ในปี 2565 เรียกได้ว่าเป็นปีที่สินทรัพย์ดิจิทัลและคริปโทฯ เข้าสู่ตลาดหมีโดยสมบูรณ์ โดยเหรียญตัวแม่อย่าง Bitcoin ปรับตัวลดลงกว่า 77% นับตั้งแต่จุดสูงสุด (All Time High) ที่ราคา 68,000$ ต่อเหรียญ หรือแม้กระทั่ง Sand และ Mana โทเคนประจำแพลตฟอร์มโลกเสมือนตัวท็อปแห่งวงการ ที่อนาคตก็ยังไม่รู้ว่าจะสามารถสร้างการใช้งานจริง (Use Case) ได้จริงหรือไม่ โดยหากเรามองย้อนกลับไปนับตั้งแต่การเกิดขึ้นของแพลตฟอร์มโลกเสมือน ผู้คนอาจจะยังมีคำถามและข้อสงสัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเหล่านี้อยู่ วันนี้ทีมงาน Techsauce จะพาไปวิเคราะห์เทรนด์ของ Metaverse ผ่านทฤษฎี Product Life Cycle
Product Life Cycle คือ กระบวนการที่ผลิตภัณฑ์หรือแพลตฟอร์มเข้าสู่ตลาด จนถึงขั้นตอนออกสู่ตลาด ประกอบด้วย 4 ช่วงเวลาด้วยกัน ดังนี้
แนะนำ (Introduction) - หลังจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือแพลตฟอร์มมาสักระยะ ในช่วงนี้ผู้พัฒนาจะผลักดันผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ผู้ใช้งานอาจจะยังเกิดคำถามและมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานของผลิตภัณฑ์หรือฟีเจอร์ต่าง ๆ อยู่ ณ ช่วงระยะเวลานี้
เติบโต (Growth) - ในระยะเวลานี้ เป็นช่วงที่ผลิตภัณฑ์หรือแพลตฟอร์มเข้าสู่ช่วงเติบโต โดยผู้ใช้งานได้เข้าถึงผลิตภัณฑ์มาสักระยะแล้ว และมีความคุ้นชินกับการใช้งาน ทำให้บริษัทฯสามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาล
อิ่มตัว (Maturity) - ช่วงเวลาที่ผลิตภัณฑ์หรือแพลตฟอร์มเข้าสู่ช่วงเติบโตเต็มที่และเกิดสัญญาณชะลอตัว ทำให้ความสนใจและความต้องการของผู้ใช้งานลดลง
ถดถอย (Decline) - หลังจากผ่านพ้นช่วงจุดอิ่มตัวแล้ว ผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์หรือแพลตฟอร์มพยายามรักษาการเติบโตให้ได้นานที่สุด แต่ไม่อาจหลีกเลี่ยงช่วงเวลาถดถอยได้ ทำให้ความสนใจและความต้องการลดลงเป็นอย่างมาก จนกระทั่งต้องออกจากตลาดในที่สุด
หลังจากเราคุ้นชินกับทฤษฎี Product Life Cycle กันแล้ว ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ณ ปัจจุบัน โลกเสมือน (Metaverse) ยังอยู่ในช่วง Introduction เนื่องจากเทคโนโลยีบล็อกเชนยังเป็นสิ่งใหม่ที่ผู้คนกำลังทำการศึกษาและนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดการใช้งานจริงกับภาคธุรกิจ อีกทั้ง ผู้คนส่วนใหญ่อาจยังไม่มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชนมากนัก ทำให้แพลตฟอร์มโลกเสมือนยังต้องอาศัยบทพิสูจน์อีกหลายอย่าง เช่น การทำให้บล็อกเชนสามารถผนวกกับ DApp ได้อย่างราบรื่น หรือการเนรมิตโลกเสมือนให้สามารถเชื่อมโยงกับผู้คนหลังจอให้ได้มากที่สุด
Bitkub Metaverse เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มตัวเต็งฝีมือคนไทย ที่สามารถเนรมิตกราฟิกและแอนิเมชันได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ทั้งนี้ เรามาส่องแผนงานปี 2566 ของ Bitkub Metaverse แพลตฟอร์มโลกเสมือนตัวท็อปแห่งประเทศไทย ว่าจะสร้างฟีเจอร์และ Decentralized Application (DApp) อะไรให้เราได้โลดแล่นบนโลกเสมือนแห่งนี้บ้าง
ไตรมาส 2 ปี 2566 (Open Beta #New Planet)
Land Sale
Character Customization
Environment Interactive
In-Game Advertisement
Infrastructure Sale
Farming System Phase 1
Chat & Emo
Game Shop
ไตรมาส 4 ปี 2566 (EP.02 #Rabbitian Saga)
Mini-game #1
Dungeon 100 Floor (RPG)
Vehicle Shop
New 2 Zone
New Item, New Farming
ทั้งนี้ แผนงานปี 2566 ของ Bitkub Metaverse เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งและจุดเริ่มต้นแพลตฟอร์มโลกเสมือน ที่มีความแตกต่างและพิเศษกว่าเดิม เนื่องจากทำงานอยู่บนบิทคับเชน เครือข่ายบล็อกเชนชั้นนำของประเทศไทย และมีผู้พัฒนาด้านแอนิเมชันอย่าง The Monk Studio ที่จะช่วยเติมเต็มความสมบูรณ์ในโลกแห่งจินตนาการ
ข้อมูลอ้างอิงจาก
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด