ติดตาม กฎหมายยกเว้น Capital Gains Tax ใช้ได้จริงตอนไหน ใครได้ประโยชน์บ้าง ? | Techsauce

ติดตาม กฎหมายยกเว้น Capital Gains Tax ใช้ได้จริงตอนไหน ใครได้ประโยชน์บ้าง ?

หลังจากที่รอคอยกันมานานกับการยกเว้น Capital Gains Tax ให้กับนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในสตาร์ทอัพไทย ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติมาตรการดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และปัจจุบันอยู่ในกระบวนการร่างพระราชกฤษฎีกาและบังคับใช้กฎหมายในที่สุด 

จากประเด็นดังกล่าว ทำให้มีข้อสงสัยในหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น ประโยชน์ที่จะได้รับจากกฎหมายนี้ นักลงทุนที่ได้รับสิทธิ กระบวนการกว่าที่จะบังคับใช้จริง หรือความชัดเจนในบางประการสำหรับรูปแบบของการลงทุน  Techsauce จึงได้มีการจัด Live พิเศษในรายการ  Tech Law Talk ที่พูดคุยกับทั้งนักกฎหมาย และนักลงทุน ได้แก่ คุณศรัณย์  สุตันติวรคุณ  นายกสมาคมไทยผู้ประกอบการธุรกิจเงินร่วมลงทุน TVCA, คุณโสมิภา  ภคภาสน์วิวัฒน์  และคุณนพพร  เจริญกิจราษฎร์  Partner, Baker & McKenzie Thailand มาร่วมถกประเด็นและไขข้อสงสัยกัน โดยมีสาระสำคัญดังนี้

รายละเอียดพ.ร.ฎ. ยกเว้นภาษี Capital Gains เบื้องต้น

  • บริษัทสตาร์ทอัพที่จะเข้าเกณฑ์ต้องจดทะเบียน 20 ล้าน และได้รับการรับรองจากสวทช.หรือ NIA และเป็นธุรกิจที่อยู่ใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐ 

  • ผู้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีคือ นักลงทุนไม่ว่าจะลงตรง (รวม angel investor) หรือผ่าน VC, CVC หรือ PE Trust  จะได้รับการยกเว้นกำไรในการโอนหุ้นเป็นเวลา 10 ปี (บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ทั้งสัญชาติไทยและต่างชาติ)

  • นักลงทุนต้องถือหุ้นในบริษัทสตารท์อัพหรือ CVC มากกว่า 24 เดือน แล้วสตาร์ทอัพต้องมีรายได้ในกิจกรรมหลักไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ในช่วงเวลา 2 ปีก่อนที่จะขายหุ้นออกไป

(อ่านสาระสำคัญเป็นการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ของร่าง พ.ร.ฎ. เพิ่มเติม)

กระบวนการร่างพ.ร.ฎ. ยกเว้นภาษี Capital Gains

หลังจากที่ครม.อนุมัติแล้วเมื่อวันที่ 8 มีนาคม ขั้นตอนต่อไปคือส่งไปให้สำนักงานกฤษฎีกาตรวจสอบการใช้ถ้อยคำ ซึ่งในส่วนนี้จะสามารถเพิ่มความชัดเจนและรายละเอียดของกฎหมายได้ และเสนอไปที่สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงพระปรมาภิธัย และประกาศลงในพระราชกิจจานุเบกษา โดยในเบื้องต้นคาดว่ากฎหมายยกเว้น  Capital Gain Tax จะบังคับใช้ได้ภายในเดือนพฤษภาคม

การเตรียมตัวระหว่างที่รอบังคับใช้กฎหมาย

  • สำหรับบริษัทสตาร์ทอัพแน่นอนว่าถ้าจะได้ยกเว้นภาษีจากพ.ร.ฎ.นี้ ก็จะต้องมีกำไรจาก Capital Gain ก่อน ซึ่งส่วนนี้อาจต้องอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมสตาร์ทอัพ

  • บริษัทสตาร์ทอัพต้องขึ้นทะเทียบกับสวทช.หรือ NIA ว่าเข้าเกณฑ์ของพ.ร.ฎ.หรือไม่ 

  • สำหรับนักลงทุนก็ต้องจดทะเบียนกับทางกลต. ซึ่ง VC ในเกณฑ์ที่ได้รับการยกเว้นคือ CVC และ PE Trust

ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจาก การยกเว้นภาษี Capital Gains

การยกเว้นภาษี Capital Gains เป็นเวลา 10 ปี ให้กับนักลงทุนไทยและต่างชาติ ถือเป็นการสร้างสิทธิประโยชน์พื้นฐานที่จำเป็นต่อการส่งเสริมศักยภาพการลงทุนให้กับสตาร์ทอัพและ Tech Companies ได้อย่างมาก อีกทั้งยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ อาจไม่ใช่ปัจจัยดึงดูดให้ต่างชาติย้ายฐานการลงทุนมาไทยในทันที แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเพื่อให้สตาร์ทอัพไทยเติบโตสู้กับประเทศอื่นได้ และทำให้สตาร์ทอัพไทยดึงบุคลากรที่มีศักยภาพจากทั่วโลกมาร่วมสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับธุรกิจเพิ่มขึ้นด้วย 

นอกจากประโยชน์นอกจากที่กล่าวมาเบื้องต้นแล้ว ในช่วงแรกที่ออกพ.ร.ฎ.ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือธุรกิจ Mature แล้ว พร้อมจะระดมทุน แต่ในระยะยาวจะทำให้คนกล้าเข้ามาในวงการสตาร์ทอัพไทยมากขึ้นทั้งในฐานะผู้ประกอบการ และนักลงทุน

ความชัดเจน และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

  • การยกเว้นภาษีเป็นเวลา 10 ปี นานพอที่จะให้เห็นผลลัพธ์ แต่อาจไม่พอในแง่ของความต่อเนื่อง เพราะว่าพอ 10 ปีมันต้องต่อใหม่ โดยก่อนหน้านี้ไทยเคยมีมาตรการยกเว้นภาษีดังกล่าวมาแล้วในช่วงปี 2559-2561 และยกเลิกไป จึงขอเสนอให้ภาครัฐพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้ง

  • ในกฎหมายตอนนี้ยกเว้นแค่การขายหุ้นกับ trust ควรรวมตัว PE Trust ไม่ใช่แค่ช่วยคนที่ลงทุนโดยตรง แต่ควรช่วยคนที่ลงผ่านมืออาชีพด้วย ถ้า PE Trust ไม่เสียภาษี พอเขาได้กำไรแล้วเงินก็จะกลับไปที่ตัว Startup ไม่เช่นนั้นผู้ที่ลงทุนใน PE Trust ก็จะต้องเสียภาษี ซึ่งจะเกิดความไม่เท่าเทียมเมื่อเทียบกับการลงทุนในสถานะอื่น

  • แม้ว่าตอนนี้ยังไม่มีร่างพ.ร.ฎ.ที่เผยแพร่ออกมาแน่ชัด แต่หวังว่ากฎที่ออกมาจะสามารถใช้ได้จริง และเกิดประโยชน์ต่อ Startup Ecosystem ของไทย

  • สำหรับช่องว่างในพ.ร.ฎ.นั้น ถ้าเป็นเรื่องที่จำเป็นทางกรมสรรพากรสามารถออกเป็นกฎหมายลูกตามมาทีหลังได้ เพื่อลดระยะเวลาที่จะออกตัวพ.ร.ฎ.หลัก 

ติดตามรายการ Tech Law Talk ซึ่งเป็น Live พูดคุยฉบับเต็มได้ที่  Tech Law Talk Live 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Secure Corporate Internet บริการใหม่ที่ ‘ตอบโจทย์ธุรกิจยุคดิจิทัล’ เข้าใจทุกเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ของธุรกิจ จาก AIS Business

บทความนี้ Techsauce อยากชวนมารู้จักกับ Secure Corporate Internet อินเทอร์เน็ตองค์กรที่มีระบบรักษาความปลอดภัยครอบคลุมตลอด 24 ชั่วโมง บริการใหม่เพื่อธุรกิจในยุคดิจิทัล!...

Responsive image

สรุปเนื้อหาจากงาน KBTG Techtopia: A Blast From the Future เจาะเวลาหาอนาคต สู่การใช้ AI อย่างชาญฉลาดบนความรับผิดชอบ

สรุปเนื้อหาจากงาน KBTG Techtopia: A Blast From the Future นำเสนอเนื้อหาสุด Exclusive จากทั้ง 3 Stage โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชั้นนำจากทั้งไทยและต่างประเทศ เจาะเวลาหาอนาคต สู่ก...

Responsive image

Ertigo สตาร์ทอัพไทยที่อยากแก้ปัญหา Office Syndrome ตั้งเป้าเป็นผู้ให้บริการ TeleRehab ในอาเซียน

ERTIGO สตาร์ทอัพไทยที่ต้องการแก้ปัญหา Office Syndrome ตั้งเป้าการเป็นผู้ให้บริการ Telerehab ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้...