ผลวิจัยพบ คนไทยเป็นโสดมากขึ้น เน้นค่าใช้จ่าย 'ช้อป กิน เที่ยว' มากกว่า | Techsauce

ผลวิจัยพบ คนไทยเป็นโสดมากขึ้น เน้นค่าใช้จ่าย 'ช้อป กิน เที่ยว' มากกว่า

คนไทยเป็นโสดกันมากขึ้น จากจำนวนการแต่งงานที่ลดลงและการหย่าร้างที่เพิ่มขึ้น

อีไอซีได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลการจดทะเบียนสมรสและจดทะเบียนหย่าของกรมการปกครองพบว่า จำนวนการจดทะเบียนสมรสของคนไทยลดลงจาก 3.13 แสนในปี 2550 มาอยู่ที่ 2.98 แสนในปี 2560 (ลดลง 5.1%) สวนทางกับจำนวนการจดทะเบียนหย่าที่เพิ่มขึ้นจาก 1.02 แสน มาเป็น 1.22 แสน (เพิ่มขึ้น 19.7%) ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยเมื่อพิจารณาแยกตามภูมิภาคพบว่า การจดทะเบียนสมรสที่ลดลงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ ใต้ อีสาน แต่กลับเพิ่มขึ้นในกรุงเทพมหานครและภาคกลาง ส่วนการจดทะเบียนหย่านั้นมีการเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาค ทั้งนี้ในช่วงระหว่างปี 2550 ถึง 2560 ไทยมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นราว 3 ล้านคน การแต่งงานที่ลดลงและการหย่าร้างที่เพิ่มขึ้นจึงหมายถึงจำนวนคนโสดที่มากขึ้น ทั้งนี้เมื่อพิจารณาข้อมูลด้านการใช้จ่ายและสินทรัพย์พบว่า พฤติกรรมการใช้จ่ายของคนโสดและคนมีครอบครัวมีความแตกต่างกันในหลายด้าน

คนโสดใช้จ่ายเพื่อการบริโภคมากกว่า แต่มีทรัพย์สินน้อยกว่า

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ณ ปี 2561 คนโสด (นับเฉพาะคนที่อายุเกิน 20 ปีซึ่งเป็นเกณฑ์อายุที่สามารถจดทะเบียนสมรสได้ตามกฎหมายและนับรวมคนที่หย่าแล้ว) มีรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่อหัวมากกว่าคนมีครอบครัวเฉลี่ยประมาณ 11โดยคนโสดมีสัดส่วนรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่อรายได้ที่สูงกว่าเล็กน้อย แต่คนมีครอบครัวจะมีสัดส่วนรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ที่สูงกว่า สอดคล้องกับข้อมูลด้านสินทรัพย์ ได้แก่ บ้านและรถ ที่พบว่า คนโสดมีสัดส่วนความเป็นเจ้าของบ้านและรถน้อยกว่าคนมีครอบครัวในทุกระดับอายุ เช่น ในช่วงอายุ 31-35 ปี มีคนโสดเพียง 18ที่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ขณะที่คนมีครอบครัวในช่วงเดียวกันมีสัดส่วนความเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 51% เป็นต้น สะท้อนถึงการที่คนโสดอาจมีความจำเป็นในการมีบ้าน-รถที่น้อยกว่า อย่างไรก็ดี เมื่ออายุมากขึ้นสัดส่วนความเป็นเจ้าของทั้งบ้านและรถจะเพิ่มขึ้นในทั้งสองกลุ่ม ทั้งนี้เมื่อพิจารณารายจ่ายรวมทั้งเพื่อการบริโภคและรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้แล้ว จะพบว่า สัดส่วนภาระรายจ่ายของคนมีครอบครัวจะสูงกว่าคนโสด

คนโสดใช้จ่ายมากกว่าด้านการทานอาหารนอกบ้าน และด้านการท่องเที่ยว

เมื่อพิจารณารายจ่ายต่อหัวตามประเภทการใช้จ่ายจะพบความแตกต่างระหว่างคนโสดและคนมีครอบครัว ดังนี้

  • รายจ่ายด้านอาหาร คนโสดมีการใช้จ่ายที่มากกว่าในด้านอาหารราว 12เพราะคนโสดจะทานอาหารนอกบ้านมากกว่า โดยรายจ่ายค่าทานอาหารนอกบ้านคิดเป็นถึงครึ่งหนึ่งของรายจ่ายด้านอาหารทั้งหมด ขณะที่ คนมีครอบครัวใช้จ่ายเพื่อการทานข้าวนอกบ้านเพียงแค่ 1 ใน 3 ของรายจ่ายด้านอาหารทั้งหมด
  • รายจ่ายด้านการเดินทาง : ในส่วนของค่าน้ำมันรถนั้น เมื่อนับเฉพาะคนที่มีรถเป็นของตนเองพบว่า คนโสดจ่ายค่าน้ำมันต่อคนสูงกว่าคนมีครอบครัว 4% ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะคนมีครอบครัวสามารถใช้รถร่วมกันจึงมีแนวโน้มแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ระหว่างกันได้ นอกจากนี้ ในส่วนของค่าเดินทางสาธารณะ คนโสดก็ใช้จ่ายสูงกว่าเช่นกัน โดยมีรายจ่ายในส่วนนี้สูงกว่าคนมีครอบครัวถึง 42%
  • รายจ่ายด้านการท่องเที่ยวและความบันเทิง คนโสดมีการใช้จ่ายต่อหัวด้านการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศสูงกว่าคนมีครอบครัวค่อนข้างมากถึง 40สำหรับรายจ่ายด้านกิจกรรมความบันเทิงอื่น ๆ เช่น ดูหนัง เลี้ยงสัตว์ กิจกรรมทางศาสนา ฯลฯ คนโสดเองก็มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าประมาณ 5%
  • รายจ่ายด้านสุขภาพ ซึ่งรวมถึงค่าซื้อยา ค่าตรวจสุขภาพในด้านต่าง ๆ ค่าโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายเพื่อเสริมสุขภาพ ฯลฯ คนมีครอบครัวจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้สูงกว่าในทุกระดับอายุถึงประมาณ 48สะท้อนทั้งในเรื่องของความใส่ใจสุขภาพของ คนมีครอบครัวที่น่าจะมากกว่าและการมีค่าใช้จ่ายที่มีเฉพาะสำหรับคนมีครอบครัว เช่น ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของลูก เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก Economic Intelligence Center

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...