เจาะเทรนด์ปี 2022 กับ Wisesight เมื่อกระแสโซเชียลเปลี่ยนทุกวัน แบรนด์ต้องปั้น Content แบบไหนถึงเอาอยู่ ? | Techsauce

เจาะเทรนด์ปี 2022 กับ Wisesight เมื่อกระแสโซเชียลเปลี่ยนทุกวัน แบรนด์ต้องปั้น Content แบบไหนถึงเอาอยู่ ?

ที่ผ่านมา Wisesight ได้มีการฉายภาพข้อมูลเชิงลึกในหลากหลายด้าน ซึ่งปี 2021 ที่ผ่านมา เราก็ได้เห็นเทคโนโลยีที่มีความเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ทั้งต่อภาคเศรษฐกิจ ภาคสังคม รวมทั้งการใช้ชีวิตของผู้คน และแนวทางการดำเนินธุรกิจขององค์กร เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคใหม่ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 และในปี 2022 นี้ แน่นอนว่าเทคโนโลยีดิจิทัลจะมีความสำคัญและทรงพลังขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังรวมไปถึงการสร้างสรรค์คอนเทนต์ และนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างในการแข่งขันในตลาดอีกด้วยเจาะเทรนด์ปี 2022 กับ Wisesight เมื่อกระแสโซเชียลเปลี่ยนทุกวัน แบรนด์ต้องปั้น Content แบบไหนถึงเอาอยู่ ?หัวใจหลักคือ 'Consumer'

คุณพุทธศักดิ์ ตันติสุทธิเวท Data Research Manager, Wisesight Thailand บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลด้านโซเชียลมีเดียในประเทศไทย เปิดเผยข้อมูลท่ามกลางกิจกรรม 'Tech-in-Trend Media Workshop by GWM' ที่จัดโดย เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย) โดยปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจในยุคนี้หนีไม่พ้นเรื่องของ 1.Consumer ทั้งลูกค้าปัจจุบัน ,ลูกค้าของผู้อื่น ,ลูกค้าโดยทั่วไป 2.Digital tools เครื่องมือดิจิทัล ได้แก่ Digital Landscape ,Media / Platform และ 3.Value Proposition ข้อเสนอที่มีค่า โดยที่จะต้องรู้ว่าอะไรคือคุณค่าที่เราส่งมอบให้กับลูกค้า โดยทั้งหมดนี้มี Digital Strategy หรือ ทางเลือกสู่เป้าหมาย ด้วยการใช้ดิจิทัลเป็นตัวเลือกเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์

สำหรับลำดับของประเทศไทยในสเกลโลกในแง่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Internet Adoption การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของประชากรไทยอยู่ที่ 77% ส่วนความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมือถือโดยเฉลี่ยในหน่วย เมกะบิท (Mbps) ของไทยอยู่ที่ 49.37

ขณะที่สิ่งที่นักการตลาดพยายามศึกษาและอัพเดทมาอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี ซึ่งเป็นแนวทางในการสร้างคอนเทนต์ในช่องทางออนไลน์ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค โดยต้องยึดหลักสำคัญ คือ 1.เข้าใจ Consumer ที่ปีนี้มีความชัดเจนอยู่ 3 ด้าน ได้แก่ 

1.Humanity หรือ มนุษยชาติ ได้แก่ ปัจเจกนิยม ,ความถูกต้องทางการเมือง ,ความหลากหลาย ,ความยั่งยืน อาทิ Realsizebeauty ,การตอบโจทย์ความยั่งยืนอย่างแคมเปญลอยกระทงสุดกรีน ซึ่งถือเป็นความหมายใหม่ ที่สะท้อนคุณค่าใหม่

ต่อมา Life Appreciation การอยากมีความสุขในชีวิตมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Stay with Covid รวมถึง หมวดอาหารการกินจะมีการแชร์วิธีการทำอาหารมากขึ้น และเป็นแนว Easy Premium มากขึ้น คือการกินที่หรูหรา และทำได้ที่บ้าน ,Home Gadget เช่น เครื่องล้างจาน โซลาร์เซลล์ จักรยานไฟฟ้า หรือ แม้กระทั่งเทรนด์การปลูกต้นไม้ อย่างไม้ด่างต่างๆ ,Mental Health สุขภาพจิต ที่อินได้ เครียดได้ แต่ต้องดูแลตัวเองด้วย ,Life at home อย่างเช่น Workformhome ,Smart Living ,Home Activity

เจาะเทรนด์ปี 2022 กับ Wisesight เมื่อกระแสโซเชียลเปลี่ยนทุกวัน แบรนด์ต้องปั้น Content แบบไหนถึงเอาอยู่ ?

สำหรับ Digital Transformation ได้แก่ Seamless online experience อาทิ ช้อปปิ้งออนไลน์ โดย 69.2% ของคนไทยมีการซื้อขายผ่านออนไลน์ทุกสัปดาห์ ถือเป็นอันดับ 1 ของโลก อีกทั้งกิจกรรมบนโลกออนไลน์ จากการที่โควิดทำให้เราต้องเปลี่ยนจากออฟไลน์เป็นออนไลน์แบบไม่สะดุด อย่างเช่น การเรียนออนไลน์ ,การทำงานผ่านทางออนไลน์ และ การแสดงคอนเสิร์ตทางออนไลน์ รวมถึง Online world อย่าง ลดพื้นที่ เวลา และข้อจำกัดทางกายภาพ เช่น Metaverse ,Virtual world

และที่ขาดไม่ได้ในการทำการตลาดท่ามกลางการยุคดิจิทัลนั่นคือ 'Digital Content' อย่าง Subscription content ที่ค่อนข้างเติบโต โดยกว่า 70.3% ของผู้ใช้ชาวไทยใช้จ่ายกับ Digital content ไม่ว่าจะเป็น Netflix ,Disney Plus Hotstar ,Webtoon อีกทั้ง Digital Asset / NFT ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน

สำรวจ 'Content' ปั้นอย่างตรงจุด 

นอกจากนี้เทรนด์ทางด้าน Content ที่จะต้องสำรวจก่อนว่าอะไรที่เป็นที่นิยม ซึ่งในปีที่ผ่านมา อย่างด้านบันเทิงประเด็นที่ได้รับความนิยมอย่างมากไม่ว่าจะเป็น Lisa Fever ,Miss Universe

ส่วนปรากฏการณ์ทางสังคมที่เป็นกระแสถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางนั่นคือประเด็นของ 2 พส. ,พิมรี่พาย อีกทั้งประเด็นทางสังคม ได้แก่ Covid-19 ,การเมือง  และภัยพิบัติต่างๆ 

สำหรับแนวทางของการถ่ายทอดคอนเทนต์ชที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายคงหนีไม่พ้น Live Stream Content ,Give culture ,Social Activism ,Localized content ,Surprise Knowledge

2.Audio Content อาทิ Clubhouse 

3.Community การเข้าไปอยู่ในกรุ๊ปเพื่อความสัมพันธ์กับผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งต้องสร้างคอมมูนิตี้เพื่อกลุ่มเป้าหมาย

4.Influencer Trend เทรนด์อินฟลูเอนเซอร์ที่กำลังมาแรง ที่แบ่งออกเป็น Performance-Based Deals ข้อเสนอตามผลงาน ,Become More Specialized กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญมากขึ้น ,Cause and Issue มูลเหตุและปัญหา ,Authenticity  ความถูกต้อง

5.Short form video ที่มีแทบทุกแพลตฟอร์ม อย่างเช่น TikTok , Line voom ,Instagram reels 

6.New Standard Of Consumer มาตรฐานใหม่ของผู้บริโภค อย่างเช่น การแสดงจุดยืนในประเด็นทางการเมืองและสังคมของผู้บริโภค

7.Content Monetization แพลตฟอร์มหลักจะลงทุนกับอินฟลูเอนเซอร์มากขึ้น เพราะสร้างสรรค์คนเทนต์และดึงอินฟลูเอนเซอร์มาอยู่ในแพลตฟอร์มมากขึ้น

8.Pay for VIP การใช้จ่ายสำหรับการเป็น VIP อย่างการ Subscribe 

'Short Video' มาแรงแห่งปี

เจาะเทรนด์ปี 2022 กับ Wisesight เมื่อกระแสโซเชียลเปลี่ยนทุกวัน แบรนด์ต้องปั้น Content แบบไหนถึงเอาอยู่ ?

ถัดมา 'เทรนด์ในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ ในปี 2022'  ได้แก่


1.TikTok in King (and all of the short videos)
2.Snackable Content หรือ Content สั้น ๆ ที่อ่านง่าย ๆ นั่นเอง
3.Reach VS Retention บาลานซ์สไตล์คอนเทนต์เพื่อตอบโจทย์กลุ่มคนที่หลากหลายเพื่อเพิ่มการเข้าถึง
4.Rise of AR/VR การเพิ่มขึ้นของเทรนด์ AR/VR ที่จะเห็นมากขึ้นในฝั่ง Entertainment และ Education
5.Social Shopping & Selling การช้อปปิ้งและการซื้อขายทางโซเชียลมีเดีย
6.Live Content การไลฟ์คอนเทนต์ผ่านช่องทางต่างๆ
7.Community and connect ชุมชนและการเชื่อมต่อฦ
8.Continue in Influencer & Audio Content การดำเนินการในฝั่งของอินฟลูเอนเซอร์ และ Audio Content
9.Meme Content คอนเทนต์ที่ได้รับความสนใจและเป็นมีม

"สรุปง่ายๆคือ เราจะต้องเข้าใจแนวโน้ม Consumer โดยจะต้องตาม Consumer ให้ทัน และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของแพลตฟอร์มว่ามีการสนับสนุนอะไร ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นหัวหอกสำคัญในปีนี้ แต่จริงๆ คอนเทนต์อื่นๆก็ยังคงอยู่ แต่ความแตกต่าง หลากหลายของสื่อ อย่าง วิดีโอ รูปภาพ ก็ยังคงอยู่ แต่ Short Video จะเป็นหัวใจหลักสำคัญที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ด้วยพลังของ TikTok และทุกแพลตฟอร์มที่สนับสนุน และสุดท้ายคือการใช้เทคนิค เทคโนโลยีใหม่ๆที่จะต้องตามให้ทัน อย่างเช่นปีที่ผ่านมาเราได้เห็น Live Stream มากขึ้น และเมื่อเทคโนโลยี AR/VR ที่จะมาแรงในปีนี้ เราจะได้เห็นคอนเทนต์ประเภทนี้ที่สร้างสรรค์และหลากหลายขึ้น เพื่อจะได้มีเทคนิคใหม่ๆในการนำเสนอคอนเทนต์"

และด้วยความที่การสร้างสรรค์คอนเทนต์นั้นล้วนต้องอาศัยหลากปัจจัย หนึ่งในนั้นคือพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิทัล จึงต้องพึ่งพา Content Tip&Trick  เทคนิคการสร้างคอนเทนต์ ด้วย Keyword planning ที่คนสนใจ ได้แก่ Google Trend ,Social Listening 

เจาะเทรนด์ปี 2022 กับ Wisesight เมื่อกระแสโซเชียลเปลี่ยนทุกวัน แบรนด์ต้องปั้น Content แบบไหนถึงเอาอยู่ ?

ขณะเดียวกันการสร้างสรรค์คอนเทนต์ยังต้องอาศัย 1.Same Place ซึ่งคอนเทนต์ของเราควรไปอยู่ที่เดียวกับ Consumer 2.Same Value ให้คุณค่าเดียวกัน 3.Same Language ใช้ภาษาเดียวกัน อย่างเช่น ต๊าช

"สุดท้ายแล้วโดยภาพรวมคือการที่จะเจาะแพลตฟอร์มต่างๆเหล่านี้ได้จะต้องสนใจอัลกอลิทึมของแพลตฟอร์ม เพราะเกือบทุกแพลตฟอร์มมักจะบอก 3 เรื่องนี้เป็นหลัก คือ Recently หรือ ความสดใหม่ฉะนั้นการโพสต์ถี่ๆ บ่อยๆ จะช่วยได้ ,Relevance ความเกี่ยวข้องกับผู้บริโภค ดังนั้นเราจะต้องสร้างคอนเทนต์ที่ใกล้ตัวและเกี่ยวข้อง และ Format ปี 2022 ทุกแพลตฟอร์มจะเน้นวิดีโอ ดังนั้นทั้งหมดนี้จึงเป็นพื้นฐานของอัลกอลิทึ่มแพลตฟอร์มทั้งหมด รวมทั้งในส่วนของแพลตฟอร์มเราจะต้องรู้ว่า คนอ่านเราอยู่ที่ไหน สไตล์และความถนัดขแงเราคืออะไร และความพร้อม/บริการ จากนั้นสร้างสรรค์คอนเทนต์ตามสไตล์และความถนัดใต้ปัจจัยเหล่านี้"

สำหรับทิศทางเทรนด์มีแวดวงดิจิทัลและเทคโนโลยีในปี 2022 มองว่าจะเป็นในส่วนของ BIG (and Small) Data ซึ่งโดยปกติเรามีการใช้เดต้าเพื่อข้อมูลเชิงลึก ,เครื่องวัดผล เพื่อนำไปสู่การรู้เพื่อทำสิ่งต่างๆ โดยสามารถประเภทของเดต้า ได้แก่ Internal และ External

2.Virtual & Hybrid world ที่สามารถแบ่งออกเป็น Virtual Identity เช่นที่เห็นในช่วงที่ผ่านมาอย่าง Influencer เอไอ 'Ailynn' หรือ แม้กระทั่งการที่ค่ายเพลงเกาหลี SM Town ปล่อยวงใหม่ ‘aespa’ ที่มีทั้งนักร้องจริงและ Virtual Idols

รวมทั้ง Hybrid Experience อย่างเช่น การจัดงานแถลงข่าว หรือ สัมมนาต่างๆผ่านทางช่องทาง Online & Onsite รวมถึงเทรนด์ของ Metaverse และ Automotive Trend อย่าง EV, Self driving car หรือ รถยนต์ไร้คนขับ

"สิ่งที่น่าจะได้เห็นแน่ๆของในแวดวงดิจิทัลและเทคโนโลยีในปีนี้ คือการมาของ VR/AR เพราะฉะนั้นคอนเทนต์ประเภทนี้จะมีให้เห็นมากขึ้น 2.Digital Asset อาทิ คริปโทฯ DEFI NFT GamFI ซึ่งปีที่ผ่านมาค่อนข้างเติบโตอย่างมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าการกำกับดูแลการควบคุมจะเป็นอย่างไร และ 3.เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น ซึ่งเนื่องจากคนจะอยู่บ้านมากขึ้นอย่าง Gadget ,เครื่องปิ้งย่างในบ้านไร้ควัน"

ดังนั้นในฐานะสื่อเราจะต้องรู้ว่าเทรนด์ต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านี้พวกเราสามารถทำอะไรได้บ้าง ?  เพราะ Consumer ยุคนี้มีความคิด ระวังดราม่าเรื่องเป็นหลัก ซึ่งเขาจะมีการเปรียบเทียบกับ Global Standard ฉะนั้นต้องเข้าใจให้มากๆว่าความถูกต้องในระดับ Global Standard เป็นแบบใด เราจึงจะสามารถสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้ไปทิศทางนั้นได้

และที่สำคัญในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้ตรงจุด ต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ อันได้แก่ 1.Listen & Understand : ฟังและทำความเข้าใจให้เยอะ เพราะผู้บริโภคในยุคต่อไปจะมีความไดนามิกมากขึ้น และมีความสนใจที่หลากหลายและมีความซับซ้อน ฉะนั้นต้องฟังและเข้าใจผู้บริโภคให้เยอะ

2.Agility Working ความคล่องตัวในการทำงาน อย่างเช่น การทำงานในรูปแบบของสตาร์ทอัพ ที่เรามีความเชื่อมั่น ดังนั้นการทำงานจะต้องเป็นรูปแบบใหม่ๆรวดเร็ว โดยเฉพาะการทำงานแบบสตาร์ทอัพที่จะต้อง “ล้มให้ไว และเรียนรู้ให้ไว” อยากให้ลองอะไรใหม่ๆที่ไม่คุ้นเคย และวัดผล เรียนรู้ พร้อมกับปรับปรุง

3.Data Strategy : กลยุทธ์ข้อมูล หลังจากนี้การอ่านข้อมูล การเข้าใจข้อมูลทำยังไงให้สามารถเข้าใจผู้อ่านแบบรายบุคคล

4.Personalization : แบบเฉพาะเจาะจงต่อบุคคล ซึ่งต้องรู้ว่าผู้อ่านชอบคอนเทนต์แบบใดและเราจะต้องสร้างสรรค์คอนเทนต์พร้อมกับนำเสนอคอนเทนต์แบบรายบุคคลได้

ทริคเพิ่ม 'Engagement'

สุดท้ายนี้เทคนิคการเพิ่ม Engagement ให้กับคอนเทนต์มี ปัจจัยสำคัญหลายประการ ซึ่งต้องอาศัย Only the paranoid survive ดังนั้นปัจจัยสำคัญที่คนทำคอนเทนต์ต้องพึงนึกอยู่เสมอแบ่งออกเป็น
1.ให้นึกอยู่เสมอว่า ยังมีคนอยากเสพย์คอนเทนต์เราอยู่ไหม ?
2.ใครที่เป็นคนอ่านของเรากันแน่ ?
3.ช่องทางการสื่อสารครบถ้วนเพียงพอไหม ? และเข้าถึงคนอ่านได้มากน้อยแค่ไหน
และ 4.ยังสามารถนำเสนอ “คุณค่า” เดิมที่เคยมีได้ไหม

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...