สัมภาษณ์พิเศษ QueQ กับแรงบันดาลใจก้าวสู่เวทีระดับโลก ด้วยการนำ OKR มาใช้ | Techsauce

สัมภาษณ์พิเศษ QueQ กับแรงบันดาลใจก้าวสู่เวทีระดับโลก ด้วยการนำ OKR มาใช้

ในวงการ Startup หลายคนคงคุ้นหน้าคุ้นตากันดีกว่า Startup ที่ชื่อ QueQ หนึ่งใน Startup ไทยที่มาช่วยจัดการบริหารคิวให้ง่ายขึ้น ปัจจุบันมีพนักงานกว่า 20 คน และมีผู้ใช้งานกว่า 700,000 รายด้วยกัน  ล่าสุดได้รับเลือกเข้าร่วมโครงการ Google LaunchPad Accelerator ที่สหรัฐอเมริกา วันนี้เราจะไปพูดคุยกับ รังสรรค์ พรมประสิทธิ์ CEO ของบริษัทฯ จากประสบการณ์ที่ได้เข้าร่วมโครงการที่นั่น เขาได้เรียนรู้อะไรกลับมาบ้าง

Google LaunchPad Accelerator เป็นโครงการที่สนับสนุน Startup จากทั่วโลก โดยมีผู้ผ่านโครงการไปแล้วกว่า 78 บริษัทตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้พบกับ 130 mentors ใน Silicon Valley อาทิ Uber, Lyft, Pinterest เป็นต้น โดยปีนี้ Google ได้คัดเลือก Startup 1,000 รายจากทั่วโลก คัดให้เหลือ 30 ราย ผู้ที่ได้รับคัดเลือกเข้าไปเป็นตัวแทนจากประเทศไทยคือ QueQ และ Piggipo นั่นเอง โดยจะต้องเข้า Workshop 2 สัปดาห์ที่ซานฟรานฯ และอีก 6 เดือนที่ประเทศตัวเอง นอกจากนี้ยังได้รับเงินสนับสนุนรายละ 50,000 เหรียญสหรัฐฯ โดยไม่มีการเข้าไปถือหุ้นแต่อย่างใด

รังสรรค์กล่าวว่า จุดที่แตกต่างของ QueQ คือมีผู้ใช้ถึง 7 แสนรายแล้ว มีการเก็บข้อมูลต่างๆ ที่น่าสนใจภายในตัวห้างซึ่ง Google Maps ทุกวันนี้ยังไม่ได้ครอบคลุมถึงในไทย การเข้ามาสนับสนุนของ Google จะช่วย Tech Startup Ecosystem ในตลาดประเทศเกิดใหม่ให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น ภายใต้โครงการนี้สิ่งที่ทาง QueQ ได้รับคงไม่ใช่แค่เรื่องเงินเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงความรู้ต่างๆ ที่ได้ตลอด 2 สัปดาห์ที่เข้าโครงการ

โครงการให้อะไรบ้าง

 

  1. มีที่ปรึกษา : จุดเด่นของโครงการคือการวิเคราะห์ธุรกิจของ Startup และเลือกที่ปรึกษาจากทั่วโลกให้ตรงกับธุรกิจของพวกเขา นับเป็นประสบการณ์อันดีเพราะประเทศไทยยังอยู่ในช่วงที่ Ecosystem ยังเริ่มต้น โอกาสที่ได้เจอที่ปรึกษาจากต่างประเทศโดยตรงแบบนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่หาได้ยาก
  2. การนำ OKR มาใช้ : เราอาจเคยได้ยินเรื่องการพัฒนาทีมงานตามแนวทางของ Google ที่ชื่อว่า OKR (Objects and Key Results) มาบ้างแล้ว มาครั้งนี้ก็ได้ลองใช้กันจริงๆ ให้ทีมงานได้โฟกัสที่เป้าหมายหลัก และสร้างความเข้าใจให้กับทีมงานเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
  3. ค้นหาคุณค่า : Google ช่วยค้นหาว่า Startup แต่ละรายนั้นคุณค่าที่แท้จริงอยู่ที่ตรงไหน อย่างกรณีของ QueQ คุณค่าที่แท้จริงไม่ใช่เพียงแค่การนำเสนอโซลูชั่นการจัดการคิว แต่ให้โซลูชั่นหลากหลายรูปแบบในการจัดการบริหารเวลาของผู้คนที่ต้องมาคอยคิว ดังนั้นโซลูชั่นอาจจะครอบคลุมไปถึงเรื่องของ Pre-Order อาหารหรือการจัดส่งก็ได้ ซึ่งช่วยให้ทีมสามารถวางแผนในการเข้าสู่ตลาดประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

เป้าหมายต่อไปของ QueQ

หลังจากกลับมาที่ไทย รังสรรค์กล่าวว่าเขาเห็นโอกาสใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในตลาดอื่น ที่เขาไม่ทันนึกถึงมาก่อน หลังจากทำ OKR แล้วได้ตั้งเป้าไว้ดังนี้

  • เลือกตลาดต่างประเทศที่จะขยายออกไป - ในไตรมาสนี้ QueQ มีแผนที่จะขยับขยายสู่ตลาดต่างประเทศ แต่แทนที่จะเป็นตัวเขาเองคนเดียวที่เลือก แต่สิ่งนี้จะเป็นโจทย์สำคัญให้กับทีมงาน Business Development และตัวเขาในการสร้าง criteria ว่าทำไมถึงเลือกไปตลาดประเทศนั้นๆ โดยในเดือนตุลาคมตั้งเป้าไว้ว่าจะเข้าสู่เมืองที่มีประชากรมากๆ ก่อน และกำลังมองหาตัวแทนที่จะทำงานร่วมกับ QueQ ซึ่งอาจจะเป็นเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น หนึ่งในที่ปรึกษาจากโครงการนี้คือ Jacob Greenshpan ซึ่งเป็นนักวิจัยชื่อดัง นักออกแบบจากอิสราเอล กล่าวว่า QueQ ต้องรู้ถึงวัฒนธรรมที่แตกต่างของแต่ละตลาดเพื่อปรับให้เข้ากับประเทศนั้นๆ อาทิเช่น ถ้าจะไปที่สิงคโปร์ แทนที่จะนำเสนอระบบการจัดการคิว แต่อาจจะเป็นการนำเสนอรูปแบบอื่นเช่น Pre-Order อาหารจากร้านค้าข้างทางชื่อดังระหว่างช่วงอาหารเที่ยงก็เป็นได้
  • ขยายธุรกิจ QueQ ออกไป - จากปัจจุบันที่มี Kiosk กว่า 250 เครื่องทั่วกรุงเทพ QueQ มีแผนจะขยายสู่ 400 เครื่องภายในไตรมาสนี้ เป็นการขยายสู่ธุรกิจธนาคารและโรงพยาบาล นอกจากนี้จะเปิดให้ผู้ใช้สามารถ Pre-Order อาหารที่ร้าน Fast Food ชื่อดังได้ด้วย​ โดยไม่ต้องไปยื่นรอต่อแถว
  • นำ Machine Learning มาใช้ - QueQ มีแผนนำทุน 50,000 เหรียญสหรัฐฯ มาต่อยอดโดยใช้ Google ML Technology เพื่อเรียนรู้และเข้าใจลูกค้าให้มากขึ้น อย่างเช่น ต้องการรู้ว่าโดยปกติแล้วลูกค้ารอคิวนานแค่ไหนและพฤติกรรมการบริโภคเป็นอย่างไร

รังสรรค์กล่าวปิดท้ายว่า โครงการ Google Accelerator เป็นเสมือน Game Changer ที่มาพร้อมที่ปรึกษาเก่งๆ และมี connection มากมายจากทั่วโลกที่จะช่วยผลักดันให้ Ecosystem ประเทศนั้นๆ ดีขึ้น

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม บทสัมภาษณ์ Ray Glasberg ผู้ก่อตั้งและผู้จัดการทั่วไปของ Google Global Accelerator and Google AI programs for startups  ถึงมุมมองที่มีต่อ Startup Ecosystem ในไทย

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...