ที่ใช้มายาวนานกว่าครึ่งศวรรษ มันคงยังไม่หายไปไหนเร็วๆ นี้แน่นอน

=======================================================

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทเรียนนี้  ไม่ว่าคุณจะทำ Product อะไรก็ตาม แม้แต่ Email Client เองที่เมื่ออ่านบทวิเคราะห์มาถึงจุดนี้แล้ว ก็ต้องกลับไปที่แก่นเดิม ตอบให้ได้ว่า

  • ลูกค้าจริงๆ แก่นแท้แล้วต้องการอะไรกันแน่
  • คุณต้องเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีอยู่จริงๆ การจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่เขาเคยชินอยู่นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย อะไรคือ Value หรือประโยชน์ที่แท้จริงที่ Product คุณส่งมอบให้ลูกค้าได้ ถ้าคุณไม่สามารถทำให้พวกเขารู้ได้ในช่วงไม่กี่นาทีแรก ว่าเขาใช้แล้วได้อะไร โอกาสที่เขาจะกลับมาใช้ของคุณก็แทบเรียกว่าเป็น 0 เพราะทุกวันนี้ผู้บริโภคมีตัวเลือกเยอะแยะมากมายเต็มไปหมด ยิ่งโมบายแอปฯ แล้ว ลงเร็ว ลบเร็ว อย่างไว... ไวแค่ไหน นึกถึงตัวเองเวลาลองโหลดแอปฯ มาใช้ เปิดๆ แล้วไม่ชอบ ก็ลบทิ้งดูก็ได้ เป็นแบบนั้นเลย
  • สุดท้ายเมื่อรู้แล้วว่าอะไรคือ Core Value จริงๆ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะนำไปสู่การเลือกฟีเจอร์มาพัฒนาให้เป็น MVP ในการทดสอบตลาดต่อไป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...

Responsive image

เปิดดีล NVIDIA ปี 2024 ในอาเซียนไปร่วมมือใครมาบ้าง ?

NVIDIA ขยายอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2024 ด้วยการลงทุน AI Centers และการพัฒนาระบบ AI ร่วมกับพันธมิตรในอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และไทย ขับเคลื่อนภูมิภาคสู่การเป็นศูนย์...