ส่องประวัติทีมผู้ก่อตั้ง Alibaba ที่ไม่ได้มีแค่ 'แจ็ค หม่า' | Techsauce

ส่องประวัติทีมผู้ก่อตั้ง Alibaba ที่ไม่ได้มีแค่ 'แจ็ค หม่า'

'แจ็ค หม่า' ถือเป็นหน้าเป็นตาของอาลีบาบา (Alibaba) แต่หากลองมองให้ลึกลงไปจะเห็นว่านอกจากเขาแล้วยังมีบุคคลสำคัญผู้ร่วมก่อตั้งอีก 17 คน ที่ร่วมเดินเคียงบ่าเคียงไหล่กับเขามาตั้งแต่ก่อตั้งอาลีบาบาเมื่อปี 2542 คำถามที่ตามมาหลังจากนี้ก็คือ "แล้วพวกเขาคือใครกันบ้าง?"

เมื่อเร็วๆ นี้ Jack Ma (แจ็ค หม่า) ได้ประกาศลาออกจาก Alibaba Group หลังจากนำพาอาณาจักรนี้ก้าวสู่ความสำเร็จมานานกว่า 19 ปี ปัจจุบันเขาเป็นชายผู้มีอายุ 54 ปี อันมากไปด้วยความสำเร็จที่เริ่มจากอพาร์ทเม้นท์เล็ก ๆ สู่การเป็นอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ที่มีมูลค่ากว่า 420 พันล้านเหรียญ พร้อมกับการประกาศแต่งตั้ง Daniel Zhang (แดเนียล จาง) เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งประธานบริหารของอาลีบาบากรุ๊ปแทน


อ่านประกอบ


'แจ็ค หม่า' ถือเป็นหน้าเป็นตาของอาลีบาบา แต่หากลองมองให้ลึกลงไปจะเห็นว่านอกจากเขาแล้วยังมีบุคคลสำคัญผู้ร่วมก่อตั้งอีก 17 คน ที่ร่วมเดินเคียงบ่าเคียงไหล่กับเขามาตั้งแต่ Alibaba ก่อตั้งเมื่อปี 2542 คำถามที่ตามมาหลังจากนี้ก็คือ "แล้วพวกเขาคือใครกันบ้าง?"

จากการศึกษาข้อมูลพบว่า มีข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจเกี่ยวกับสายอาชีพของกลุ่มผู้ก่อตั้ง พวกเขาไม่ได้จบการศึกษาจากสาขาวิชาใกล้เคียงกัน เช่น การสื่อสารมวลชน, วาณิชธนกิจ (การธนาคารเพื่อการลงทุน), การพัฒนาเว็บไซต์, การศึกษาศาสตร์ และอีกหลากหลายสาขาวิชา

ความสัมพันธ์ระหว่างแจ็ค หม่า และผู้ก่อตั้งมาจากหลายช่องทางด้วยกัน อาทิ อดีตเพื่อนร่วมมหาวิทยาลัย, อดีตเพื่อนร่วมงาน, อดีตนักศึกษา (ช่วงที่เขาเป็นวิทยากร) และกลุ่มบุคคลผู้มีจิตศรัทธาต่อวิสัยทัศน์ของแจ็ค หม่า ในบรรดา 18 ผู้ก่อตั้งอาลีบาบานี้ มี 3 คู่ในกลุ่มสมาชิกที่น่าสนใจ คือ Jack Ma และ Cathy Zhang, Shi Yu Feng และ Jin Yuanying, Toto Sun และ Lucy Peng

ในบรรดาผู้ร่วมก่อตั้งทั้ง 18 รายนั้น มีผู้หญิง 6 คน ที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง เช่น Lucy Peng ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นซีอีโอของ Lazada เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ที่ผ่านมา นอกเหนือจากนี้ผู้ก่อตั้งเกือบทั้งหมดล้วนมีบทบาทสำคัญในการบริหารอาลีบาบากรุ๊ป และบริษัทในเครือ

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อมูลเชิงลึกของผู้ร่วมก่อตั้งแต่ละคนที่น่าติดตาม เช่น ภูมิหลัง และความสัมพันธ์ของพวกเขากับแจ็ค หม่า ดังนี้

Jack Ma (แจ็ค หม่า)

  • แจ็ค หม่า เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2507 ที่เมืองหางโจว ประเทศจีน  ในปี 2531 ได้สำเร็จการศึกษาระดับภาษาอังกฤษจากสถาบันครูของหางโจว จากนั้นเขาได้กลายเป็นวิทยากรด้านการค้าระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัยหางโจว ไดอานี (Hangzhou Dianzi University)
  • ต่อมาเขาได้ก่อตั้ง China Yellow Pages (CYP) ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจทางอินเตอร์เน็ตแห่งแรกของจีน มากไปกว่านั้นแจ็ค หม่า ยังเป็นผู้บริหารการจัดการบริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับกระทรวงการค้าทั้งในและนอกประเทศของจีนอีกด้วย
  • ในปี 2542 เขาเริ่มการประชุมกับผู้ร่วมก่อตั้งอีก 17 คน ในอพาร์ทเม้นต์ของเขาเพื่อร่วมวางกลยุทธิ์พัฒนาธุรกิจอีคอมเมิร์ซแห่งแรก หรือปัจจุบันก็คืออาณาจักรอาลีบาบาอันเลื่องชื่อในปัจจุบัน
  • ปัจจุบัน แจ็ค หม่า เป็นทั้ง CEO และประธานบริหารของอาลีบาบากรุ๊ปซึ่งเป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดมาตั้งแต่ปีแรกของการก่อตั้ง อาลีบาบามีจำนวนผู้ใช้บริการทางโทรศัพท์ประมาณ 617 ล้านคนต่อเดือน และผู้ใช้งาน 552 ล้านคน ในตลาดค้าปลีกของจีน (Tmall.com และ Taobao)
  • ปัจจุบัน แจ็ค หม่า มีอายุ 54 ปี เขาได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานบริษัทอาลีบาบากรุ๊ปภายใน 1 ปี เพื่อทุ่มเทกับการให้คำปรึกษาและคอยสนับสนุนแดเนียล จาง ผู้ที่จะเข้ามาสืบทอดตำแหน่งต่อจากเขา

Jin Jianhang (จิน เจียงฮาง)

  • จิน เจียงฮาง เป็นนักเรียนหัวกะทิที่มีผลงานยอดเยี่ยมจาก Fudan Journalism School และเคยทำงานที่สื่อมีเดียชื่อดังของจีนมากมาย อาทิ Zhejiang Daily และ Intl. Business Daily
  • การพบกันครั้งแรกของ จิน เจียงฮาง และแจ็ค หม่า เกิดขึ้นระหว่างการสัมภาษณ์เกี่ยวกับ China Yellow Pages ด้วยความที่เขาเป็นนักข่าวสายธุรกิจทำให้มีโอกาสได้พบกันหลายครั้งในช่วงที่แจ็ค หม่า ขึ้นเป็นประธานของ Ministry of Foreign Trade and Economic Co-operation (MOFTEC) ของ EDI Centre หรือปัจจุบันรู้จักกันในชื่อกระทรวงพาณิชย์ของประเทศจีน ซึ่งแจ็ค หม่า ได้เสนอตำแหน่งหัวหน้ากองบรรณาธิการให้เขา
  • ต่อมาในปี 2542 แจ็ค หม่า ได้เริ่มก่อตั้งอาลีบาบากรุ๊ปร่วมกับกลุ่มเพื่อนและคนที่ไว้วางใจอีก 17 คน ซึ่งรวมไปถึง จิน เจียงฮาง ด้วย

Joseph Tsai (โจเซฟ ไซ)

  • โจเซฟ ไซ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ และด้านกฎหมาย ก่อนพบกับแจ็ค หม่า เขาเป็นนายธนาคารลงทุนที่มีรายได้ประมาณ 700,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี
  • ด้วยแรงบันดาลใจจากความสามารถและความคิดของแจ็คเกี่ยวกับอาลีบาบา ทำให้เขากล้าที่จะทิ้งรายได้จากงานปัจจุบันสู่การเข้าร่วมเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งในปี 2542 ด้วยรายได้ 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน
  • ปัจจุบัน โจเซฟ ไซ เป็นรองประธานบริหาร, ผู้ร่วมก่อตั้งของอาลีบาบากรุ๊ป และยังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับสองของบริษัทรองจากแจ็ค หม่า

Lucy Peng (ลูซี เปิง)

  • ลูซี เปิง มีพื้นฐานด้านการศึกษาคล้ายคลึงกับแจ็ค หม่า เธอเริ่มต้นอาชีพด้วยการเป็นอาจารย์ด้านการเงินและเศรษฐศาสตร์ของ Zhejiang University ต่อมาได้แต่งงานกับ Sun Tongyu ในปี 2540
  • เธอเลิกเป็นอาจารย์ในปี 2542 เพื่อร่วมสนับสนุนสามีของเธอด้วยการเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งอาลีบาบา
  • เธอเพิ่งได้รับตำแหน่ง CEO ของ Lazada ภายหลังจากที่อาลีบาบาร่วมลงทุนใน Lazada มากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

Cathy Zhang (เคธี่ จาง)

  • เคธี่ จาง พบกับแจ็ค หม่า ครั้งแรกที่ Hangzhou Teacher’s Institute หลังจากจบการศึกษาได้ไม่นานพวกเขาได้ตัดสินใจแต่งงานกัน
  • ในปี 2542 แจ็ค หม่า ได้เผยแผนการของเขาที่มีต่ออาลีบาบากับเธอร่วมกับผู้ก่อตั้งคนอื่น ๆ
  • เคธี่ จาง เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ก่อตั้งอาลีบาบา แต่ปัจจุบันเธอผันตัวเป็นแม่และภรรยาที่ดีให้กับครอบครัว

Eddie Wu (เอ็ดดี้ วู)

  • เอ็ดดี้ วู จบการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จาก Zhejiang University of Technology ในปี 2539 ต่อมาได้ร่วมงานกับ China Yellow Pages
  • ในปี 2540 เขาได้ติดตามแจ็ค หม่า ไปกรุงปักกิ่งและได้มีโอกาสช่วยเขาจัดการเว็บไซต์ของ MOFTEC
  • เดินตามแจ็ค หม่า ด้วยการเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งอาลีบาบา พ่วงท้ายด้วยตำแหน่งโปรแกรมเมอร์คนแรกของอาลีบาบากรุ๊ป

James Sheng (เจมส์ เฉิ่ง)

  • เจมส์ เฉิ่ง ได้เรียนรู้ศิลปะดั้งเดิมมาตั้งแต่อายุยังน้อย เขานำการออกแบบที่ชื่นชอบมาปรับใช้ในเชิงพาณิชย์ เขาเริ่มคุ้นเคยกับแจ็ค หม่า ช่วงที่บริษัทของเขาได้รับการว่าจ้างให้ออกแบบเว็บไซต์ของ China Yellow Page
  • เขาได้เข้าร่วมการประชุมที่อพาร์ทเม้นท์ของแจ็ค หม่า และกลายเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งเมื่อปี 2542
  • ปัจจุบัน เจมส์ เฉิ่ง เป็นผู้ออกแบบโลโก้รูปรอยยิ้ม, ผู้ร่วมก่อตั้ง และยังเป็นรองประธานอาวุโสของอาลีบาบาอีกด้วย

Lou Wensheng (โหลว เหวินเชิง)

  • โหลว เหวินเชิง และแจ็ค หม่า จบการศึกษาที่เดียวกันคือ Hangzhou Teacher's Institute ภายหลังพวกเขาได้ร่วมงานกัน
  • เขาตัดสินใจร่วมงานกับ China Yellow Pages ทันทีที่เห็นแจ็ค หม่า โปรโมทบริษัทผ่านสารคดีเรื่อง Oriental Horizon TV ในปี 2538

Simon Xie (ไซม่อน เซีย)

  • ไซม่อน เซีย จบการศึกษาสาขาการจัดการด้านการเงินจาก Shenyang University of Technology ต่อมาได้ทำงานให้กับ China National Air Separation Engineering Co., Ltd. ด้วยความสนใจด้านคอมพิวเตอร์ เขาได้พัฒนาทักษะพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับงานของเขา
  • ปี พ.2539 เป็นปีที่เขาและแจ็ค หม่า ได้พบกันครั้งแรกที่ China Yellow Pages ด้วยบุคลิกภาพเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครของแจ็ค หม่า ทำให้เขาตัดสินใจร่วมเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งอาลีบาบา แม้จะต้องทิ้งรายได้จำนวนมากจากงานด้านการเงินของเขาก็ตาม

Jin Yuanying (จิน หยวนหยิง)

  • จิน หยวนหยิง เป็นนักเรียนของแจ็ค หม่า จาก Hangzhou Dianzi University
  • ภายหลังได้รับการสนับสนุนจาก Jane Jiang และ Han Min ให้เข้าร่วมกับอาลีบาบา

Zhou Yuehong (โจว เยว่ฮง)

  • โจว เยว่ฮง เป็นโปรแกรมเมอร์ภาษา Java เจอแจ็ค หม่า ครั้งแรกที่ Hangzhou Dianzi University
  • ด้วยความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เขาได้พัฒนาโค้ดหลักของขอบข่ายงาน MVC – WebX ซึ่งเป็นโค้ดหลักแรกของ Taobao

Shi Yufeng (ชิ ยูเฟิ่ง)

  • ในปี 2542 ชิ ยูเฟิ่ง ทำงานที่ Central Weather Bureau ด้วยความสนใจด้านเทคโนโลยีทำให้เขาตัดสินใจเข้าร่วมกับอาลีบาบาในภายหลัง
  • เอ็ดดี้ วู เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งอาลีบาบา เขาเป็นผู้เห็นการมีตัวตนของชิ ยูเฟิ่ง ในโลกอินเตอร์เน็ต และด้วยความชื่นชอบที่เหมือนกันทำให้ เอ็ดดี้ วู แนะนำชิ ยูเฟิ่งกับแจ็ค หม่า จากนั้นเขาก็ตัดสินใจเข้าร่วมกับอาลีบาบา

อ้างอิงข้อมูลจาก iPrice ประเทศไทย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...