รัฐบาลจีนกับการออก 'นโยบายระดับชาติ' สู้มลพิษทางอากาศ

รัฐบาลจีนกับการออก 'นโยบายระดับชาติ' สู้มลพิษทางอากาศ

  • ออก Air Pollution Plan แผนปฎิบัติการระยะยาว 5 ปี กำหนดระดับ PM2.5 ในทุกเมืองหลักที่ก่อมลพิษ ได้แก่ กรุงปักกิ่ง เทียนจิน และมณฑลเหอเป่ย
  • นอกจากนี้เมือง 26 แห่ง ได้ให้สัญญาว่าจะทำการเปลี่ยนระบบทำความร้อนโดยการไฟฟ้าหรือก๊าซ แทนการใช้ถ่านหิน ใน 4 ล้านครัวเรือน 
  • จำกัดการผลิตเหล็ก และอลูมิเนียม สั่งปิดโรงงาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ทั้งในกรุงในปักกิ่งและบริเวณใกล้เคียง
  • มีการตั้งหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency)

ในขณะที่คนกรุงกำลังเผชิญกับปัญหาฝุ่นควัน รัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกต่างออกมาประกาศว่า มลพิษทางอากาศคือภัยร้ายแรง ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพโดยตรงไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ รวมถึงโรคหอบหืดและถุงลมโป่งพอง อีกทั้งองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศ มลพิษทางอากาศเป็น ‘ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณะสุข’

จีนก็ได้เผชิญปัญหามลพิษทางอากาศที่เลวร้ายมาแล้วในปี 2015 โดยสถาบันวิจัย Berkeley Earth รายงานว่า จากสภาวะอากาศที่เลวร้ายในครั้งนั้น มีส่วนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1.6 ล้านคนต่อปี

รัฐบาลจีนออก 'นโยบายระดับชาติ' จัดการปัญหา 'มลพิษทางอากาศ'

การเติบโตอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจส่งผลให้จีนกลายเป็นผู้ผลิตหรือปล่อยก็าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนเองได้พยายามแก้ไขปัญหาโดยให้กระทบต่อเศรษฐกิจน้อยที่สุด 

ในปี 2013 รัฐบาลได้ออก Air Pollution Plan แผนปฎิบัติการระยะยาว 5 ปี กำหนดระดับ PM2.5 ในทุกเมืองหลักที่ก่อมลพิษ (กรุงปักกิ่ง เทียนจิน และมณฑลเหอเป่ย เป็นพื้นที่ที่มีระดับมลพิษทางอากาศสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูหนาว) และจำกัดการใช้ถ่านหินทั่วประเทศ โดยให้กรุงปักกิ่งมีการลดการใช้ถ่านหิน 50% (ภายในปี 2013-2018) เมืองเทียนจิน 19% นอกจากนี้เมือง 26 แห่ง ได้ให้สัญญาว่าจะทำการเปลี่ยนระบบทำความร้อนที่ไฟฟ้าหรือก๊าซแทนการใช้ถ่านหิน ใน 4 ล้านครัวเรือน 

ภาพ Pollution Plagues China, Cory M. Grenier

รัฐบาลยังได้มีการจำกัดการผลิตเหล็ก และอลูมิเนียม ปิดโรงงาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ อีกทั้งในกรุงในปักกิ่งและบริเวณใกล้เคียง มีการตั้งหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency) แห่งใหม่

ทำไมการบังคับใช้จึงได้ผลในประเทศจีนเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น? เนื่องจากผู้ที่เป็นต้นเหตุก่อมลพิษหลายรายเป็นรัฐวิสาหกิจ และควบคุมได้ง่ายกว่า อีกทั้งมลพิษมากกว่าครึ่งของจีนมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งง่ายต่อการจัดการของรัฐบาล ในการออกมาตรการควบคุมเฉพาะเรื่องถ่านหิน และหาวิธีควบคุมมลพิษจากสาเหตุอื่น

ล่าสุดปีที่แล้ว รัฐบาลก็ได้ออกแผนจัดการมลพิษทางอากาศใหม่ Three-Year Action Plan for Winning the Blue Sky War ตั้งเป้าปรับปรุงคุณภาพอากาศของประเทศภายในปี 2020 โดยมีเป้าหมายเฉพาะเพื่อลดการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และไนโตรเจนออกไซด์

น่านฟ้าจีนสดใสกว่าเดิมด้วย 'พลังงานสะอาด'

ภาพ Qilai Shen/ Bloomberg

จีนเป็นผู้ผลิตถ่านหินรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าประเทศใดในโลก ในปี 2018 โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme - UNEP) เปิดเผยรายงานระบุว่า จีนได้กลายเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของโลกในการลงทุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งมีจำนวนมากกว่าการลงทุนด้านพลังงานฟอสซิลแล้วในปี 2017

หลายโรงงานไฟฟ้าถ่านหินหลายแห่งถูกปิดตัว ส่งผลให้ยอดขายก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น โดยสำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า นับตั้งแต่ปี 2012 จีนกลายเป็นประเทศที่ลงทุนเรื่องพลังงานสะอาดรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยได้ลงทุนในพลังงานลมและแสงอาทิตย์ไปแล้วราวสามล้านล้านบาท

จีนได้มีการตั้งเป้าใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างน้อยร้อยละ 35 ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในปี 2030 ตามแผนร่างคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ โดยก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ตั้งเป้าการใช้ 'พลังงานสะอาด' คิดเป็นร้อยละ 20 ของการใช้พลังงาน ภายในปี 2030

นอกจากนี้ ยังได้มีการผลักดันการเป็นผู้นำอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าระดับโลก สนับสนุนการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์พลังงานสะอาด ออกมาตรการเข้มงวดต่อผู้ผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงแบบดั้งเดิม 

ความร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชน

Alibaba บริษัทขายของออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของจีน แสดงรับผิดชอบต่อสังคม ขายชุดอุปกรณ์ทดสอบคุณภาพน้ำในราคาถูก

Xiomi ออกสโลแกน “Making quality technology accessible for everyone” ขายเครื่องฟอกอากาศ Mi Air Purifier ที่จะส่งข้อความเตือนผู้ใช้งานทุกครั้งเมื่อพบว่ามีการปนเปื้อนในอากาศ

ธนาคารโลก (World Bank) และธนาคารหัวเฉีย (Huaxia Bank) จับมือร่วมกันในโปรเจค 'Jing-Jin-Ji program' (Beijing-Tianjin-Hebei) ลงทุนในบริษัทที่ได้มีการใช้พลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน และการควบคุมมลพิษในกรุงปักกิ่ง เทียนจิน มณฑลเหอเป่ย และจังหวัดใกล้เคียงของมณฑลซานตงชานซีเหอหนานและมองโกเลีย

จีนไม่ได้หยุดอยู่แค่การปรับปรุงคุณภาพอากาศเท่านั้น ยังได้หยุดรับขยะพลาสติกจากประเทศอื่น  ประชาชนได้มีความกังวลเกี่ยวกับมลพิษ และมีความด้านความต้องการวัสดุที่ลดลง โดยนอกจากจะผลักดันด้านพลังงานลมและแสงอาทิตย์แล้ว ยังได้ทำการทดลองพลังงานทดแทนถ่านหินอื่นๆ อย่าง พลังงานไฮโดรเจนอีกด้วย

 

ที่มา:

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ท่องเที่ยวไทยมีดี แต่ SME ยังไม่พร้อม ?

ธุรกิจท่องเที่ยวจะปรับตัวยังไง เมื่อเจอความท้าทายรุมล้อม ไม่ว่าจะเป็นการปรับใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ การรับมือธุรกิจจีนที่เข้ามารุกตลาด และการสร้างบริการท่องเที่ยวให้ตอบโจทย์นักเดินทาง...

Responsive image

อินโดนีเซีย เปิดรับเทคโนโลยีอย่างไร เพื่อสร้างเศรษฐกิจยุคใหม่ ถอดบทเรียนจากงาน Bali International Airshow

อินโดนีเซีย กลายเป็นประเทศเนื้อหอมที่บิ๊กเทคฯ ต่างประเทศแห่เข้าไปลงทุนมากมาย ซึ่งหากนับแค่ช่วงครึ่งแรกของปี 2023 เพียงปีเดียวอินโดนีเซียสามารถสร้างมูลค่าถึง 34,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ...

Responsive image

รู้จัก “Phygital” การตลาดยุคใหม่แห่งอนาคต ผ่านเทคโนโลยี Immersive Experience ของ Translucia

Techsauce จึงอยากพาไปทำความรู้จักกับเทคโนโลยี ‘โลกเสมือน’ ผ่านหนึ่งในผู้เล่นคนสำคัญอย่าง Translucia บริษัทเทคโนโลยีที่พัฒนา Immersive Experience ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะเปลี่ยนวิธีการเ...