ประเทศไทยถือเป็นประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่อุตสาหกรรมค้าปลีกมีการเปลี่ยนแปลงสูง และเป็นประเทศที่มีความน่าดึงดูดสำหรับนักท่องเที่ยวและคนท้องถิ่น โดยในปี 2020 เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง นั่นก็คือการย้ายไปสู่โลกออนไลน์ ด้วยสาเหตุจากสถานการณ์โรคระบาด
แต่อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้นับเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งและได้รับผลลัพธ์ที่ดีอย่างน่าเหลือเชื่อ เพราะปีที่ผ่านมาผู้บริโภคชาวไทยใช้จ่ายกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซเฉลี่ย 1,738 เหรียญสหรัฐ แซงหน้าเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียที่ 484 เหรียญสหรัฐ และเวียดนามที่ 230 เหรียญสหรัฐ
LINE, Facebook, และ Instagram แม้จะเป็นช่องทางการสื่อสารหลัก ก็ถูกมามาใช้ประยุกต์เป็นเครื่องมือการตลาดอัตโนมัติ หรือ Marketing automation ที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับนักการตลาดในประเทศไทย เนื่องจากได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น และสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยง่ายจากสิ่งที่พวกเขาคุ้นเคยอยู่แล้ว
โดยข้อมูลจาก LINE ระบุว่าจำนวนบัญชีในประเทศไทยเพิ่มขึ้นถึง 50 ล้านบัญชีในปีที่ผ่านมา การประยุกต์ใช้แอปพลิเคชันที่เป็นช่องทางในการสื่อสารหลักหรือแอปพลิเคชันส่งข้อความ เลยเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคยังคงรู้สึกถึงความใกล้ชิดกับแบรนด์ โดยไม่ถูกสร้างความห่างโดยกระบวนการอัตโนมัติมากจนเกินไป
อีกสถิติที่น่าสนใจ นั่นก็คือมากกว่าครึ่งหนึ่งของการซื้อสินค้าปลีกในประเทศ เกิดขึ้นในตลาดอีคอมเมิร์ซ ซึ่งขณะนี้แบรนด์ต่างๆ มีแพลตฟอร์มที่ทำให้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้โดยตรง อีกทั้งยังสร้างการเชื่อมต่อแบบดิจิทัลและดูแลลูกค้ากลุ่มเป้าหมายทั้งหมดในเวลาเดียวกัน
ความสำคัญของการทำการตลาดแบบอัตโนมัติยังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ กับจำนวน Touch point (จุดที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับลูกค้า เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน) ในช่องทางออนไลน์ เห็นได้จากการที่ผู้ค้าปลีกรายสำคัญในประเทศ เช่น Central Group, Siam Piwat, และ CP Group มีการลงทุนอย่างหนักใน Touch point ช่องทางออนไลน์เพื่อปรับปรุงการดำเนินการของธุรกิจ
จากการรายงานของ Bangkok Post ระบุว่า มีการเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัลมากกว่า 80% ในปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะเติบโตสูงขึ้นถึงสองหลักในปีนี้ สิ่งนี้เป็นการย้ำว่า การตลาดอัตโนมัติเป็นการลงทุนที่นักการตลาดจำเป็นต้องทำ โดยเฉพาะเมื่อโลกการตลาดเคลื่อนไปสู่ภูมิทัศน์ดิจิทัลอย่างเด่นชัด
ดังนั้นจะเห็นว่า การทำการตลาดอัตโนมัติมีประโยชน์อย่างมากสำหรับแบรนด์ที่ต้องการใช้กลยุทธ์ Personalisation หรือการทำการตลาดที่ตรงจุดและตอบโจทย์ผู้บริโภคมากที่สุด และต้องการ Engagement ที่สูงขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น ELCA หนึ่งในบริษัทในเครือของ Estee Lauder Companies ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับแบรนด์ความงาม ที่ใช้การตลาดอัตโนมัติ ประกอบกับการใช้ Data Insights เพื่อเพิ่มยอด Engagement และยอดขาย ทำให้มีมูลค่าขึ้นผ่านการสั่งซื้อเฉลี่ย (AOV) เพิ่มขึ้นผ่านเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ
สำหรับวิธีการเริ่มต้นใช้งานเครื่องมือทำการตลาดอัตโนมัติ นักการตลาดสามารถวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ เพื่อวิเคราะห์ว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของระบบอัตโนมัติจะสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนมางการตลาดที่ต้องการได้หรือไม่
ซึ่งการวิเคราะห์นี้ควรชั่งน้ำหนักว่า หากเราจะใช้ระบบหรือเครื่องมือการตลาดอัตโนมัติ จะต้องลงทุนมากขนาดไหน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของบุคลากร กระบวนการ เทคโนโลยี และข้อมูล โดยเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ที่เราคาดหวัง
ตัวชี้วัดหลักที่แบรนด์สามารถนำมาใช้วัดผลลัพธ์ของการตลาดอัตโนมัติมีดังนี้:
ต้นทุนที่ต่ำต่อการหาลูกค้า (ลดลง 10% -30% ต่อการหาลูกค้า)
ปรับปรุงประสิทธิภาพการขาย (ยอดขายเพิ่มขึ้น 10% - 20%)
การเติบโตของรายได้ที่สูงขึ้น (การเติบโตของรายได้เพิ่มขึ้น 10% - 30%)
เพิ่มโอกาสในการหาลูกค้าที่มีคุณภาพ
จากสถิติ ยอดขายมากกว่า 57% ของอีคอมเมิร์ซ เกิดขึ้นบนโทรศัพท์มือถือ นอกจากนั้นผู้บริโภคชาวไทยยังให้ความสำคัญกับโทรศัพท์มือถือเป็นอันดับแรกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และ 62% ของนักช็อปออนไลน์ยังต้องการประสานงานและเริ่มทำธุรกรรมผ่านทาง Chat commerce ซึ่งสะท้อนถึงวัฒนธรรมไทยที่เป็นเอกลักษณ์ ในการพูดคุยและขอคำแนะนำจากผู้ขายก่อนตัดสินใจซื้อ
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้เครื่องมือการขายด้วยการส่งข้อความพูดคุย หรือ Chat commerce แบบสั้นๆ ที่แบรนด์สามารถตั้งโปรแกรมและปรับแต่งขั้นตอนการทำงานให้เหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็น รวมถึงบริการต่างๆ เช่น ประกาศการส่งเสริมการขาย, การโฆษณาผลิตภัณฑ์ใหม่, การยืนยันคำสั่งซื้อ, การอัปเดตสถานะการจัดส่ง และผลตอบรับหรือข้อเสนอแนะหลังการขาย กำลังเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วในหมู่แบรนด์ที่มีอิทธิพลในประเทศไทย
Central Group หนึ่งในผู้ค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และตัวอย่างของแบรนด์ที่ตระหนักถึงศักยภาพของ Chat commerce จึงได้ก้าวเข้าสู่แพลตฟอร์ม LINE ซึ่งถือเป็น “ราชาแห่งการแชทขายของ” พบว่าบริการ Chat&Shop ของ Central ควบคุมการแชทจากลูกค้ามากกว่า 1,000 รายการทุกวัน
นอกเหนือจาก LINE และแพลตฟอร์มการซื้อขายสินค้าผ่านแชทออนไลน์อื่นๆ แล้ว ยังมีเครื่องมือการตลาดอัตโนมัติยอดนิยมอื่นๆ ในหมู่นักการตลาดในไทย เช่น Hubspot สำหรับการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM), Insider สำหรับ Brand.com และแพลตฟอร์มข้อมูลลูกค้า (CDP) และ CleverTap สำหรับการมีส่วนร่วมและการวิเคราะห์แอปบนโทรศัพท์มือถือ
สำหรับ Insider มี Growth Management Platform (GMP) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถติดตาม ผู้เยี่ยมชมหมวดหมู่เฉพาะที่ผ่านมา ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงมาเป็นลูกค้า และกำหนดเป้าหมายด้วยการแจ้งเตือนทันทีหรือกลยุทธ์ในการสร้างโปรโมชัน ในทางกลับกันการแจ้งเตือนจากเว็บไชต์จะถูกส่งไปยังผู้บริโภคที่กำลังเปิดหน้าต่างเว็บไซต์ และเพิ่มสินค้าไปยังรถเข็นโดยอัตโนมัติแต่ยังไม่ได้ดำเนินขั้นตอนสุดท้ายสำหรับการสั่งซื้อ
โดย Cigna หนึ่งในผู้ให้บริการประกันชั้นนำของประเทศไทยใช้ Insider’s Growth Management Platform เพื่อช่วยให้เข้าใจและวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าบนเว็บไซต์ ในขณะเดียวกันก็รวบรวมและรักษากลุ่มลูกค้าที่มีความเป็นไปได้ในเวลาเดียวกัน
Mark & Spencer ธุรกิจค้าปลึกเจ้าใหญ่ของอังกฤษ ก็ใช้เครื่องมือ Growth Management Platform ในการดันยอดอัตราการสั่งซื้อจากการยกเลิกการสั่งซื้อได้ถึง 15% ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมประมาณห้าเท่า
การทำการตลาดอัตโนมัติเป็นโซลูชันใกล้ตัวที่มีประสิทธิภาพ ด้วยระบบอัตโนมัติ แบรนด์ต่างๆ จะมีเเพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้ เพื่อให้บริการมีประสิทธิภาพ และคอนเทนต์ที่มีประสิทธิผลสูงสุด ไปยังกลุ่มลูกค้าที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม สำหรับแบรนด์ที่ต้องการสร้างชื่อใน ‘Land of Smiles’ นี้ ระบบการตลาดอัตโนมัติที่ยังคงรักษาความใกล้ชิดกับแบรนด์ไว้ จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ลูกค้าของคุณยิ้มแย้มตลอดไป
ADA เป็นบริษัททางด้าน Data และ AI ที่ให้บริการทางด้านดิจิทัล ข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค และเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์สำหรับนักการตลาดยุคใหม่ โดยที่ทาง ADA ได้เสริมศักยภาพในด้านของการตลาดดิจิทัลด้วยการสร้างฐานข้อมูลของบริษัทที่รวบรวมข้อมูลของผู้บริโภคมากกว่า 375 ล้านรายที่สามารถนำมาวิเคราะห์พฤติกรรมเชิงลึกได้ ปัจจุบันให้บริการใน 10 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ซึ่งมีทีมงานจากหลากหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็น data scientist, digital media guru, agency expert, และ management consultant ที่มีประสบการณ์ด้านการตลาด ข้อมูล และเทคโนโลยี
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีการตลาด (MarTech) สามารถอ่านได้ที่ : https://bit.ly/3kNvVUr
เตรียมปรับกลยุทธ์รับสิ้นปีไปด้วยกัน Techsauce ร่วมกับ ADA จัดงาน How brands can ride on the growth driver in MarTech 2022 ร่วมค้นหาโซลูชั่นการตลาดและ MarTech ที่จะมาช่วยธุรกิจของคุณให้อยู่รอด รับฟังกรณีศึกษาการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูลและเครื่องมือทางการตลาด ผ่าน session แชร์ความรู้และประสบการณ์สุดเข้มข้น และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันโดยผู้เชี่ยวชาญ
พบกับ
- Mr.Christopher Wiseman Regional Head of Marketing Technology Practice, ADA
- คุณแดน ศรมณี Managing Director of ADA in Thailand
- คุณธนุส เกิดลาภ Head of MarTech and Data Consulting, ADA in Thailand
- คุณกวิน ตั้งอุทัยศักดิ์ Managing Director บริษัท The 1-Central Group
- คุณณัฐพล ม่วงทำ เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน
- คุณอภิรดา เบ็ญจฆรณี Head of Digital and Transformation บริษัท Cigna Thailand
- คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ CEO & Co-Founder บริษัท Techsauce Media
ดำเนินรายการโดย คุณนภนาง เอกอัคร และ คุณลภัสรดา พิพัฒน์
วันที่ 2 ธันวาคมนี้ เวลา 14:00 - 16:00 น.
ลงทะเบียนได้เลยตอนนี้ ที่ : https://forms.gle/6NgTZTyq6XhTc39E6
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด