ถามตอบ 6 ข้อสำหรับเข้าร่วมโครงการ depa Accelerator Program กับ 6 แนวทาง Startup ด้าน Smart City | Techsauce

ถามตอบ 6 ข้อสำหรับเข้าร่วมโครงการ depa Accelerator Program กับ 6 แนวทาง Startup ด้าน Smart City

ภาพโดย: ดร.นน (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล depa)

6 Case Study : Startup ที่มี Solutions ในการเข้ามาพัฒนา Smart City

หลายคนคงคิดว่าการสร้าง Smart City เป็นเรื่องใหญ่เพราะคือการสร้างเมืองทั้งหมดแต่ในความเป็นจริงเเล้วการสร้าง Smart City ไม่ใช่การสร้างเมืองให้ทันสมัยหรือสร้างแต่เรื่องใหญ่ๆเท่านั้น เพราะสิ่งสำคัญในการสร้างและพัฒนา Smart City คือการสร้าง Solution ที่หลากหลายในเเต่ละด้านเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตหรือแก้ปัญหาในเเต่ละภาคส่วน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และสังคมให้น่าอยู่ ในปี 2019 นี้ เราได้คัดเหล่า Startup ทั้ง 6 ตัวอย่างที่มีความหลากหลายเเละตอบโจทย์ในการพัฒนา Smart City มาให้ได้รู้จักกัน

1. HAAS Alert 

เป็น Startup จาก Chicago, IL (USA) ที่สร้าง Application ตอบโจทย์ปัญหาการสัญจรบนท้องถนน ซึ่งหลายคนคงเคยเจอเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับรถติดเวลารีบไปโรงพยาบาล เมื่อเราเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ ณ สถานที่หนึ่งแต่โรงพยาบาลอยู่ไกล ทำให้กว่ารถพยาบาลจะมาถึงเเละรับผู้ประสบเหตุต้องใช้เวลานาน นอกจากระยะทางเเล้วรถจำนวนมากที่ขวางทางบนถนนที่พบได้โดยเฉพาะปัจจุบันในเขตเมืองของเเต่ละประเทศจะเจอปัญหารถติด ทำให้รถพยาบาลไม่สามารถผ่านไปได้  

Credit:https://www.haasalert.com/

ด้วยเหตุนี้ Application HAAS Alert ซึ่งเห็นถึงปัญหาในข้อนี้และได้เข้ามาเป็นอีก Solution หนึ่งในการเข้ามาช่วยเสริมการแก้ปัญหาด้วยคุณสมบัติ ส่งสัญญาณเตือนรถที่อยู่บริเวณใกล้เคียงใน GPS บอกเส้นทางว่า ตอนนี้รถเรากำลังมีเรื่องฉุกเฉิน ซึ่งต้องรีบไปก่อน สัญญาณนี้จะส่งไปยัง GPS รถที่อยู่บนเส้นทางเดียวกับเราเเละเป็นอุปสรรคทำให้เราไม่สามารถผ่านไปได้เพื่อให้รถเหล่านี้ทราบว่า ตอนนี้มีเหตุการณ์ฉุกเฉินควรหลบให้รถเราไปก่อน

2. Ecube Labs

Startup สัญชาติเกาหลี ที่มองเห็นถึงปัญหาของสิ่งเเวดล้อมในเมืองอย่างเรื่องขยะล้นถัง ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเเวดล้อมที่ไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัยและเป็นพาหะนำโรค ร่วมถึงกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ด้วยการสร้างระบบจัดการของเสียหรือขยะด้วย sensor ที่ถูกติดไว้ตามจุดทิ้งขยะเมื่อจุดไหนเต็ม สัญญาณจาก sensor จะส่งสัญญาณมาให้รถขยะ ซึ่งจะช่วยชี้พิกัดที่เเน่นอนให้รถขนขยะไปตามจุดต่างๆ ได้อย่างเเม่นยำและรวดเร็ว โดยไม่ต้องรอให้เต็มจนล้นถัง เเละยังลดเวลาเดินทางของรถในแต่ละจุดที่ทิ้งขยะของเมืองโดยไม่ต้องขับไปรอบเมืองอย่างไร้จุดหมายซึ่งเปลืองทั้งเวลาเเละค่าน้ำมันรถ 

Credit:https://www.ecubelabs.com/

3. FixMyStreet 

Startup จากประเทศอังกฤษ ที่สร้าง Platform Mobile apps ที่สามารถรายงานสภาพโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ อาทิ สภาพท้องถนนที่เป็นหลุมหรือชำรุด หรือหลอดไฟฟ้าบนถนนชำรุดผ่าน website แจ้งให้หน่วยงานภาครัฐที่ดูเเลเรื่องดังกล่าวรับทราบอย่างรวดเร็วเพื่อทำการแก้ไข และเป็นช่องทางการแจ้งข่าวสารการซ่อมแซมให้กับประชาชนอีกด้วย นับได้ว่าเป็น Solution ที่ประเทศไทยยังขาดเเคลนเพราะหากพูดถึงปัญหาจากภาคประชาชน อาทิ ถนนเป็นหลุม สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนแต่อยู่ห่างไกลทำให้ภาครัฐอาจเข้าไม่ถึงและไม่ทราบ หากมี Solution ดีๆ แบบนี้เข้ามาคงช่วยสร้างการใช้ชีวิตของชุมชนห่างไกลให้ดีขึ้นได้

4. MyResponder

MyResponder ทีม Startup จากประเทศสิงคโปร์ที่เกิดจากการต่อยอดฐานข้อมูลหรือ Data ที่มีอยู่จากระบบ SingPass “บัตรประชาชนออนไลน์” ของรัฐบาลสิงคโปร์  ซึ่งนำมาเป็นฐานสำคัญในการสร้าง Application เพื่อให้ความช่วยเหลือขึ้น โดยเปิดให้พลเมืองสามารถช่วยกันรายงานเหตุฉุกเฉิน เช่น หัวใจใครสักคนหยุดเต้น ทุกคนที่ลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครในระบบนี้ และอยู่ไม่ไกลเกิน 400 เมตรจากเหตุการณ์จะได้รับการแจ้งเตือนผ่าน Application และสามารถไปช่วยชีวิตได้ก่อนที่รถพยาบาลฉุกเฉินจะเดินทางไปถึง โดยตัวระบบจะมีการเเบ่งประเภทเป็นหมวดต่างๆ เช่น เป็นบุคลากรทางการแพทย์ หรือเป็นคนทั่วไป สร้างความเชื่อใจด้านความช่วยเหลือผ่านระบบยืนยันตัวตนในการจัดประเภท ที่ทำให้รู้ว่าการเข้าช่วยเหลือเเต่ละกรณีควรส่งสัญญาณเตือนในกลุ่มคนใดได้บ้าง นับได้ว่านอกจากการช่วยเหลือที่รวดเร็วเเล้วยังเป็นการสร้างจิตใต้สำนึกแห่งการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในอีกทางหนึ่งด้วย

Credit:https://apps.apple.com/sg/app/myresponder/

5. QueQ

Startup สัญชาติไทยที่มองเห็นถึงปัญหาที่ถึงเเม้จะเป็นจุดเล็กๆ ในสังคมเเต่กลับสร้างประโยชน์มากมายให้การใช้ชีวิตง่ายขึ้น อย่างการจองคิวที่สามารถเเก้ปัญหาการรอคิวได้อย่างตรงจุด โดยการสร้างระบบ Application การจองคิวออนไลน์ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้คนได้อย่างง่าย สะดวก แถมยังมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาการรอคิวของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ผ่านระบบ QueQ Hospital Solution ที่สามารถจองคิวผ่าน Moblie Application สะดวกเเล้วยังลดการใช้กระดาษคิวอีกด้วย

6. Arincare  

Startup ไทยด้าน HealthTech ที่สร้าง Platform ร้านขายยาครบวงจรออนไลน์ให้สมัครเข้าใช้งานได้ฟรี ภายใต้เเนวคิด Digital Pharmacy Solution สร้างความสะดวกต่อการเข้าถึงของผู้บริโภคลดช่องว่างของสถานที่และการเดินทางของผู้ป่วยโดยเภสัชกรหรือบุคลากรทางการเเพทย์สามารถดูแลผู้ป่วยผ่านรูปแบบออนไลน์ได้ ซึ่งล่าสุดได้เข้าร่วมกับโรงพยาบาลนำระบบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-Prescription เข้ามาใช้ในโรงพยาบาลที่ห่างไกล ซึ่งมีเป้าหมายในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาลสามารถหาซื้อยาจากร้านขายยาระยะใกล้บ้านตามที่แพทย์สั่งได้

หลังจากได้อ่านเเนวทางจาก Startup ที่มี Solution ที่ตอบโจทย์การยกระดับชีวิตที่ Smart ผ่านเเนวคิด Smart City แล้วหากยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโครงการ depa Accelerator Program เราได้รวบรวมคำถามยอดฮิตที่ทำให้เหล่า Startup เกิดความกังวลใจว่าควรสมัครเข้าร่วมโครงการนี้ไหม ในครั้งนี้เมื่อได้ดูตัวอย่างที่เราคัดมาให้เเล้วลองมาทำความเข้าใจโครงการจากคำถาม 6 ข้อนี้

ถามตอบ 6 ข้อสำหรับเข้าร่วมโครงการ depa Accelerator Program

1. depa Accelerator Program (ASEAN’s First Smart City Accelerator) คืออะไร?

โครงการ depa Accelerator Program (ASEAN’s First Smart City Accelerator) เป็นโครงการเร่งการเติบโตสตาร์ทอัพ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมศักยภาพของดิจิทัลสตาร์ทอัพให้เติบโตและเตรียมความพร้อมก่อนที่จะขยายตลาดไปยังต่างประเทศ

โดยปีนี้ เปิดโอกาสให้ดิจิทัลสตาร์ทอัพ นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาร่วมพัฒนา Smart City และแก้ปัญหาเมืองด้านต่างๆ  ในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นด้าน Smart Environment, Smart Economy, Smart Energy, Smart Governance, Smart Living,  Smart Mobility, และ Smart People หรือ ดิจิทัลสตาร์ทอัพที่สร้างโซลูชั่นด้าน Healthtech, Agritech, Fintech, Traveltech, Edtech และ Govtech ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในเมืองให้ดีขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนาให้เมืองน่าอยู่ ทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข  อย่างยั่งยืน

โดย depa จะมีหน้าที่หลักในการเชื่อมโยงให้ทั้งสตาร์ทอัพที่มี Solution การแก้ปัญหาเมืองได้ทำงานร่วมกับเมือง ด้วยการเปิดโอกาสให้กับผู้เข้าร่วมโครงการได้นำโซลูชั่นไปทดลองกับเมืองและปรับใช้ให้ตรงกับความต้องการของเมืองให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป 

2.  รูปแบบของ accelerator มีลักษณะอย่างไร?

โปรแกรมจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2562 - 4 มีนาคม 2563  โดยรูปแบบของโปรแกรมนี้จะขับเคลื่อนด้วยกิจกรรมมากมาย 

ผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้จากผู้สอนที่มีประสบการณ์เฉพาะด้าน โดยผ่านหลักสูตรออนไลน์ และผ่านการ Workshop ที่อัดแน่นไปด้วยความรู้เฉพาะด้านให้กับสตาร์ทอัพ ทั้ง 6 หัวข้อ รวมถึง Mentoring Session และที่สำคัญผู้ร่วมโครงการนี้ยังจะได้ลงไปรับโจทย์และทำงานร่วมกับชุมชนต่างๆ ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า Proof of Concept นับเป็นไฮไลท์ของโครงการที่ทาง depa จะเชื่อมโยงเครือข่ายขององค์กร หน่วยงานและเมืองต่างๆ ที่มีความต้องการสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของดิจิทัลสตาร์ทอัพ ให้ได้มีโอกาสมาทำงานร่วมกับดิจิทัลสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 20 ทีม

กระบวนการเรียนออนไลน์นี้ จะถูกจัดขึ้นเป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ โดยระหว่างโปรแกรม จะมี  Full-day workshop ทั้งหมด 6 กิจกรรมด้วยกัน  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโปรแกรม Accelerator มีความรู้ด้านต่างๆ ตั้งแต่ Digital Marketing,  Pitch Clinic ตลอดจนแนวทางการทำงานร่วมกับหน่วยงานในเมืองต่างๆ ที่ขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ

3. จำเป็นต้องเข้าร่วมเต็มเวลาไหม สมาชิกทีมมีงานประจำ กลัวว่าจะไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้?

ตลอดระยะเวลา 12 สัปดาห์ในการเข้าร่วมโครงการ ทีมผู้เข้าร่วมจำเป็นจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมไม่ต่ำกว่า 80% ของจำนวนกิจกรรมทั้งหมด ซึ่งจะประกอบด้วยหลักสูตรการเรียนออนไลน์ การอัพเดทการทำงาน การเข้าร่วมเวิร์คชอปและการลงพื้นที่ในกระบวน Proof of Concept

** ในกรณีที่ทั้งทีมไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ จำเป็นจะต้องส่งตัวแทนเข้าร่วม อย่างน้อย 2 คน 

4.  depa Accelerator Program (ASEAN’s First Smart City Accelerator) นี้ตอบโจทย์สตาร์ทอัพไทยยังไง?

ด้วย depa เห็นโอกาสว่าเมืองต่างๆ ในประเทศไทยมีความต้องการเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากสตาร์ทอัพเข้าไปร่วมพัฒนาและแก้ปัญหา การทำงานของสตาร์ทอัพที่เริ่มจากเมืองเล็กๆ และทดลองทำงานกับเมืองต่างๆ ในประเทศไทย จะสามารถช่วยให้สตาร์ทอัพแก้ปัญหาที่สเกลเล็กจนมีศักยภาพขยายไปสู่ตลาดขนาดใหญ่กว่าอย่างมหาศาลด้วยมิติเดียวกัน 

โปรแกรม depa Accelerator Program (ASEAN’s First Smart City Accelerator) นี้ จึงเกิดขึ้นเพื่อที่ช่วยส่งเสริมสตาร์ทอัพให้เติบโตและเตรียมความพร้อมในการขยายฐานธุรกิจไปยังต่างประเทศ สตาร์ทอัพจะได้เรียนรู้ฟังก์ชันของเมือง และเมื่อ duplicate ไปยังเมืองต่างๆ ได้ ก็อาจจะเป็นแนวทางในการสเกลตลาดของสตาร์ทอัพไทยไปยังต่างประเทศได้เร็วขึ้น โครงการนี้จะเป็นแนวทางที่จะช่วยให้สตาร์ทอัพไทยสามารถขยายธุรกิจไปยังตลาดต่างประเทศ ด้วยการมองจากมิติความเป็นเมือง 

ทั้งนี้ depa ในฐานะหน่วยงานรัฐบาล จึงพร้อมเปิดโอกาสให้พันธมิตรทุกภาคส่วนได้เข้ามาทำงานร่วมกัน ซึ่งโครงการนี้จะเป็นโอกาสของสตาร์ทอัพที่จะได้ร่วมงานกับพันธมิตรในการ scale up หลังจากจบโปรแกรม 

5. เข้าร่วมกิจกรรมนี้แล้วได้อะไรบ้าง ได้โอกาสรับเงินลงทุนจาก depa ไหม?

ผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้จากผู้สอนที่มีประสบการณ์เฉพาะด้านผ่านหลักสูตรของโปรแกรมตลอด 12 สัปดาห์ ทั้งนี้ยังมี Workshop  และ Mentoring Session รวมไปถึงกระบวนการ Proof of Concept ซึ่งเป็นไฮไลท์ของโครงการที่จะเป็นโอกาสสำคัญที่สตาร์ทอัพจะได้ทำงานร่วมกับเครือข่ายขององค์กร หน่วยงานและเมืองต่างๆ ที่มีความต้องการสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของดิจิทัลสตาร์ทอัพ 

เมื่อจบโครงการ ก็ยังมีโอกาสได้ร่วมงานกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ เครือข่ายของกลุ่มพัฒนาเมือง พันธมิตรของ depa ที่เป็นหน่วยงานเอกชน รวมไปถึงเครือข่าย ASEAN Smart Cities Network เครือข่ายพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จาก 26 เมืองใน 10 ประเทศอาเซียนด้วย

ตลอดการทำงานร่วมกับ depa ในโครงการ depa Accelerator Program (ASEAN’s First Smart City Accelerator) นี้ นอกจากผู้เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้จนสามารถสร้างโมเดลธุรกิจที่แข็งแรงและได้แสดงศักยภาพการทำงาน โครงการนี้ก็ยังจะเป็นอีกหนึ่งประตูโอกาสไปสู่การขอได้รับเงินอุดหนุนจาก depa ที่จะมีมาตรการการรับสมัครที่แตกต่างไปจากโครงการ  Accelerator 

6. ไม่แน่ใจว่า product ของตัวเองเข้าข่าย smart city ประเภทไหน?

เพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายเมืองอัจฉริยะทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนาให้เมืองน่าอยู่ ทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข  อย่างยั่งยืน

โครงการ depa Accelerator Program (ASEAN’s First Smart City Accelerator) จึงได้เปิดโอกาสให้เทคสตาร์ทอัพด้าน Smart Environment, Smart Economy, Smart Energy, Smart Governance, Smart Living,  Smart Mobility, และ Smart People ที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการร่วมพัฒนาและแก้ปัญหาเมือง เข้ามาทำงานร่วมกับเมืองที่อยู่ในเครือข่ายของ depa ทั้ง 5 เมือง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, จังหวัดขอนแก่น, จังหวัดชลบุรี, จังหวัดเชียงใหม่, และจังหวัดภูเก็ต ทั้งนี้หากไม่แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการของตัวเองจัดอยู่ในเมืองอัจฉริยะประเภทใด สามารถหาข้อมูลประเภทของเมืองอัจฉริยะได้ที่ https://smartcitythailand.or.th/


โอกาสมากมายรออยู่ข้างหน้าแล้ว

อย่ารอช้า คลิ๊กเข้าไปสมัครเลย! ที่นี่ https://techsauce.co/depa-accelerator

หมดเขตรับสมัครวันที่ 24 พฤศจิกายน 2562

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการได้ที่นี่

Phone number: 0814972009

Email: [email protected]







ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...

Responsive image

สำรวจ orbix เมืองหลวงแห่งโอกาสของคริปโตเนียนและจักรวาล Digital Asset ของ Unita Capital

ทำความรู้จักแพลตฟอร์ม orbix กระดานเทรดนี้ต่างจากที่อื่นตรงไหน หัวใจสำคัญของการเปิด ‘เมืองหลวงแห่งโอกาสของคริปโตเนียน (The Capital of Kryptonian)’ คืออะไร รวมไว้ในบทความนี้แล้ว...