Exclusive: 5 คำแนะนำสำหรับ Startup จากประสบการณ์ตรง Marcus Segal อดีต COO แห่ง Zynga ผู้ผลิตเกมยักษ์ใหญ่ของอเมริกา | Techsauce

Exclusive: 5 คำแนะนำสำหรับ Startup จากประสบการณ์ตรง Marcus Segal อดีต COO แห่ง Zynga ผู้ผลิตเกมยักษ์ใหญ่ของอเมริกา

“พึงระลึกไว้เสมอว่าเราลงเรือลำเดียวกันแล้ว เราอาจจะไปถึงจุดสูงสุดหรือต่ำสุดของการเป็นผู้ประกอบการก็ได้ แต่นั่นก็คือชีวิตที่เราเลือกแล้ว ... บางทีมันอาจจะน่าตื่นเต้นเหมือนรถไฟเหาะอยู่ซักระยะ ก่อนที่ Startup ของคุณจะเจ๊ง... แต่สำหรับผมมันโอเคนะ ผมยอมทำ Startup ที่เจ๊ง ดีกว่าทนทำงานที่ผมไม่ชอบ” - Marcus Segal อดีต COO ของ Zynga กล่าว

Marcus2

ธุรกิจที่ Segal เคยเข้าไปมีส่วนร่วมอย่าง eMusic, Vindicia และ Zynga นั้นห่างไกลคำว่าเจ๊งอยู่โขเพราะทุกธุรกิจล้วนแล้วแต่ประสบความสำเร็จมาก อย่าง Zynga นั้นไม่ได้เป็นแค่เป็น Unicorn ที่มีมูลค่าหนึ่งร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ หากแต่เป็น Unicorn ที่สร้างรายได้ได้มากถึงหนึ่งร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ

ระหว่างการนำเสนอในงาน techsaucesummit Segal ได้แบ่งปันบทเรียนที่ได้เรียนรู้ จากประสบการณ์การทำ Zynga ซึ่งสามารถส่งต่อให้ Startup รุ่นใหม่ๆ นำไปเป็นหลักปฏิบัติต่อได้

1. การปรับเปลี่ยนรูปแบบภายนอกไปเรื่อยๆ ไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดี จงพยายามคิดค้นไอเดียใหม่ สินค้าใหม่ รวมถึงวิธีดำเนินธุรกิจด้วย

จากการบอกเล่าของ Segal บริษัทส่วนมากกำลังสร้างผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับผลิตภัณฑ์เดิมของตนเอง อันที่จริงแล้วก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดนักในการที่เราจะแค่ปรับโฉมผลิตภัณฑ์ภายนอกนิดหน่อยๆ แล้วนำออกมาขายใหม่ ยิ่งผลิตภัณฑ์นั้นได้พิสูจน์แล้วว่ามันประสบความสำเร็จอย่างดีในตลาด อย่างไรก็ตาม Segal แนะนำให้พยายามพัฒนาให้มันดีขึ้น การปรับโฉมใหม่แต่ด้านในยังเหมือนเดิมไม่ใช่กลยุทธ์ที่จะสร้างธุรกิจที่มั่นคงและยั่งยืน

Segal ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ของ Zynga เกมส์ของ Zynga นั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากซึ่งบริษัทก็รู้สึกพอใจกับความสำเร็จนั้น ผลิตภัณฑ์ที่ออกตามหลังจึงเป็นเพียงการลอกเลียนผลิตภัณฑ์ชิ้นแรกเท่านั้น เกมส์อย่าง Fashion Wars, Space Wars, Pirate Wars และ Prison Wars นั้นเกิดจากการลอกเลียนแบบ Mafia Wars อันเป็นต้นฉบับความสำเร็จทั้งสิ้น การปรับเปลี่ยนรูปโฉมอาจสร้างรายได้ให้บริษัทได้ก็จริง แต่มันไม่ได้ช่วยยกระดับบริษัทขึ้นไปแม้แต่น้อย

“ไม่มีใครชื่นชมสิ่งเดิมๆ หรอก คุณสามารถทำได้เพียงครั้งหรือสองครั้งเท่านั้น ไม่สามารถทำไปได้ตลอด และถ้าคุณนำพนักงาน 20-30 คนไปทำอะไรเดิมๆ คุณกำลังเพิ่มจำนวนพนักงานให้กับบริษัทอย่างไร้ประโยชน์ คุณต้องหาอะไรใหม่ๆให้พวกเขาทำ ไม่เช่นนั้นคุณก็จะจมอยู่กับกองค่าใช้จ่ายในท้ายที่สุด” Segal กล่าว “หาจุดสมดุลของการสร้างสิ่งใหม่ๆให้ดีกว่าเดิมให้ได้ คุณอาจจะปรับเปลี่ยนบางอย่างเพียงเล็กน้อยเพื่อขายในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ได้ แต่คุณต้องพัฒนามันให้ดีขึ้นด้วย”

2. พัฒนาอย่างฉลาด และประหยัดต้นทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

สำหรับธุรกิจแอปฯ การใช้ทักษะด้านเทคนิคต่างๆ ของวิศวกรอย่างชาญฉลาดเป็นสิ่งสำคัญ ทักษะเหล่านี้มีคุณค่ามากเกินกว่าจะนำไปจมอยู่กับโปรเจ็กต์ที่ไม่คู่ควร Segal เล่าว่า “เราสามารถประหยัดต้นทุนการผลิตแอปฯ ได้มากถึง 25-30% หากเราให้รายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงและชัดเจนกับเหล่าวิศวกรเพราะอัตราค่าจ้างวิศกรนั้นสูงมาก ลองให้ศิลปินออกแบบ concept และนำเสนอแนวคิดออกมาให้ชัดเจน เพื่อให้เห็นภาพตรงกันก่อน แล้วค่อยจ้างวิศวกรมาพัฒนาต่อ  ” การเริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

3. ทำความรู้จักกับ User ของคุณ

คุณรู้วิธีการที่จะได้ความคิดเห็นของลูกค้าที่มีต่อคู่แข่งมาแบบฟรีๆ หรือเปล่า ? เพื่อที่จะได้นำข้อมูลเหล่านั้นไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่คุณตั้งใจจะนำออกสู่ตลาด ถ้าถามถึงวิธีการ จริงๆ มันง่ายมากๆ แค่สร้างโปรไฟล์ใหม่  แล้วเข้าไปในกระทู้ที่เกี่ยวกับเกมส์หรือแอปฯ นั้นๆ แล้วดูว่าผู้ใช้หรือผู้เล่นเขาพูดถึงผลิตภัณฑ์นั้นอย่างไร หรือเข้าไปดูการรีวิวของลูกค้าในกระทู้หรือโซเชียลมีเดียต่างๆ ก็ช่วยได้มากเช่นกัน การเรียนรู้ผู้คนเหล่านี้จะทำให้เราสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบพร้อมด้วยฟีเจอร์ที่ยอดเยี่ยม ซึ่งสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้

4. เปลี่ยนการพุ่งเป้าที่จะได้ User ใหม่ๆ  ไปสู่การรักษาและเพิ่มปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับ User ที่มีในมือ

การได้ User ใหม่ๆ เป็นหนทางสู่ชัยชนะ ในขณะที่การรักษาฐาน User เป็นสิ่งที่ต้องทำในระยะยาวและอาศัยแผนการตลาดที่ดีและผลงานที่มีคุณภาพ Segal กล่าวว่า “ พวกเรายังใส่ใจกับสิ่งนี้ไม่มากพอ เมื่อต้นทุนของแอปฯ ต่างๆ เพิ่มขึ้นทุกวันๆ เราต้องคิดและวางแผนการรักษาฐานลูกค้าไปให้ไกลกว่า 30 วัน หรือ 90 วัน มันควรจะไกลถึง 360 วันเลยด้วยซ้ำ”

โดยเฉลี่ยแล้ว User จะหยุดการใช้แอปฯ ภายใน 90 วันหลังจากที่เริ่มดาวน์โหลดแอปฯ เข้ามาในเครื่อง สำหรับแอปฯ อย่างเกม จะมีผู้เล่นเหลือเพียง 10% ภายใน 90 วัน ในขณะที่หมวดสื่อบันเทิงต่างๆ จะเหลือผู้ใช้อยู่ที่ประมาณ 24% (แหล่งข้อมูล : info.localytics.com, ไตรมาส 4 ปี 2015)

5. บริษัทเกมต้องเรียนรู้ถึงการสร้างสังคมที่ดี

Segal แนะนำว่าสังคมที่ดีนั้นไม่ได้แค่ช่วยเพิ่มลูกค้าใหม่ๆ แต่ยังช่วยรักษาฐานลูกค้าเดิมด้วย เขากล่าวต่อไปอีกว่า “Zynga กำลังจะนำวิสัยทัศน์ของ Mark (ผู้ก่อตั้ง Zynga) กลับมาปัดฝุ่นใหม่ นั่นคือการสร้างสังคมที่ดี เกมที่ประสบความสำเร็จด้านนี้ให้กับ Zynga ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมาคือ Zynga Poker ที่มี User กว่า 500,000 คนเล่นเกมด้วยกัน การพบปะพูดคุยในชีวิตจริงคือปัจจัยหลักของความสำเร็จนี้

“ถ้าเราไม่รักษาฐานลูกค้าไว้ให้ได้ เราต้องพิจารณาตัวเองแล้วว่าเราไม่ได้สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับ User เพื่อการรักษาฐาน User ในระยะยาว ” Segal กล่าว “

อย่าสร้างกองทรายแล้วเอาไปไว้ที่ชายหาด เพื่อคาดหวังว่าวันวันหนึ่งจะมีคนมาเจอกองทรายบนชายหาด แต่จงสร้างปราสาททราย และหากคุณโชคดีคุณจะสามารถต่อเติมมันให้เจ๋งขึ้นได้ รวมถึงสร้างพื้นที่ให้กับคนอื่นได้ได้ด้วย สิ่งที่เจ๋งก็คือพื้นที่นั้นจะอยู่ไปอีกร้อยๆ ปี ลองดู Facebook สิ วันนึงที่เขาอยากทำให้ Facebook ดูสนุกขึ้น เขาก็เเค่เติม emoticons น่ารักๆ ลงไปเพิ่มเท่านั้น คุณแค่เปิดพื้นที่ให้คนเข้ามาขายของในนั้น อย่างโปเกมอนโกที่ใช้ระบบจาก Ingress ทั้งหมดนี้เริ่มจากการมีสังคมจริงที่ดี”

การแข่งขันจะมีสูงขึ้น แต่โอกาสก็มีมากตามไปด้วย

การแข่งขันในวงการแอปฯ นั้นดุเดือดพอสมควร ในปีนี้ทั้งปีจะมีแอปฯ เกิดใหม่ถึง 500,000 แอปฯ  อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์นี้ตามมาซึ่งโอกาสที่มากขึ้น Segal คาดว่าเราจะได้เห็นยอดผู้ใช้แอปฯ ต่อวันสูงถึง 50 ล้านรายภายใน 5 ปี และยอดการใช้เงินกว่า 10 ล้านเหรียญต่อวันในอีก 7 ปีข้างหน้า

“ความท้าทายของผู้สร้างผลิตภัณฑ์ไม่ใช่แค่ทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักเท่านั้น แต่ต้องสร้างสังคม User ที่ดีให้กับผลิตภัณฑ์นั้นด้วยเพื่อให้มันสามารถหล่อเลี้ยงตัวมันเองได้โดยไม่ต้องพึ่งค่าโฆษณา ไม่เช่นนั้น แอปฯ ของคุณจะเป็นเหมือนเรือด่วนที่มีรูรั่ว คุณจะใช้เงินทั้งหมดเพื่อการทำโฆษณาและรักษาฐาน User ไว้”

ความเคลื่อนไหวของ Startup ไทย และคำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ

Segal เชื่อมั่นใจศักยภาพของวงการ Startup ไทยมาก เขาอธิบายว่าตลาด Startup ไทยกำลังเฟื่องฟูอย่างมาก “เมล็ดพันธุ์ที่หว่านไว้ตอนนั้น ขณะนี้มันกำลังเติบโตแล้ว” ในปี 2012 มี Startup ไทยเพียง 12 เจ้าเท่านั้นที่ได้รับเงินลงทุน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2.1 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ในขณะนี้มีเงินลงทุนกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่ได้ลงทุนใน Startup ไทยกว่า 72 เจ้าแล้วในปี 2016 ยิ่งไปกว่านั้น วงการ Startup ก็ได้รับการสนับสนุนและความสนใจจากรัฐบาลในฐานะส่วนหนึ่งของโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ “ประเทศไทย 4.0”

ในการนำเสนอของเขา Segal ชี้ประเด็นให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาและเกื้อกูลกันระหว่างกลุ่มผู้ทำ Startup ด้วยกัน การเเบ่งปันความรู้ ทักษะและความเชี่ยวชาญต่างๆ จะช่วยสร้างประโยชน์ให้กับทุกคน กลุ่มผู้ทำ Startup นั้นจะแข็งแกร่งขึ้นมาก เมื่อพวกเขามีทรัพยากรที่เพียงพออยู่ในมือ อย่างที่เราเห็นกรณีตัวอย่างของ Silicon Valley และเราก็หวังว่าวันหนึ่งประเทศไทยจะสามารถก้าวไปสู่จุดนั้นได้ในเร็ววัน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...