ต้องยอมรับว่า ณ เวลานี้ การเป็นเจ้าของธุรกิจกลายเป็นเรื่องฮิตติดลมบนไปแล้ว เพราะใครๆ ก็หวังว่าตัวเองจะกลายเป็นมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก หมายเลข 2 ในสักวันหนึ่ง และยุคนี้อาจจะเป็นยุคที่การเป็นเจ้าของธุรกิจคือเรื่อง “คูล” สุดๆ
นั่นคือเหตุผลที่ทำให้หลายๆ คนเริ่มทำธุรกิจของตัวเอง และในฐานะที่เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท คุณจึงมีหลายบทบาทหน้าที่ให้ต้องทำ ตั้งแต่เป็นพนักงานขาย ไปจนถึงเป็นคนดูแลด้านการเงิน และกลยุทธ์การตลาด
บางคนอาจจะเรียกตัวเองว่า Founder หรือผู้ก่อตั้ง และอีกหลายๆ คนก็อยากจะมีชื่อตำแหน่งเป็นของตัวเอง เพื่อให้คนอื่นรู้ได้ทันทีว่าคุณเป็นใคร ทำหน้าที่อะไรในองค์กรแห่งนี้ ซึ่งก็หนีไม่พ้นคำว่า CEO
แต่รู้หรือไม่ มันไม่เป็นคำที่ไม่ควรใช้ในบางสถานการณ์ เพราะมันจะกลายเป็นจุดบอดมากกว่าจุดแข็ง
สมมุติว่าคุณเป็นเจ้าของบริษัทขายเครื่องทำวาฟเฟิล และมีโรงงานเป็นซัพพลายเออร์ คุณเดินเข้าไปนั่งประชุมกับพวกเขา ข้อเสนอจากซัพพลายเออร์เจ้านี้คือ คุณต้องจ่ายเงิน 1.5 ล้านบาท สำหรับเครื่องทำวาฟเฟิล 10,000 เครื่อง บวกกับค่าแบบอีก 150,000 บาท
ในฐานะที่คุณเป็น CEO ที่มีอำนาจสูงสุดในบริษัท คุณคงไม่สามารถบอกได้ว่าไม่รู้จำนวนที่แท้จริงของงบประมาณ และขอกลับไปเช็คกับ CFO สิ่งที่คุณจะพูดได้ในที่ประชุมนี้ก็คือ Yes กับ No และจริงๆ แล้วการพูดในทำนองว่า “ฉันไม่สามารถจ่ายได้” หรือ “นั่นมันมากเกินกว่าที่ฉันจะจ่ายได้” มันทำให้คุณดูอ่อนแอเกินไป
และในแง่มุมทางธุรกิจ ใครล่ะ จะยอมให้สิทธิพิเศษหรือยอมทำงานหนักกับลูกค้าใหม่ที่แสดงท่าทีว่าอาจจะไม่กลับมาเป็นลูกค้าของพวกเขาอีกในอนาคต
ดังนั้น เมื่อคุณพกเอาตำแหน่ง CEO เข้าไปในห้องประชุมเพื่อต่อรอง คุณจะกลับออกมาแบบไร้อำนาจ
ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณไม่ได้เรียกตัวเองว่าซีอีโอ คุณจะได้สิทธิพิเศษบางอย่างเพื่อต่อรอง
คุณอาจจะบอกได้ว่าต้องกลับไปเช็คกับพาร์ทเนอร์ให้แน่ใจเสียก่อน หลังจากนั้นจึงเดินออกจากห้องประชุมเพื่อโทรหา ไม่ว่าจะโทรจริงหรือแกล้งโทรก็ตาม แล้วก็กลับเข้ามาในก้องประชุม เพื่อยื่นข้อต่อรองของตัวเอง
แนวคิดนี้เหมาะกับหลายๆ สถานการณ์ของธุรกิจที่มีการต่อรอง ไม่ว่าจะเป็นตอนที่คุณกำลังสรุปเงินเดือนให้กับการจ้างพนักงานระดับสูง หรือต้องยื่นประมูลราคาสำหรับพื้นที่ออฟฟิศ การติดต่อกับลูกค้าที่อยากได้ส่วนลด หรือการทำงานกับคู่ค้าที่อยากจะได้เปอร์เซนต์ที่แน่นอนสำหรับการช่วยโปรโมทสินค้าของคุณ
เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้ คุณจะได้พบกับบุคคลทุกประเภท บางคนก็อาจจะมาจากสายงานเดียวกับคุณ บางคนอาจจะเป็นลูกค้าในอนาคต แต่ถ้าคุณอยากจะแสดงพลังว่าคุณเป็นผู้นำสูงสุดของบริษัทเพื่อความน่าเชื่อถือ มันอาจจะให้ผลที่ตรงข้ามกับที่ตั้งใจเอาไว้
เพราะเป้าหมายของกิจกรรมหรืออีเวนต์เหล่านี้คือการนำพาเอาเวนเดอร์และลูกค้ามาเจอกัน แต่เมื่อคุณเรียกตัวเองว่า CEO สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้นคือช่องว่างระหว่างคุณกับคนที่คุณสนทนาด้วย
การเริ่มพูดว่าตัวเองเป็น CEO ของบริษัท มันจะสร้างระยะห่างระหว่างคุณกับคนเหล่านั้น แทนที่จะเป็นการสร้างคอนเนคชั่นกับพวกเขา
เพื่อไม่ให้เหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้น อย่าแนะนำตัวเองว่าเป็น CEO แต่ให้ใช้คำกริยาที่บ่งบอกว่าบริษัทของคุณทำอะไร ซึ่งจะทำให้คุณดูน่าสนใจมากกว่า
และจริงๆ แล้ว CEO ที่ประสบความสำเร็จส่วนมากก็ไม่เคยแนะนำตัวเองว่าเป็น CEO
การเจริญเติบโตของธุรกิจเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ การมีโอกาสได้เซ็นสัญญาจ้างงานเป็นครั้งแรกคือเครื่องหมายของความสำเร็จอย่างหนึ่ง เพราะมันแปลว่าบริษัทของคุณกำลังเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ถูกต้อง
แต่เมื่อคุณมีพนักงาน 5 คนในบริษัท หรืออาจจะ 1 คน คงจะฟังดูแปลกๆ ถ้าคุณเรียกตัวเองว่า CEO และมันอาจจะทำให้พนักงานเหล่านั้นเปลี่ยนการรับรู้ที่มีต่อคุณ ที่แย่ที่สุดคือพวกเขาจะเข้าใจว่าคุณเป็นคน ego สูง ซึ่งก็คงจะทำให้บรรยากาศในการทำงานไม่ค่อยดี
แทนที่จะเรียกตัวเองว่า CEO ลองแนะนำตัวเองกับพนักงานใหม่ว่าผู้ก่อตั้งจะดีกว่า
ตั้งแต่การเป็นเจ้าของธุรกิจกลายเป็นกระแส ทุกๆ คนที่มีอายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไปที่สามารถสร้างแอปพลิเคชั่นสตรีมมิ่งเพลงที่ไม่ประสบความสำเร็จ ไปจนถึง Daniel Ek จาก Spotify ก็สามารถเป็น CEO ได้
หมายความว่า การแยกแยะระหว่างตัวจริงกับตัวปลอมกลายเป็นเรื่องยากขึ้นทุกที
ในปี 2008 เราอาจจะมองคนที่มีตำแหน่ง CEO ด้วยความรู้สึกชื่นชมเพราะพวกเขาอาจกลายเป็น Bill Gates และ Steve Jobs ในอนาคต
แต่ในวันนี้ วันที่ใครๆ ก็อยากเป็น CEO เมื่อคุณแนะนำตัวเองว่าเป็น CEO เราอาจจะแค่พูดว่า “อ๋อ เหรอ” แล้วก็หันกลับไปทำอย่างอื่น
นั่นก็เป็นเพราะว่าชื่อตำแหน่งนี้เริ่มเสื่อมมนต์ขลังอย่างที่มันเคยมีไปแล้ว
ถ้าคุณเจ๋งพอที่จะใช้ชื่อตำแหน่งว่า CEO ต้องแน่ใจว่าคุณเหมาะสมกับมันจริงๆ และมีเส้นทางการทำงานที่พิสูจน์ถึงความเก๋าของตัวเองได้
มันจะเป็นเหตุการณ์ที่แย่ที่สุด เมื่อเรียกตัวเองว่า CEO ในขณะที่ต้องติดต่อกับลูกค้าโดยตรง ไม่ว่าคุณจะพูดอะไรกับพวกเขา เช่น บริการของคุณคืออะไร หรือคุณคิดค่าจ้างอย่างไร
เพราะทุกๆ อย่างอยู่ในมือลูกค้า ในสถานการณ์เช่นนี้พวกเขาคือผู้ตั้งกฏ
โดยมากแล้วลูกค้ามักจะต่อราคา คุณทำได้แค่ตอบรับข้อเรียกร้องของพวกเขา แล้วก็กลับมาบอกกับพวกเขาว่าทำไม่ได้ ซึ่งมันจะทำให้คุณดูเป็น CEO อ่อนหัด หรือปฏิเสธตั้งแต่ต้น
ในทางตรงกันข้าม เมื่อคุณไม่ใช่ CEO คุณก็ไม่ใช่ผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจ ดังนั้น คุณอาจจะต่อรองกับพวกเขาได้อย่างสมน้ำสมเนื้อมากขึ้น โดยคุณอาจจะรับการต่อรองจากพวกเขามา แล้วกลับไปพร้อมกับข้อเสนอที่ดีกว่า ซึ่งมันจะเป็นประโยชน์กับภาพลักษณ์ของตัวคุณเองและบริษัทมากกว่า
บทสรุปของบทความนี้ คือ การมีชื่อตำแหน่ง CEO ไม่ใช่เรื่องผิดบาปอะไร เพราะในบางสถานการณ์ คุณก็ต้องมีมันไว้ เช่น เมื่อพบกับนักลงทุน หรือนักข่าว แต่โดยมากแล้วการทิ้งชื่อตำแหน่งไว้ที่บ้านจะดีกว่า ซึ่งในภาษาไทยก็คือการถอดหัวโขนนั่นแหละ
ที่มา : Inc
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด