หากมองยอดขายปลีกออนไลน์ประมาณ 1 พัน 5 ร้อยล้านยูเอสในปัจจุบัน และมียอดขายการเติบโตร้อยละ 19 ต่อปี ในภูมิภาคอาเซียน คาดว่า ecommerce ในภูมิภาคจะสามารถเติบโตขึ้นอีก
Source: aCommerce
นอกจากโอกาสของ ecommerce ในอาเซียนแล้ว ยังมีบางตลาดที่มีลักษณะเฉพาะที่ผู้เชี่ยวชาญควรที่จะตระหนักก่อนที่จะตั้งกิจการเกี่ยวกับ ecommerce เป็นของตัวเอง การเข้าใจลักษณะเฉพาะและอุปสรรคเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของการพยายามก่อตั้งธุรกิจในอนาคต
ดังนั้นบริษัทจะสามารถเริ่มและก่อตั้งธุรกิจแบบ ecommerce ที่ประสบความสำเร็จได้อย่างไร? และสถานที่แบบไหนที่ควรจะออกไปสำรวจก่อนที่จะเริ่มต้นธุรกิจแบบ ecommerce ?
หวังว่ารายการต่อไปนี้จะช่วยถามคำถามที่ถูกต้องและกระตุ้นการริเริ่มธุรกิจที่เหมาะสม
เรามาดูหลักการเบื้องต้นแบบเจาะลึกกันดีกว่า
มันสำคัญมากที่ต้องมีแผนธุรกิจที่แข็งแรงที่สามารถกำหนดกลยุทธ์ การตลาด งบประมาณ เป้าหมายของรายได้ การตัดสินใจซื้อธุรกิจและการก่อตั้งธุรกิจ ถ้าหากไม่มีการวางแผนทางธุรกิจที่เหมาะสม บริษัทจะต้องดิ้นรนกับการที่จะต้องโน้มน้าวผู้ถือหุ้นทั้งภายในและภายนอกเพื่อที่จะเข้าซื้อหุ้นในแผนธุรกิจแบบ ecommerce
ฉันเคยทำงานกับแบรนด์ที่ระบุว่าต้องการให้ 20% ของยอดขายทั้งหมดมาจาก ecommerce ภายในปี 2020 สิ่งนี้เป็นเป้าหมายที่ท้าทายอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากข้อมูลที่ว่าตลาด e-commerce ในภูมิภาค ASEAN คิดเป็นสัดส่วนแค่ 1% ของตลาดค้าปลีก แต่แผนนี้มันก็ยังเป็นไปได้เมื่อดูจากการเติบโตของตลาด
ถ้าบุคลากรภายในบริษัทขาดความรู้ในการพัฒนาแผนธุรกิจ ก็มีตัวช่วยคือไปจ้างบริษัทที่ปรึกษา แต่ก่อนที่จะไปเสียเงินแพงๆจ้างบริษัทฯ จงระลึกไว้ว่าบริษัทผู้ให้บริการ e-commerce จะต้องสามารถให้คำปรึกษาและทำงานภาคสนามทั้งหมดแทนเราได้
ถ้าคุณตั้งใจจะร่างแผนธุรกิจด้วยตัวเอง จงเผื่อเวลามากๆไว้ทำการวิจัยตลาดก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน
หนึ่งสิ่งที่ทุกคนมักจะละเลยเมื่อเข้าไปทำธุรกิจ e-commerce คือควรจะดึงดูดคนที่มีศักยภาพเอาไว้อย่างไร บริษัทส่วนใหญ่จะใช้สตาฟที่ยังคงทำงานอยุ่ในบริษัทเพื่อควบคุมแผนกการขายออนไลน์หรืองานที่หนักกว่า และจะให้งานที่ล้นมือกับสตาฟตำแหน่งสูงๆรับผิดชอบ
การเข้าไปทำธุรกิจ ecommerce ต้องใช้ความพยายามและความตั้งใจเป็นอย่างมาก ฉะนั้นก้าวแรกของบริษัทจึงต้องแข็งแรง ถ้าคุณวางแผนที่จะใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาจจะเสี่ยงถึงขั้นที่ลูกจ้างของคุณอาจจะไม่พอใจจนถึงขั้นลาออกเลยก็เป็นได้
การทำธุรกิจแบบ ecommerce ค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่ในอาเซียน ดังนั้นจึงขาดผู้เชี่ยวชาญทางการตลาดในระบบ e-commerce เหตุผลนี้เองจึงทำให้ตำแหน่งงานของการทำธุรกิจแบบ e-commerce ดูสูงขึ้น และเงินเดือนเฟ้อขึ้นเพราะการที่จะหารองประธานบริษัทหรือกรรมการบริษัทที่มีประสบการณ์ประมาณ 2-3 ปีและอายุน้อยกว่า 30 ปีนั้น เป็นเรื่องที่ยากมาก
มี CEO ท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า เขาไม่สนใจว่าจะต้องเสียเงินมากเท่าไหร่ที่จะสามารถดึงดูดเด็กรุ่นใหม่เข้ามาทำงาน เขาเห็นด้วยในบางกรณี แต่ในบางครั้ง ประธานบริษัท หัวหน้าและกรรมการบริษัทมักจะเปรียบเทียบตัวเองกับคนที่ทำงานตำแหน่งเดียวกันในโลกธุรกิจและจะเรียกร้องขอเงินเดือนเพิ่ม
ในสภาพแวดล้อมของธุรกิจของการทำการตลาดระหว่างธุรกิจกับธุรกิจแบบดั้งเดิม ชื่อตำแหน่งไม่ได้ได้มาง่ายๆ ซึ่งสามารถอธิบายได้เลยว่า ทำไมอายุเฉลี่ยของกรรมการบริษัทมักจะอายุมากกว่าคลื่นลูกใหม่ในสายงานเดียวกันถึง 10 ปี แต่จงตระหนักไว้ว่าประสบการณ์นั้นได้มาแตกต่างกัน ฉันไม่รู้ว่าฉันสัมภาษณ์กรรมการบริษัทและผู้จัดการฝ่ายบัญชีมากี่ครั้งที่ยังไม่รู้ถึงความ แตกต่างระหว่าง รายได้ อัตรากำไรขั้นต้น กำไรขาดทุน ก่อนต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้ อย่าคิดว่าคนที่มีตำแหน่งสูงจะรู้ลึกในด้านนั้นๆ
การรวมกลุ่มของคนที่มีความสามารถทางด้านการทำธุรกิจ e-commerce คือการสร้างหนุ่มสาวไฟแรง กูเกิ้ลได้ให้ความหมายของคำนี้ว่า “เป็นกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 18-34 ปีในช่วงศตวรรษที่ 21” พวกเขาเติบโตมาในสังคมที่ต้องแข่งขันและต้องเข้าสังคมซึ่งเราสามารถเห็นหลักฐานได้จากเรซูเม่ของพวกเขา หนุ่มสาวไฟแรงพวกนี้มักจะอยู่กับบริษัทไม่ถึงปีก็จะออกไปหางานใหม่
การรวมกลุ่มของคนที่มีความสามารถทางด้านการทำธุรกิจ e-commerce คือการสร้างหนุ่มสาวไฟแรง กูเกิ้ลได้ให้ความหมายของคำนี้ว่า “เป็นกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 18-34 ปีในช่วงศตวรรษที่ 21” พวกเขาเติบโตมาในสังคมที่ต้องแข่งขันและต้องเข้าสังคมซึ่งเราสามารถเห็นหลักฐานได้จากเรซูเม่ของพวกเขา หนุ่มสาวไฟแรงพวกนี้มักจะอยู่กับบริษัทไม่ถึงปีก็จะออกไปหางานใหม่
ความพอใจในสถานที่ทำงานคือการที่มีงานเจ๋งๆทำ ลำดับขั้นทางตำแหน่งงานในบริษัทน้อย และมีความบาลานซ์ระหว่างชีวิตจริงกับการทำงาน ลิ้งค์นี้นำเสนอความคิดเห็นบางอย่างที่น่าสนใจของหนุ่มสาวไฟแรงพวกนี้
ดังนั้นการรวมตัวหนุ่มสาวไฟแรงให้เข้ามาทำงานในบริษัทอาจจะเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่อย่างแรกเลยควรจะตัดสินใจก่อนว่าเป็นไปได้ไหมที่ปั้นคนเก่าในบริษัทให้เป็นดาวดีกว่าที่จะรับคนใหม่เข้ามา
คุณมีผลิตภัณฑ์ดีๆ ที่อยากจะขายออนไลน์ไหม ดีมาก คำถามก็คือต่อไปคุณจะใช้ช่องทางใดในการขาย ถ้าคุณมีแบรนด์ที่จดจำง่าย คุณอาจจะขายผ่านเว็บ brand.com ที่เดียวก็ได้ ข้อดีคือไม่ต้องจ่ายค่าตลาด และคุณสามารถควบคุมภาพที่ออกไปและสามารถนำข้อมูลลูกค้ามาประกอบการตัดสินใจต่อไปได้
ต่อไปคือ traffic ในเว็บของท่านจะสามารถเป็น ยอดขายที่เกิดขึ้นบน platform มากเพียงพอได้หรือไม่ ในหลายๆ กรณีเราพบว่าแบรนด์ต่างๆ เลือกที่จะทำการขายผ่านหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นแอพแชท ตลาดออนไลน์ เว็บเทียบราคาหรือดีล สื่อสังคมออนไลน์เป็นต้นเพื่อเพิ่มยอดขาย แต่บริษัทมีงบประมาณจำกัดและต้องเลือกใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงมีแพลตฟอร์มที่นิยมใช้ในอาเซียนจำนวนหนึ่ง
การจะเลือกกลยุทธ์การตลาดนั้นไม่ใช่แค่การตัดสินใจง่ายๆ เช่น ฉันอยากจะขายใน Lazada เท่านั้น เพราะถ้าคุณใช้ช่องทางเพียงช่องเดียวคุณก็จะเสียโอกาสในการขายผ่านช่องทางอื่นๆ ไป ควรประเมินอัตราช่องทางการขายกับอัตราส่วนของยอดขายที่เกิดขึ้นบน platform และเริ่มจากการใช้ช่องทางที่มีความนิยมสูงสุดก่อนจะขยับขยายต่อไป
การเชื่อมต่อผ่านช่องทางการเชื่อมต่อระหว่างเว็บไซต์หนึ่งไปยังอีกเว็บไซต์หนึ่งถึงตลาดออนไลน์เป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถทำได้ แต่ยังมีอีกหลายช่องทางที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการแบรนด์ออนไลน์ อะไรที่ acommerce หมายถึง “การค้าแบรนด์”
- การจัดการร้านค้า
- การจัดการจำนวนสิ่งของ
- กลยุทธ์ด้านราคา
- การจัดการเรื่องโปรโมชั่น
- การจัดการรายการสิ่งของ
- การรายงานและการกรองข้อมูลเชิงธุรกิจ
- การจัดการการตลาด
การจัดการร้านค้าเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับทุกๆแบรนด์ ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์แบบ world class ที่ขายอยู่ในตลาดออนไลน์ ถ้าผู้จัดการร้านค้าสุ่มเลือกรูปภาพผลิตภัณฑ์และบรรยายใต้ภาพด้วยคำบรรยายแบบธรรมดา ผู้ซื้อที่สนใจสินค้าจะสับสนได้ว่าเป็นสินค้าที่น่าเชื่อถือหรือไม่หรืออาจจะมีปัญหาในการหาข้อมูลสินค้าเพราะคำสำคัญในการหาสินค้าชนิดนั้นๆหายไป ผลกระทบทางลบต่อคุณค่าของแบรนด์ก็เป็นหนึ่งในการพิจารณาในการจัดการร้านเช่นกัน
การมีกลยุทธ์ห่วงโซ่อุปทานที่ดีนั้นนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ยากเพราะเป็นกลยุทธ์ที่ต้องการความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
acommerce เผชิญหน้ากับแบรนด์ที่กำลังจะขับเคลื่อนกลยุทธ์การแจกจ่ายจากส่วนกลางจากสิงคโปร์ไปสู่ตลาดอื่นๆในอาเซียน มันได้ผลเมื่อสั่งสินค้าจำนวนน้อยแต่ไม่กระทบกับประเทศนั้นๆ เหตุผลหลักก็คือลูกค้าในประเทศอินโดนีเซียต้องรอสินค้าเป็นอาทิตย์ และไม่สามารถได้รับข้อเสนอให้จ่ายเงินปลายทางได้ และยังต้องจ่ายประมาณ 7 ดอลล่าร์ ต่อการส่งสินค้าในแต่ละครั้ง
นี่ทำให้ความต้องการในการซื้อของประเทศอินโดนีเซียลดลงและจะไม่เห็นผู้คนสั่งสินค้ามากกว่า 100 รายการต่อเดือนภายในประเทศนี้ ลูกค้าของเราตัดสินใจที่จะเปลี่ยนโครงสร้างและนำวิธีแบบบ้านๆมาใช้ ซึ่งตอนนี้เราเห็นคนอินโดสั่งสินค้าประมาณ 1200 รายการซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากมากในโครงสร้างส่วนกลาง
แต่ในความเป็นจริงมันไม่มีสูตรตายตัวว่า บริษัทควรจะต้องดำเนินธุรกิจแบบภูมิภาค แบบธรรมดาหรือแบบเจาะจง ธุรกิจนึงจะต้องคำนึงถึงหลักการต่อไปนี้ก่อนที่จะตัดสินใจ
การเข้ามาทำธุรกิจ ecommerce บริษัทจะต้องประเมินระบบการจัดการการสั่งของ ระบบการจัดการโกดัง และระบบการจัดการการขนส่งของตนเองก่อน คำถามที่จำเป็นต้องถามคือ
การตัดราคาเป็นเรื่องที่ลำบากมาก ถ้าในปัจจุบันการดำเนินการทางธุรกิจแบบ B2B ต้องการผู้ประกอบการทางธุรกิจประมาณ 20 คน ห่อที่นอนฟางประมาณ 1000 ชิ้นต่อเดือน และมันอาจจะต้องการผู้ประกอบการทางธุรกิจประมาณ 100 คนเพื่อที่จะแพ็คปริมาณสินค้าที่มีขนาดเท่ากัน ตั้งแต่ปริมาณออเดอร์ของ B2C มีอยู่ในระดับต้องบรรจุเข้าไปในหีบห่อ
ถ้าราคาประมาณ 100 ดอลล่าร์ ต่อใบประกอบการธุรกิจหนึ่งใบ คุณอาจจะต้องจ่าย 10000 ดอลล่าร์ ในโมเดลธุรกิจ B2C แบบใหม่ กับ 2000 ดอลล่าร์ ในโมเดล B2B โดยเป้าหมายหลักก็คือเพื่อที่จะเปรียบเทียบใบอนุญาตเฉพาะหน่วยงานกับใบอนุญาตผู้ใช้ ความผิดที่เกิดขึ้นบ่อยๆมักจะเกิดโดยบริษัทที่ประเมินค่าข้อมูลที่ต้องการต่ำเกินไปเพื่อที่จะสร้างระบบการจัดการโกดังเป็นของตัวเอง การใช้เงินและเวลาเพื่อที่จะลงทุนใน player ดังๆเช่น แมนฮัตตั้น SAP หรือ providers เล็กๆรายอื่น ที่นำเสนอshelf products ที่สามารถนำไปปรับปรุงเพื่อนำไปตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า
ความท้าทายระหว่าง B2B ในปัจจุบันกับ การดำเนินธุรกิจแบบ B2C ในอนาคต เป็นสิ่งที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง มีการสั่งของในปริมาณมากและปริมาณ SKUs ที่น้อยกว่า (ปริมาณมาก/ มีของชนิดอื่นปะปนน้อย) เมื่อเปรียบเทียบกับ B2C ที่มีการสั่งของในปริมาณน้อยแต่มีของชนิดอื่นปะปนอยู่มาก
ในส่วนของโกดัง นี่หมายความว่าบริษัทจะต้องการ pickers ที่มาใช้รถเข็นใน B2C มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับรถยกของ B2B ถ้าคุณตั้งใจที่จะประกอบกิจการ B2C ของคุณเองแล้วละก็ ควรกลับไปเช็คว่า โกดังแบบ B2B ของคุณสามารถใช้งานได้แล้วหรือยัง
ถ้ายัง มันจะดีกว่าไหมถ้าเช่าโกดังทั้งโกดังและทีมงานและยอมจ่ายค่า fixed cost ทั้งหมดแทนที่จะจ้างคนภายนอกมาทำงานให้? มันสำคัญมากถ้าไม่ลงทุนมากเกินไปตั้งแต่แรกเริ่มและทดสอบว่านำปริมาณสินค้าที่ต้องนำมาเก็บในสต๊อกอย่างไรเพื่อที่จะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจลงทุนในอนาคต การทำงานกับผู้ร่วมลงทุนเพื่อบริหารการประกอบกิจการแบบ B2C จะทำให้คุณสามารถประมาณการและใช้ประโยชน์จากแรงงานที่มีอยู่เพื่อที่จะลดต้นทุนคงที่
เราเคยเห็นลูกค้าหลายคนที่ริเริ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานโกดังแบบ B2C เป็นของตัวเอง และต้องปิดตัวลงโดยการได้ผลประโยชน์แค่ 50% ของพื้นที่และแรงงานคน การจ้างคนงานภายนอกทำงานกลายเป็นเทรนด์เพราะว่าคนภายนอกเชี่ยวชาญกว่าและต้นทุนถูกกว่า
ระบบบริหารและจัดการคลังสินค้าภายในร้าน
เพื่อหลีกเลี่ยงการมีสินค้าคงคลังในปริมาณสูง บางบริษัทจึงเลือกใช้แนวทาง in-store order fulfillment โดย WMS จะโยงกับระบบ POS ในร้านต่างๆ เพื่อติดตามปริมาณสินค้าคงคลัง
ถ้าลูกค้าสั่งสินค้าออนไลน์ ระบบจะเช็คว่าร้านใดที่อยู่ใกล้ที่สุดที่มีสินค้านั้นและทำการยืนยัน ซึ่งจะมีพนักงานขนส่งเดินทางไปรับสินค้าชิ้นนั้นเพื่อนำไปส่งยังลูกค้า
ต้นทุนการดำเนินการมีไม่มากนักเนื่องจากไม่ต้องจ้างทีมงานเฉพาะหรือเช่าพื้นที่เก็บของ แต่ใช้ได้สำหรับออร์เดอร์ขนาดไม่ ใหญ่เกินไปเท่านั้น เพราะหากออร์เดอร์ใหญ่เกินไป ร้านค้านั้นจะกลายเป็นเหมือนโกดังเสียเองและกระทบกับการค้าขายทางตรงกับลูกค้า
ภายในของศูนย์กระจายสินค้า
อีกวิธีหนึ่งที่จะลดต้นทุนคงที่คือการตั้งพื้นที่สำหรับ B2C ไว้ด้วยกันในโกดังของ B2B พื้นที่นี้จะได้รับวัตถุดิบจากพื้นที่ของ B2B แต่จะดำเนินงานแยกกันด้วย WMS ของตัวเอง มีเพียงการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบเท่านั้นที่เกิดขึ้น
ส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับธุรกิจ ecommerce ใดๆ คือการขนส่งแต่เราควรมีหน่วยขนส่งของเราเองหรือ outsource ดี ถ้าคิดจะทำเป็นการภายในบริษัทก็ควรคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ การยกระดับและมองในระยะยาว เนื่องจากมีไม่กี่บริษัทที่สามารถใช้งานทีมขนส่งภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพในขณะที่บริษัทอื่นจำนวนมากไม่ประสบความสำเร็จและบางรายก็เลือกที่จะ outsource จากภายนอก ทั้งนี้เนื่องจากในปัจจุบันมีผู้ให้บริการด้านนี้โดยเฉพาะเกิดขึ้นมากมายเช่น Ninja Van, Sendit หรือ DHL ซึ่งกำลังตีตลาดในกลุ่มบริการด้านขนส่งและเพิ่มการแข่งขั้นขึ้น
กิจการเหล่านี้ดำเนินการด้วยการจ่ายเงินสดซึ่งสำคัญในพื้นที่ที่ประชาชนไม่ได้พึ่งพาระบบธนาคารมากนักและปราศจากช่องทางการชำระเงินที่เป็นที่นิยมเช่น Alipay ของจีน COD นั้น อาจสูงถึง 90% ในบางพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่ Tier 2, 3 ในอินโดฯ และการบริหารจัดการ COD Reconciliation เป็นกระบวนการที่ยากลำบาก
คำแนะนำคือทดสอบการขนส่งกับนักธุรกิจท้องถิ่น บวกเข้ากับบริการและความสามารถทาง COD และการติดตามการเคลื่อนไหว สิ่งนี้เป็นตัวช่วยคุณในการตัดสินใจว่าจะอยากได้กองทัพเรือของคุณเองในอินโดนีเซีย หรือจะรวมกับผู้เชี่ยวชาญอื่นๆที่สามารถรับมือกับ 3PLs ต่างๆได้หลากหลายเพื่อที่จะได้รับบริการที่ดีที่สุด
การเสี่ยงเข้าไปทำธุรกิจแบบ ecommerce ไม่ใช่เรื่องง่ายและเรื่องยากซะทีเดียว มันขึ้นอยู่กับการวางแผน ส่วนที่สำคัญที่สุดคือความริเริ่มของบริษัทที่จะพุ่งไปสู่เป้าหมายทางการเงิน มันจะเป็นไปได้ไหมที่จะซื้อหรือขายสิ่งที่เพิ่มคุณค่าได้ สิ่งรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้นได้และราคา? สำหรับความเข้าใจบางอย่างนี่คือวิธีการที่ลูกค้าปัจจุบันของเราตอบสนองต่อการสร้างการตัดสินใจซื้อ
Mitch Bittermann is the Chief Logistics Officer of aCommerce, an end-to-end ecommerce solutions provider in Southeast Asia. He has extensive knowledge in global distribution, building Cross-Border Operations in Singapore and Hong Kong serving customers in Asia and globally for arvato, a subsidiary of Bertelsmann. Mitch headed the APAC Solution Design and Project team as General Manager for arvato in Hong Kong, running a 150k square feet warehouse for global IT High Tech and Consumer goods clients. Previous projects include implementing strong customer service operations in Canada, setting up distribution centers in Thailand and various locations in Europe. He has also optimized freight projects across the globe. Mitch was born in Germany but spent most of his working life abroad in Europe, US and Asia.
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด