เอลซัลวาดอร์เสี่ยงกับอะไรมากกว่ากัน ระหว่างการตัดสินใจของผู้นำ กับความผันผวนของ Bitcoin | Techsauce

เอลซัลวาดอร์เสี่ยงกับอะไรมากกว่ากัน ระหว่างการตัดสินใจของผู้นำ กับความผันผวนของ Bitcoin

นับได้ว่าสถานการณ์ของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลช่วงนี้เข้าสู่ภาวะตลาดหมีที่ต่างพากันซบเซาไม่น้อย แน่นอนว่าจากภาวะตลาดเช่นนี้ส่งผลกระทบต่อระดับประเทศด้วย โดยเฉพาะเอลซัลวาดอร์ ประเทศแรกที่ประกาศให้สกุลเงินดิจิทัลถูกกฎหมายประสบปัญหาเป็นอย่างมากจากการที่รัฐบาลได้ทยอยซื้อเหรียญ Bitcoin จนมีมูลค่าความเสียหายอย่างน้อย 50 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท) อย่างไรก็ตาม Nayib Bukele ประธานาธิบดีของ El Salvadol กล่าวว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้ทำให้ความมั่นใจของเขาในการผลักดัน cryptocurrency ลดลง

เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว Bukele ประกาศว่าจะเป็นประเทศแรกของโลกที่สามารถใช้สกุลเงินดิจิทัลได้อย่างถูกกฎหมายควบคู่ไปกับดอลลาร์สหรัฐ และในเดือนกันยายนก็ผ่านร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับ Cryptocurrency โดยเฉพาะ ซึ่ง Bukele กล่าวว่านี่จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ El Salvador ก้าวสู่การเป็นประเทศโลกที่ 1 ได้ 

ทำให้บรรดาธุรกิจต้องยอมรับการใช้ Bitcoin เป็นหนึ่งในรูปแบบการชำระเงินตามกฎหมาย แต่ในความเป็นจริงมีธุรกิจเพียง 1 ใน 5 เท่านั้นที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่รับชำระด้วย bitcoin แม้ว่าธนาคารกลางจะให้คำมั่นว่าจะแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลเป็นดอลลาร์ทันที เพื่อป้องกันความผันผวน

ที่มา: The Economist

Bukele ทำการผลักดันให้ประชาชนยอมรับและหันมาใช้สกุลเงินดิจิทัลด้วยการมอบ bitcoin ที่เทียบเท่ากับเงินมูลค่า 30 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1 พันบาท) ให้กับทุกคนที่ดาวน์โหลดและลงทะเบียนใช้งานกระเป๋าเงินดิจิทัลของรัฐที่ชื่อว่า “Chivo” (แปลว่าเจ๋ง) แต่หลังจากคนได้ใช้เงินนี้ไปแล้วมีจำนวนไม่ถึงครึ่งที่ยังคงใช้งานกระเป๋าเงินคริปโตนี้ต่อไป

นอกจากนี้ยังมีการตั้งตู้เอทีเอ็ม “Chivo” ซึ่งสามารถซื้อหรือแปลง bitcoin เป็นเงินสดได้ โดยไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่สนามบินหลักอย่าง San Salvador เพื่อชี้ให้เห็นว่า El Salvador เป็นประเทศที่เฟรนลี่และยินดีต้อนรับชาวคริปโตอย่างมาก และรัฐบาลยังวางแผนที่จะออกพันธบัตร “Volcano Bonds” เพื่อเป็นทุนในการสร้าง “Bitcoin City” ซึ่งเป็นแหล่งเก็บภาษีที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานความร้อนใต้พิภพจากภูเขาไฟ เพื่อดึงดูดนักขุดคริปโตรวมถึงนักลงทุนในแวดวงเข้ามาในประเทศ

ซึ่งงบประมาณที่นำมาลงทุนในโครงการคริปโตเหล่านี้มาจากการขอกู้เงินจาก IMF มูลค่า 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ แน่นอนว่า IMF ย่อมไม่อนุมัติการลงทุนที่มีความเสี่ยงและความผันผวนเช่นนี้ และยังแนะนำให้ รัฐบาลเลิกใช้กองทุนทรัสต์ที่มีมูลค่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐที่สร้างขึ้นเพื่อทำการประมูล Bitcoin และส่งเงินกองทุนที่ยังไม่ได้ใช้กลับไปยังคลัง แถมยังถูกลดระดับความน่าเชื่อถือซึ่งจะทำให้การกู้เงินของรัฐบาลมีดอกเบี้ยที่แพงขึ้น ส่งผลให้การออก Volcano Bonds ล่าช้า

แต่คนที่เชื่อมั่นในคริปโตอย่าง Bukele ย่อมไม่ยอมแพ้กับแผนครั้งนี้จึงของบผ่านงสภานิติบัญญัติ โดยแลกกับการลดงบประมาณด้านการศึกษา สุขภาพ และสภาท้องถิ่นแทน จึงเป็นที่น่าจับตามองว่าอนาคตของประเทศ El Salvadol ภายใต้การปกครองของ Bukele กับ bitcoin อะไรมีความเสี่ยงและความผันผวนกว่ากัน

จากความต้องการที่จะยกระดับ เพื่อก้าวไปสู่การเป็นประเทศโลกที่ 1 ผ่านการท้าทายต่อโครงสร้างเศรษฐกิจในระดับมหาภาค และความเสี่ยงของแหล่งเงินที่ลงทุนใน Bitcoin ความเชื่อมั่นที่รัฐบาลเอลซัลวาดอร์ต้องให้คำตอบกับประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลก


อ้างอิง: The Economist, bloomberg

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึกกลยุทธ์องค์กรยุคดิจิทัลกับการควบรวมกิจการในด้าน AI

สำรวจแนวโน้มการควบรวมกิจการด้าน AI ตั้งแต่ปี 2020-2024 กับกลยุทธ์องค์กรที่มุ่งเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ผ่านการลงทุนเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์...

Responsive image

สงคราม LLMs พลิกโฉมนวัตกรรม กำหนดอนาคต AI

ในปี 2024 โลกแห่งปัญญาประดิษฐ์กำลังเผชิญกับจุดเปลี่ยนสำคัญในการแข่งขันอันดุเดือดในตลาด LLMs ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือทางเทคโนโลยี แต่ยังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมทั่ว...

Responsive image

รู้จัก RNA Therapeutics โอกาสที่มาพร้อมความท้าทาย สู่อนาคตใหม่ของการรักษาโรค

เทคโนโลยี RNA therapeutics กำลังปฏิวัติวงการรักษาโรค ด้วยศักยภาพในการรักษาโรคที่รักษาได้ยาก ความก้าวหน้าในด้านนี้ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจำนวนมหาศาล คาดการณ์ว่าตลาด RNA therapeutics จะม...