คุยกับ 'คุณสมโภชน์' แห่ง dtac accelerate กับบทบาท Mentor ระดับโลกใน Google Launchpad | Techsauce

คุยกับ 'คุณสมโภชน์' แห่ง dtac accelerate กับบทบาท Mentor ระดับโลกใน Google Launchpad

ไม่ใช่แค่ Priceza เท่านั้นที่มีส่วนร่วมกับโครงการ Accelerator ระดับโลกอย่าง Google Launchpad Accelerator รุ่นที่ 5 bacth nov 2017 แต่ยังมีบุคคลสำคัญท่านหนึ่งที่เป็น Mentor ให้กับโครงการนี้ นั่นคือคุณสมโภชน์ จันทน์สมบูรณ์ หรือพี่เหม็ง ผู้อำนวยการโครงการ dtac accelerator ซึ่งได้ทำหน้าที่ Mentor ให้กับโครงการผลักดัน Startup ระดับโลกเป็นปีที่ 2 แล้ว ซึ่ง Techsauce ได้ร่วมพูดคุยกับพี่เหม็ง ณ สำนักงานใหญ่ของ Google ที่สหรัฐฯ ถึงที่มาของการได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ และมุมมองของพี่เหม็งต่อเทรนด์ปัจจุบันที่ Startup ไทยต้องติดตาม!

พี่เหม็งไปทำอะไรที่ซานฟรานซิสโก?

หลักๆ มีอยู่ 2 เรื่องคือมาเป็น Mentor ปีนี้เป็นปีที่ 2 ที่เป็น Official Mentor ซึ่งทาง Google ก็จะเสาะหา Mentor มาที่นี่ 30-40 คนต่อรอบ อาจจะแบ่งเป็นแต่ละรอบ เพราะต้องดูว่า Mentor แต่ละคนเก่งหรือถนัดเรื่องไหน และมาประชุมกับ Partner speed ของ Google ปีนี้เป็นปีที่ 3

นอกจากพี่เหม็งแล้ว มี Mentor คนอื่นๆ ที่มาจากเมืองไทยอีกไหม?

เนื่องจากเราเป็นพาร์ทเนอร์กับ Google อยู่แล้ว Mentor ที่มาในรอบแรกๆ ก็มีคุณโบ๊ท ไผท คุณสมหวัง และก็มีคุณทิวา คุณหมู แต่ติดเรื่องเวลาที่ว่างไม่ตรงกัน

พี่เหม็งมาเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านไหน?

เราน่าจะช่วยเขาได้ในเรื่องมุมมองของฝั่งผู้ใช้ทวีปเอเชีย เรื่อง Growth Hacking การระดมทุน ที่พอจะช่วยเขาได้ เพราะเบื้องหลังเราก็ไปทางด้านการเงิน

จุดเริ่มต้นในการเป็น partner กับ Google

เริ่มจากว่า Google เขามี Regional Lead ตอนนั้นจะเป็นคุณบ๊อก ดูเรื่อง Google Developer ซึ่งในตอนนั้นเขามาที่เมืองไทยพอดี  มีคนแนะนำให้คุยกับ Accelerator และเราก็นัดคุยกัน คุยไปคุยมาแล้วมันตรงกันเรื่อง objective เราต้องการจะผลักดัน Startup ไทยให้ไประดับภูมิภาคและระดับโลกได้  คุยไปคุยมาเขาก็อยากได้ Mentor ในเอเชียไปช่วยด้วย ซึ่งตอนนั้นเราก็มีในใจ เช่น คุณทิวา คุณหมู คุณโบ๊ท คุณหวัง ซึ่งปีแรกก็ได้คุณโบ๊ท และคุณหวังมาช่วย

ในแต่ละปีเขาจะเปลี่ยนวิธีคัดเลือกทีม ปีนี้จะเลือกทีมที่อยู่ในช่วง Mature และในระดับ series A แล้ว และอยากจะนำ Machine Learning ด้วยเหมือนกัน ปีก่อนหน้านี้ที่ Piggipo มา เขาอยากได้ทีมที่สามารถ Dominate Market ได้ระดับหนึ่งในอุตสาหกรรมนั้นๆ ส่วนปีที่ Skootar, Wongnai มาก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง เขาดูในเรื่อง Scalable Model

เรื่องกระบวนการหรือเรื่องอื่นๆ ในโปรแกรม Launchpad มีการเติบโตหรือพัฒนาอย่างไรบ้าง

Startup ที่เข้ามาก็คุณภาพดีขึ้น เก่งขึ้นทุกๆ ปี เป็นทีมที่เขาสนใจในปีนั้นๆ จริงๆ ส่วน Mentor ก็จะมีความเชี่ยวชาญที่หลากหลายมาก เจอแต่ละคนคือเทพทั้งนั้น คนที่ Google บอกว่าคนนี้คือดีที่สุดแล้ว

มันเป็นตลาดที่ไม่เหมือนใคร ด้วยแต่ละประเทศมีภาษาที่ไม่เหมือนกัน พฤติกรรมก็ไม่เหมือนกัน แต่ก็ดีที่เจอเมนเทอร์ระดับนี้  DTAC Accelerate ปีนี้ก็จะมีเมนเทอร์จาก Google ด้วย จะเข้มข้นกว่าทุกปี แต่ Google ก็จะมี regional Accelerator ด้วย โมเดลจะเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนคือ mobile related เป็น AI related

มองเทรนด์ไปในทิศทางเดียวกับที่ Google มองไหม ที่เปลี่ยนจาก mobile related เป็น AI related

เรามอง 2 ส่วนคือ เมื่อก่อนเรามีอินเทอร์เน็ตทำให้ ecosystem ของอินเทอร์เน็ต และเกิดบริษัทที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต เช่น Facebook Google Apple พี่มีความเชื่อว่า Blockchain Base จะ Disrupt อินเทอร์เน็ตหรือเป็น ecosystem มันก็จะเกิด bitcion ซึ่งเป็นส่วนเล็กๆ ที่ blockchain ทำได้ และน่าจะเปลี่ยนวิถีชีวิตเราพอสมควร internet base ก็จะกลายเป็น blockchain base  

สองคือเรื่อง AI ที่ใช้หุ่นยนต์มาขายป๊อบคอร์นแทนคน Machine Learning ที่นำมาเรียนรู้

จากที่มาเข้าร่วมโปรแกรมนี้ ได้นำอะไรกลับไปใช้ใน Ecosystem ของ Startup ในเมืองไทยบ้าง?

วิธีที่ Google ทำ Launchpad Accelerator คอนเทนต์ที่เขาใช้ ไม่ว่าจะเป็น Design Print และอื่นๆ เป็นสิ่งหนึ่งที่เราพยายามเรียนรู้จากตรงนี้ก็พยายามนำไปใช้ หลักๆ คือเรื่อง Content Base อีกเรื่องคือเรื่อง Mentor เราคิดว่า Resource ไหนเหมาะกับบ้านเมืองไทยก็จะเอาคนนั้นมาที่เมืองไทย อีกหลักสูตรที่ดีมากๆ คือ Leader Lab เกิดจากนักวิเคราะห์ นักคณิตศาสตร์ของ Google ซึ่งเขาเอา leader ต่างๆ มาวิเคราะห์เป็นตัวเลข และทำเป็นหนังสือ วิธีการสร้าง Leader นั่นคือหลักสูตร Leader Lab ที่เขาใช้กับ Startup  พี่คิดว่าเป็นสิ่งที่มีเงินก็ซื้อไม่ได้

Startup ไทยขาดเรื่องนี้เหมือนกัน เรามี Founder ที่เก่ง แต่ไม่ได้มีทีม Management ที่แข็งแรงที่จะพา Startup โตไปในระดับนั้น คิดว่าก็น่าจะนำไปใช้กับประเทศเรา

ตอนนี้ DTAC Accelerate เป็น Exclusive Partner กับ Google เจ้าเดียวในเมืองไทย?

จะพูดอย่างนั้นก็ได้ เพราะเป็น Selected Partner ประเทศละหนึ่งเจ้า อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ก็ประเทศละ 1 คน

SEA มีความเป็นเอกลักษณ์ (Unique) จากที่พี่ได้ไปคุยกับเมนเทอร์หรือ Startup รายอื่นๆ ใน SEA ตอนนี้มองภาพรวม Ecosystem ของ SEA เป็นอย่างไรบ้าง?

เป็นอะไรที่เนื้อหอม เพราะขนาดตลาดกว่า 600 ล้านคน โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และเวียดนาม Google เค้าก็เห็น Developer เก่งๆ ที่พัฒนาจากภูมิภาคของเรา ซึ่งเราก็เก่งไม่แพ้ใคร เห็น Startup หลายๆ รายเขาจะมีวิธีคิดที่ Think Global Execute Local แต่ถ้า Think Local Execute Global ก็จะยาก

ในแง่ของการเป็น Partnership กับเพื่อนบ้านเราก็มีอยู่แล้ว แต่ต้องมองย้อนกลับมาที่ Startup ไทยสักกี่รายที่ไปนอกประเทศ ไม่รู้ว่าด้วยเหตุผลอะไร แต่ถ้าให้เดาคงจะเป็นในเรื่องภาษา วัฒนธรรม และอื่นๆ จะมี Startup ไทยที่รายที่อยากไปมาเลเซีย อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศมุสลิม แต่ถ้ามองย้อนกลับ เขาเป็นประเทศที่ใหญ่ ซึ่งก็มี Startup ระดับ Unicorn อยู่

พี่มองว่า Startup ไทยที่จะไปเติบโตในอินโดนีเซียได้ คือเกี่ยวกับเรื่อง supply chain เพราะคนอินโดนีเซียกินข้าวนอกบ้านเยอะ  คุณต้องเข้าใจใจวัฒนธรรมของเขาด้วย

Startup ไทยออกนอกประเทศน้อย จริงๆ แล้วเค้าไปไหน ทำอะไรอยู่ หรือตลาดในไทยยังมีที่ให้เล่นอยู่?

จริงๆ  Startup ไทยที่ไปต่างประเทศก็มี เช่น claimdi ไปที่สิงคโปร์ แต่ก็ยังมีรายใหญ่ๆ อย่างเช่น วงใน ที่เขาก็ยังเน้นในตลาดไทยอยู่ และในเรื่องอื่นๆ ที่กล่าวไป เช่น เรื่องวัฒนธรรม ภาษา ความมั่นใจที่จะไปก็แตกต่างกัน มันก็ขึ้นอยู่กับเราว่าเราพร้อมขนาดไหน เรา Think Global จริงไหม อาจจะเกี่ยวกับเรื่องการหาเงินทุนด้วย เพราะถ้าไปต่างประเทศ ก็เท่ากับว่าเราเป็น Startup ใหม่ในประเทศนั้นด้วย แต่โดยรวมๆ มันขึ้นอยู่กับ Mindset มากกว่า

ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมาก็จะหน้าเดิมๆ รายไหนที่โตก็โตอย่างรวดเร็ว วนไปมาอยู่ใน ecosystem แต่ยังไม่ค่อยเห็น Startup หน้าใหม่ๆ ที่ประสบความสำเร็จจริงๆ พี่คิดว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ส่งผลอย่างนั้นหรือจะทำอย่างไรให้คนรุ่นใหม่ที่สนใจเรื่องนี้มาอยู่ในช่วง 3-5 ปีนี้

เป็นโจทย์ที่ DTAC Accelerate มองเรื่องนี้อยู่ จะเห็นว่ากราฟช่วงแรกๆ ที่มี Startup ที่ประสบความสำเร็จ เช่น OOKBEE Builk วงใน ถัดมาจะเป็น SKOOTAR Finnomina ถัดมาอีกก็จะเป็น indiedish มันจะไล่เป็นgeneration  แต่ว่าช่องว่างยังมีอยู่ ซึ่ง gen ตั้งแต่ A ไป B ยังไม่ได้มีให้เห็นเยอะ แต่จาก Seed ไป A มีไม่ถึงครึ่งหนึ่งของทีมที่ได้ Seed ซึ่งพี่ว่ามันเป็นโจทย์ใหญ่ พี่ก็หวังอยากให้ accelerator รายอื่นๆ รีบหาตัวเองให้เจอ ถ้าจะเป็น CVC ก็ปั้นให้เกิดให้เร็ว แต่ถ้าจะเป็น VC ที่จะปั้นให้ไปจนถึงภูมิภาค ก็รีบปั้นให้เกิด ซึ่งไม่ใช่เป็นแค่บ้านเรา  เมื่อทำไปได้ 1 ปีก็เกิดปัญหานั่นนี่ ก็ไม่ทำต่อ ซึ่งเด็กที่เข้ามาใหม่ก็ไม่มีความรู้และไม่มีใครคอยบอก ก็อยากฝาก accelerator เจ้าอื่นๆ ด้วย เราเก่งเรื่องอะไรก็ปั้นในเรื่องนั้นๆ ไม่จำเป็นต้องทำเหมือนกันหมด ถ้าคิดว่าทำได้ดีกว่าก็ทำไปต่อไป แต่ถ้าคิดว่าไม่ก็อย่าทำ ถ้าเก่งเรื่อง Fintech หรือ Property ก็ทำในสิ่งที่ตนเองถนัด ทำให้มันสุด ผลักดันเขาไปจนถึงมียอดผู้ใช้จนถึงหลักล้านต่อเดือน

ถ้าเป็นคนนอกวงการหรือกำลังเริ่มทำ Startup  และกำลังมองหา Accelerator พี่จะชวนให้เขา DTAC Accelerate อะไรคือจุดแข็งหรือ Startup แบบไหนที่ DTAC Accelerate กำลังมองหา

สิ่งที่ตั้งไว้ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ พี่มองว่าเรามองหา Startup ที่ anything mobile, anything internet, anything awesome คืออะไรก็ได้ที่มันเจ๋ง เจ๋งพอที่จะมีคนใช้เกินหลักล้านคน และการที่คุณจะมีไอเดียหรือมีผลิตภัณฑ์ขนาดนั้น คุณต้องมาพร้อมทีมที่ใช่ ในเวลาที่ถูก ทุกคนมีไอเดียเจ๋งกันหมด ประเด็นคือไม่ใช่ทุกคนที่ทำได้ แต่ต้องมีทีมที่ทำได้ คุณตามคนเดียวไม่ได้ คือคุณไม่ใช่ Steve Job, Mark Zuckerburg แต่ถ้าคุณเป็น อย่างไอน์สไตล์ เราก็โอเค แต่การที่จะเจอคนแบบนั้นใน 7,000 ล้านคนทั่วโลกมันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ฉะนั้นต้องมาพร้อมทีมที่แข็งแรง

คำแนะคำคือถ้าอยากจะเข้า accelerator ให้ดู alumni ดูสิ่งที่เขาสนับสนุนและมันเหมาะกับเราไหม ดูว่าก่อน เข้า ระหว่างเข้า และจบออกมาแล้วเป็นอย่างไร ทุกวันนี้ยังอยู่ในความดูแลของ accelerator รายนั้นไหม ถ้าดู แบบนี้เราจะเห็นว่าเราเหมากับ accelerator รายไหน ซึ่งแนวความคิดในการทำ accelerator ก็ต่างกัน แล้ว แบบไหนที่เหมาะกับเรา หรือถ้าเจอ Startup รายไหนก็สามารถเข้าไปคุยหรือถามได้ เป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่ง

DTAC Accelerator Batch 6 ก็กำลังเปิดรับสมัครอยู่ มีสมัครเข้ามาร้อยกว่าทีม เราเลือกแค่ 12 ทีม และเมนเทอร์ที่แข็งแกร่งกว่าเดิม เตรียมตัวให้พร้อม คือ validate ให้ชัด มีผลิตภัณฑ์ที่ใช่ มีทีมที่ถูกต้อง จะอยู่ใน stage ไหนก็ได้ สรุปคือ หาทีมที่ใช่ในเวลาที่ถูกต้อง ถ้ามี passion ที่มาพร้อมกับจุดมุ่งหมายและพร้อมที่จะทำให้ชีวิตคนดีขึ้นด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ถ้าคุณไม่ออกมาเลยมันก็ยังเป็นเพียงแค่ความฝัน

โปรแกรมของ DTAC มีระยะเวลาคือ Official Bootcamp 4 เดือน มีเมนเทอร์ระดับโลกมา coach ให้ หลังจากจบแล้ว เราก็จะอยู่กับเขาจนกว่าเขาไม่ต้องการเรา ซึ่งหลายๆ ทีมก็ยังอยู่กับเรา เราก็สนับสนุนในเรื่องที่เราให้ได้

ในงาน Techsauce เดือนมิถุนายน เราจะได้เห็นความร่วมมืออะไรบ้างระหว่าง Google และ DTAC

เรื่องทั้ง 3 เรื่องที่ Startup ทั่วโลกควรรู้ และเราเอาคนที่เขียนหนังสือทั้ง 3 เรื่องนี้มาอยู่ที่เมืองไทย จะต้องเป็นเรื่องที่ว๊าว! ต้องรอดูกันต่อไป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...

Responsive image

เปิดดีล NVIDIA ปี 2024 ในอาเซียนไปร่วมมือใครมาบ้าง ?

NVIDIA ขยายอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2024 ด้วยการลงทุน AI Centers และการพัฒนาระบบ AI ร่วมกับพันธมิตรในอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และไทย ขับเคลื่อนภูมิภาคสู่การเป็นศูนย์...