ยุคแห่ง Disruptive : อนาคตของธนาคารในปี 2025 | Techsauce

ยุคแห่ง Disrupt กับภาคการเงิน: อนาคตและการเปลี่ยนแปลงของธนาคารในปี 2025

อุตสาหกรรมการเงินเป็นอุตสาหกรรมแรกๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้ามาของเทคโนโลยี ทั้งยังไม่มีทีท่าว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะสิ้นสุดลง ยิ่งเมื่อได้เห็นถึงการเข้ามาของ AI, Blockchain ไปจนถึง Cryptocurrency ยิ่งทำให้หลายคนกังวลว่าบทบาทของสถาบันการเงินตั้งแต่ธนาคารกลาง ธนาคารพาณิชย์และผู้ให้บริการทางการเงินอันเป็นโครงสร้างหลักของการเงินในปัจจุบัน จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด

ด้วยเหตุนี้ใน Techsauce Global Summit 2019 จึงได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้าน Fintech ที่มีส่วนร่วมในคลื่นความเปลี่ยนแปลงของภาคการเงินมาพูดคุยกันในหัวข้อ What Will Become of Banking in 2025? Finance in an Age of Disruption ประกอบด้วย Neil Dugal Counsel ของ Flourish Ventures, Rishi Mohnot VP of Business Operations ของ Sentieo และ Sheel Mohnot, General Partner ของ 500 Startups โดยมีคุณสุทธิชัย หยุ่น, Founder ของ Kafedam ผู้เป็นสื่อมวลชนอาวุโสของไทยเป็นผู้ดำเนินรายการ

จะเกิดอะไรขึ้นกับธนาคารพาณิชย์ในปี 2025

เริ่ม Session ด้วยคำถามร้อนแรงจากคุณสุทธิชัยว่า ธนาคารพาณิชย์ในปี 2025 จะเป็นอย่างไร และเพื่อนนายธนาคารของเขาจะตกงานหรือไม่ ถือเป็นสอดรับการเข้ามาของเทคโนโลยีที่พัฒนาด้วยอัตราเร่งที่มากขึ้นทุกปี แต่อย่างไรก็ตาม ทั้ง 3 ท่านมองว่าในปี 2025 ธนาคารจะยังอยู่ต่อไป

ก่อนหน้านี้สัก 2-3 ปี หลายคนมองว่า Fintech Startup จะเข้ามา Disrupt ธนาคารทั้งหลาย แต่จากแนวโน้มในปัจจุบัน เห็นได้ว่ากลายเป็น Fintech Startup เสียเองที่เข้ามา Partnership กับธนาคาร แน่นอนว่าพนักงานธนาคารที่เหลือในปัจจุบันจะยังไม่ตกงานในอีก 6 ปีข้างหน้าแน่ เว้นแต่ บรรดา Alternative Bank จะส่งมอบประสบการณ์ใช้งานได้ดีกว่าชนิดพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้คนไม่ได้เปลี่ยนบัญชีธนาคารหลักที่ใช้อยู่ง่ายดายนัก บัญชีธนาคารไม่ได้เหมือน E-mail ที่คิดจะเปลี่ยนก็เปลี่ยนได้ทันที

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือแม้ธนาคารจะพยายามปรับตัวอย่างไร ก็จะต้องเจอมาตรการจากธนาคารกลางควบคุมเอาไว้ แม้จะเปลี่ยนได้ไม่มากแต่คนก็ยังไม่หนีหายไป เว้นแต่มีประสบการณ์ที่ไม่ดีจริงๆ นอกจากนี้ ยังเสริมอีกด้วยว่า ธนาคารกลายเป็นบริการทางการเงินชัดเจนขึ้น คนรุ่นใหม่หลายคนไม่รู้จักการใช้ Check แล้ว และจะใช้บริการธนาคารก็ต่อเมื่อต้อง “โอนเงิน” ไปให้คนที่ยังใช้บัญชีธนาคารอยู่เท่านั้น

คิดอย่างไรกับ "Libra" Cryptocurrency ใหม่จาก Facebook

อีกประเด็นร้อนที่เกิดขึ้นในช่วงนี้พอดีสำหรับ Libra ซึ่งเป็น Cryptocurrency ที่เปิดตัวโดย Facebook แน่นอนว่าเมื่อมีโอกาสได้พูดคุยกับผู้คร่ำหวอดในวงการ Fintech คุณสุทธิชัยก็ได้โอกาสชวน Speaker ทั้ง 3 พูดคุยในประเด็นนี้

ทั้ง 3 ท่านเห็นตรงกันว่า ปัญหาหลักที่เกิดขึ้นกับ Facebook ในช่วงที่ผ่านมาคือเรื่องของ Data Privacy ดังนั้น เมื่อ Facebook ได้ประกาศเปิดตัว Libra มันจึงไม่ได้เป็นสิ่งที่น่ากังวลในฐานะ Cryptocurrency แต่น่ากังวลเพราะมันเป็น Coin ที่มาจาก Facebook เอง Sheel Mohnot ซึ่งเป็นผู้ที่ถือหุ้นของ Facebook อยู่ด้วยมองว่า Facebook มีปัญหาเรื่องการประชาสัมพันธ์ในอดีตและสิ่งนี้จะขัดขวางการรับ Libra ไปใช้

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ Facebook เก่งมากเรื่องการ Aqcuire User แต่หลังจากเกิดเรื่อง Data Privacy ทำให้ Facebook ต้องพบกับมาตรการของแต่ละประเทศที่แตกต่างออกไป ยิ่งเป็นเรื่องการเงินแล้ว แม้ว่าบางคนอาจจะยินดีแชร์ข้อมูลบางส่วน แต่คงไม่ใช่ข้อมูลธุรกรรมทางการเงินแน่นอน ดังนั้น การประสบความสำเร็จของ Libra คงขึ้นอยู่กับว่า Facebook จะกลับมาสร้างความน่าเชื่อถือในส่วนนี้มากน้อยแค่ไหน

จากการอธิบายของ Neil ระบุว่า Libra เป็น Stable Coin คือเหรียญที่มีการยึดโยงมูลค่าให้คงที่ด้วยเงินสกุลที่ใข้จริง โดย Libra จะรับแลก Coin ด้วยสกุลเงินหลัก หลังจากนั้นก็เก็บเงินสกุลนั้นไว้เพื่อเป็นตัวยึดโยงคุณค่า แนวคิดนี้เป็นการเชื่อมโยง Cryptocurrency เข้ากับสกุลเงินจริง แน่นอนว่าหากเป็นประเทศสามารถทำได้ง่าย เพราะมีกลไกการถือครองสกุลเงินระหว่างประเทศที่ชัดเจน แต่หากผู้ทำแนวคิดนี้เป็นเพียงบริษัทเทคโนโลยีก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม Rishi กล่าวว่า Libra จะส่งผลดีกับ Ecosystem ของ Cryptocurrency เพราะ Facebook ถือเป็น Giant Tech Company สิ่งที่พวกเขาทำจะช่วยผลักดัน Ecosystem ในภาพรวมอย่างแน่นอน

“ธนาคารกลาง” ในปี 2025 และในอนาคต

ในอีก 6 ปีนับจากนี้ ระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินจะไม่มีเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่สิ่งที่เปลี่ยนคือวิธีการปฏิสัมพันธ์กับบริการทางการเงินของเรา Sheel คาดการณ์ว่าจะมีประชาชนที่มี Smartphone เพิ่มขึ้น 2 พันล้านคน ซึ่งทำให้พวกเขามีวิธีการเข้าหาธนาคารในรูปแบบที่ต่างออกไป โดยพวกเขาจะเข้าหาธนาคารที่ Consumer Friendly มากขึ้น

หากดูในอันดับแอปฯ ยอดนิยมตลอดกาลของ Mobile OS จะต้องมีชื่อของ WeChat ด้วยแน่นอน ซึ่งปัจจุบัน WeChat เป็นมากกว่าโปรแกรมแชทแล้ว แต่กลายเป็น Payment Gateway ผู้ให้บริการทางการเงิน ไปจนถึง Marketplace การที่ WeChat ทำแบบนี้ได้ทำให้ Tech Company ทั่วโลกมองเห็นลู่ทางในภาคการเงินมากขึ้น

ใครจะเป็นผู้ชนะใน Trade War

อีกประเด็นหนึ่งที่คุณสุทธิชัยชวนทั้ง 3 ท่านพูดคุยและมีประเด็นที่น่าสนใจคือเรื่องของ Trade War ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ซึ่งแม้จะไม่ประกาศชัดเจนแต่เป็นที่รู้กันและน่าจับตามองกันทั่วโลก โดยทั้ง 3 ท่านช่วยกันเสริมความคิดเห็นอันสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นไว้ว่า ในสงครามการค้า ไม่มีใครจะเป็นผู้ชนะอย่างเด็ดขาด และไม่มีใครที่ดีหรือเลวไปกว่าใคร

หลายคนอาจมองว่าจีนค่อนข้างได้เปรียบ เพราะมี Huawei เป็นผู้ครอบครอง Infrastructure อย่าง 5G ไว้ในมือ แต่อันที่จริงแล้ว สหรัฐฯ เองก็ไม่ได้เสียเปรียบ เพราะเมื่อทุกคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ต สิ่งที่พวกเขานึกถึงสิ่งแรกกลับเป็น Facebook อีกทั้ง บริษัทไอทีของสหรัฐฯ ก็สามารถส่งข้อมูลบางส่วนให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ ได้อยู่แล้ว ไม่ต่างจากที่ Huawei ส่งข้อมูลให้รัฐบาลจีนแต่อย่างใด

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...

Responsive image

เปิดตัว ‘รถบินแยกร่าง’ XPeng ผสมเครื่องบินกับรถตู้ รุ่น Land Aircraft Carrier ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท

XPeng Aero HT เปิดตัว Land Aircraft Carrier รถบินได้แบบแยกร่างสุดล้ำที่ CES 2025 พร้อม eVTOL พับเก็บได้ ใช้งานง่าย ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท วางแผนผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2026...