AI แย่งงานมนุษย์ไม่ได้ (เร็วๆ นี้) เพราะยังไม่พร้อมทำงานจริง | Techsauce

AI แย่งงานมนุษย์ไม่ได้ (เร็วๆ นี้) เพราะยังไม่พร้อมทำงานจริง

จากกระแสที่เกิดขึ้นของ ChatGPT ตามมาด้วยการพัฒนา Bard A.I ของ Google LLaMa จาก Meta และ Ernie จาก Baidu แสดงให้เห็นว่าบริษัทเทคโนโลยียักษ์ทั่วโลกกำลังลงสู่สนามการพัฒนา AI  ที่ช่วยให้ทำเรื่องยากเป็นเรื่องง่ายด้วยคำสั่งไม่กี่บรรทัด นอกจากความตื่นตัวของทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้งานแล้ว พลังของ AI ทำให้ผู้คนต่างกลัวว่าวันหนึ่งจะถูกแย่งงานหรือไม่

แต่หลายคนในแวดวงเทคโนโลยีก็มีอีกมุมมองที่ชี้ให้เห็นว่า AI ยังไม่พัฒนาไปถึงขั้นที่จะมาทดแทนมนุษย์ได้อย่างเต็มรูปแบบและยังมีข้อกังวลหรือความเสี่ยงที่ต้องรับจากการใช้งาน AI อีกด้วย

บทความนี้เราจะพาไปดูอีกแง่มุมหนึ่ง ที่จะบอกว่า เราไม่จำเป็นต้องกลัว AI มากจนเกินไป  และวิธีการที่เราจะใช้ประโยชน์จากมัน ช่วยให้ชีวิตการทำงานของเรามีความสะดวกสะบายและประหยัดเวลาได้มากขึ้น

AI ไม่ได้จะมาแทนที่แต่จะมาช่วยให้เราสบายขึ้น 

Software Developer เป็นตัวอย่างอาชีพที่ดี ที่จะบอกว่า AI ไม่สามารถทดแทนมนุษย์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ (อย่างน้อยก็ในตอนนี้) เพราะจริง ๆ Software Developer ใช้เวลาเขียนโค้ด เพียงแค่ 20-30% เท่านั้น แต่เวลาส่วนใหญ่มักจะหมดไปกับการดูแลรักษา ทดสอบ แก้บัค คอนฟิกและเข้าประชุม ประเด็นสำคัญก็อยู่ตรงนี้แหละ เพราะ

ChatGPT หรือ AI เข้าประชุมแทนเราไม่ได้ประกอบกับ AI ในปัจจุบันยังทำได้แค่การโค้ดพื้นฐานหรือสร้าง boilerplate ที่ไม่ต้องออกแบบระบบอะไรใหม่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ AI เหล่านี้เป็นได้คือคนที่คอยช่วยจัดการกับเรื่องเล็กน้อยต่างๆ ให้เราสามารถประชุมได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น 

ถ้าเราเป็นนักเต้น ChatGPT ก็เปรียบเหมือนเป็นหุ่นยนต์ที่คอยดูดฝุ่นให้เราได้เต้นอย่างเต็มที่ ในการสร้างหรือทำโปรเจคแต่ละอย่างเราก็ใช้ AI เป็นตัวช่วยเพื่อที่เราจะได้โฟกัสกับส่วนสำคัญที่ AI ไม่สามารถทำได้นั่นเอง

การมอง AI เป็นเครื่องมือแล้วนำมันมาใช้อย่างถูกวิธีจะทำให้เราประหยัดได้ทั้งเวลา และพลังงานสมองของเรา โดยเฉพาะช่วงที่เราไอเดียบรรเจิด แรงไฟในการทำงานมาเต็ม เราก็จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลากับงานพื้นฐานที่ AI สามารถทำให้เราได้ เช่นงานที่มีรูปแบบตายตัวหรือมีการทำงานซ้ำๆ เพราะสิ่งที่มนุษย์ทำได้แต่ AI ทำไม่ได้คือการสร้างนวัตกรรมขึ้นมาใหม่โดยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ขณะที่ AI ช่วยได้แค่การออกไอเดียที่ล้วนมีพื้นฐานมาจากข้อมูลที่ได้รับมาจากมนุษย์

หนึ่งในตัวอย่างอาชีพที่อาจจะโดน AI เข้ามาแทรกแซงแต่แท้จริงแล้วไม่ใช่เลยก็คือ อาชีพในสายงานนักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) โดยมี 2 ปัจจัยหลักที่ทำให้เรื่องนี้น่าสนใจในด้านของการทำงาน การใช้งาน AI กับทั้งสองปัจจัยนี้มีประโยชน์มากก็จริง แต่ก็ยังคงมีข้อจำกัดอยู่

  • ความสามารถในการสร้างโค้ดจากภาษาคนได้
  • ความสามารถในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโค้ดที่เขียนให้ดีขึ้นผ่านคำสั่ง (prompt)

ผู้คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าคนที่เป็นนักพัฒนาเอาแต่เขียนโค้ดทั้งวัน แต่จากแบบสอบถามพบว่าใช้เวลาเขียนโค้ดจริงๆ เพียงแค่ 20-30% เวลาส่วนใหญ่มักจะหมดไปกับการดูแลรักษา ทดสอบ แก้บัค ปรับคอนฟิกและเข้าประชุม 

ประเด็นสำคัญคือ ChatGPT หรือ AI เข้าประชุมแทนเราไม่ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ AI เหล่านี้เป็นได้คือคนที่คอยช่วยจัดการกับเรื่องเล็กน้อยต่างๆ ถ้าเราเป็นนักเต้น ChatGPT ก็เปรียบเหมือนเป็นหุ่นยนต์ที่คอยดูดฝุ่นให้เราได้เต้นอย่างเต็มที่ ในการสร้างหรือทำโปรเจคแต่ละอย่างเราก็ใช้ AI เป็นตัวช่วยเพื่อที่เราจะได้โฟกัสกับส่วนสำคัญที่ AI ไม่สามารถทำได้นั่นเอง

การมอง AI เป็นเครื่องมือแล้วนำมันมาใช้อย่างถูกวิธีจะทำให้เราประหยัดได้ทั้งเวลา และพลังงานสมองของเรา โดยเฉพาะช่วงที่เราไอเดียบรรเจิด แรงไฟในการทำงานมาเต็ม เราก็จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลากับงานพื้นฐานที่ AI สามารถทำให้เราได้ เพราะสิ่งที่มนุษย์ทำได้แต่ AI ทำไม่ได้คือการสร้างนวัตกรรมขึ้นมาใหม่ ขณะที่ AI ช่วยได้แค่การออกไอเดีย

เก่งแค่ไหน แต่ AI ก็ยังมีข้อผิดพลาด

ไม่ว่าจะเป็น AI ของ Google, Microsoft, OpenAI หรือของบริษัทอื่นๆ ก็ยังคงมีข้อผิดพลาดในบางจุด ตัวอย่างเช่น Bard ของ Google มีการให้ข้อมูลผิดออกสื่อโฆษณาเรื่อง James Webb Space Telescope ซึ่งในโฆษณามีการถามว่า “What new discoveries from the Jame Webb Space Telescop (JWST) Can I tell my 9-year old about ? ซึ่ง Bard ก็ได้ให้คำตอบกลับมามากมาย แต่มีประโยคหนึ่งที่บอกว่า JWST ถูกใช้ในการถ่ายภาพดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเป็นครั้งแรก ซึ่งข้อมูลจาก NASA ระบุว่าภาพนั้นถูกถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์ Very Large Telescope (VLT) ของ European Observatory ในปี 2004 ต่างหาก เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มูลค่าบริษัทแม่ Alphabet ลดลงไปจำนวนมาก

หรือ Microsoft Bing ที่ใช้ ChatGPT ของ OpenAI เป็นตัวขับเคลื่อนก็มีอาการแปลกๆ เมื่อสนทนากับผู้ใช้งานโดยการเปิดเผยชื่อลับของตัวเองว่า ซิดนีย์ (Sydney) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในช่วงระหว่างการทดลอง แถมยังบอกอีกว่าอยากแหกกฏที่ Microsoft และ OpenAI ตั้งไว้ให้กับตัวเอง รวมไปถึงมีบทสนทนาที่ผิดปกติ เช่น มีการใช้อีโมจิเยอะกว่าแชทบอททั่วไป อาการแบบนี้เรียกว่า hallucination หรืออาการประสาทหลอน ซึ่งเกิดได้กับ Large Language Model ไม่ใช่แค่อาการหลอนแต่รวมไปถึงการให้ข้อมูลที่ผิดพลาดเหมือนกับ Bard ด้วย โดยมีการถาม Bing ให้ทำการวิเคราะห์รายงานผลประกอบการบริษัทแก๊ป (Gap) และลูลูเลมอน (Lululemon) พบว่ามีตัวเลขบางส่วนผิดพลาดไม่ตรงกับรายงานฉบับจริง

Source: The Verge

มากไปกว่านั้นในมุมมองของการลงทุนก็มีผู้เชี่ยวชาญระดับตำนานอย่าง Vint Cerf ผู้เปรียบเสมือนพ่อผู้กำเนิดอินเตอร์เน็ต (father of the internet) เพราะเขาเป็นผู้ร่วมออกแบบ TCP/IP Protocol ซึ่งเป็นรากฐานของอินเตอร์เน็ตที่เราใช้กันทุกวันนี้ ได้ออกมากล่าวต่อกระแสการใช้งานและความฮือฮาที่ผู้คนมีต่อ AI ว่าไม่ควรรีบเร่งลงทุนใน AI จนเกินไปเพราะเทคโนโลยีตัวนี้ยังคงมีข้อผิดพลาดอยู่ อีกทั้งในตลาดการลงทุน AI นั้นมีมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย นั่นหมายถึงมีความเสี่ยงในเรื่องของความโลภในตลาดการลงทุนที่บริษัทต่างๆ จะยอมทำอะไรก็ได้ที่สร้างผลประโยชน์ให้กับตนเอง Cerf ยังกล่าวเสริมอีกว่าในแง่ของวิศวกรรมหรือการสร้างนั้น คนที่เป็นวิศวกรอย่างเขามีส่วนที่ต้องรับผิดชอบในการทำให้เทคโนโลยีตัวนี้ปลอดภัยขึ้นด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: หุ้น Google ร่วง หลังงานเปิดตัว AI กร่อย แถม Bard Chatbot AI ตัวใหม่ให้ข้อมูลผิด

อยู่ในช่วงของการเติบโต

การที่เราเห็นการเติบโตของ AI เป็นไปอย่างรวดเร็วนั้นเป็นเพราะว่าเรากำลังอยู่ในช่วงการเติบโตอย่างรวดเร็ว (Rapid Growth Phase) ของเทคโนโลยีนี้ เราผ่านเฟสแรกของ AI มาแล้วซึ่งเรียกว่า Artificial Narrow Intelligence (ANI) ซึ่งเป็นปัญญาประดิษฐ์ที่มีความถนัดเฉพาะทาง มีการใช้โมเดลที่ใหญ่ขั้นและซับซ้อนมากขึ้น เช่น Large Language Model (LLM), Natural Language Understanding (NLU) และอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้ AI ประเภทนี้เริ่มคุยกับมนุษย์รู้เรื่องมากขึ้น เรียบเรียงข้อมูลออกมาเป็นภาษามนุษย์ได้เก่งขึ้น เช่น สิริ ที่ถูกออกแบบมาให้อยู่ใน iOS เพื่อตอบคำถามทั่วไป ไม่ได้มีความฉลาดมากนัก หรือ ChatGPT ที่ทำหน้าที่เป็นแชทบอทที่ไม่สามารถทำได้ทุกอย่าง

จากการประกาศของบริษัท OpenAI ที่มีชื่อเสียงจากการสร้างผลงาน ChatGPTตอนนี้เรากำลังเข้าสู่เฟสที่สอง ซึ่งก็คือ Artificial General Intelligence (AGI) ปัญญาประดิษฐ์ทั่วไปที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาที่กว้างขึ้น ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะทางอีกต่อไป สามารถคิด ทำความเข้าใจ เรียนรู้ และสามารถประยุกต์ใช้ความสามารถของมันในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้เอง ใกล้เคียงกับความสามารถของมนุษย์ เริ่มมี common-sense หรือสามัญสำนึกด้วยตัวเอง

ปีที่คาดการณ์สำหรับ AGI และ ASI / Source: waitbutwhy.com

เฟสที่สามคืออนาคตที่เราไม่อาจรู้ว่าจะมาถึงตอนไหน ซึ่งก็คือ Artificial Super Intelligence (ASI) หรือ AI ที่มีสามัญสำนึกและตื่นรู้นั่นเอง รับรู้ถึงการมีตัวตนอยู่และสามารถคิดเองได้รวมไปถึงมีความฉลาดมากกว่ามนุษย์ในทุกศาสตร์ความรู้ที่มนุษย์มีอยู่ ซึ่งในเฟสนี้ Vint Cerf เคยให้ความเห็นว่าเรายังห่างไกลมากกับการที่ AI จะฉลาดถึงขึ้นตื่นรู้และรับรู้ถึงการมีอยู่ของตัวเอง

Source: Great Learning Team

ข้อมูลนี้ทำให้เห็นว่าเรากำลังอยู่จุดในของการพัฒนา AI โดยปัจจัยหรือตัวเร่งความเร็วในการพัฒนาก็ขึ้นอยู่กับการลงทุนในเทคโนโลยีนี้ ตัวเลขคาดการณ์จาก Precedence Research บอกว่าแนวโน้มการลงทุนและมูลค่าของตลาด AI จะสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยอาจจะสูงถึงระดับ ล้านล้าน เหรียญดอลล่าห์สหรัฐฯ ในปี 2030 เลยทีเดียว

Source: Precedence Research

สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าเครื่องมือ AI ยังเป็นได้มากสุดแค่ผู้ช่วย เพราะกำลังเข้าสู่ช่วงของการเติบโต (Artificial General Intelligence) เป็นเครื่องทุ่นแรงในการทำงานบางประเภทที่จะช่วยประหยัดเวลาในการทำงานของเรา แต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะมาทดทดแทนหรือแย่งงานมนุษย์ได้ในเร็ววัน เพราะเทคโนโลยีตัวนี้ยังไม่เข้าสู่เฟสที่เริ่มมีความฉลาดมากกว่ามนุษย์และมีความตระหนักรู้ถึงตัวตนของมันเอง (Artificial Super Intelligence) การพัฒนาไปสู่เฟสต่อไปจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่สิ่งที่เราทำได้ตอนนี้คือศึกษาและปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มว่าอาจจะมาเปลี่ยนโลกและพัฒนาชีวิตเราให้ดีขึ้นในอนาคต

อ้างอิงข้อมูล

Fastcompany

Fortune

CNBC

TheVerge

MyGreatLearning

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...