รู้จัก Grief Tech เมื่อ AI ชุบชีวิตคนตาย ให้คนได้ใช้โอกาสสุดท้ายเพื่อบอกลา | Techsauce

รู้จัก Grief Tech เมื่อ AI ชุบชีวิตคนตาย ให้คนได้ใช้โอกาสสุดท้ายเพื่อบอกลา

Grief tech คืออะไร

จากความนิยมของ ChatGPT โปรแกรมข้อความปัญญาประดิษฐ์ โมเดลภาษาที่ถูกพัฒนาขึ้นจากการจดจำข้อความในอินเทอร์เน็ต โดยมีการตอบกลับที่เป็นธรรมชาติเหมือนกับมนุษย์ เพื่อตอบคำถาม หรือช่วยเหลืองานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้งานอย่างชาญฉลาด เช่น การเขียนอีเมล เขียนเรียงความ ทำให้เกิดเทคโนโลยีที่ชื่อว่า Grief tech คือ การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการรับมือกับความเศร้าโศกหลังการสูญเสียบุคคลสำคัญ โดยใช้ ChatGPT สร้างข้อความเหมือนมนุษย์โดยที่ข้อความเหล่านั้นสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับลักษณะของแต่ละบุคคลได้ การนำเอาเรื่องราวส่วนตัวในอดีตมาใช้ และการเลียนแบบการพูดและการเขียนของมนุษย์อย่างละเอียด การผสานเทคโนโลยีดังกล่าวเข้าด้วยกันสามารถสร้างแชตบอทที่ออกแบบมาให้ได้มีโอกาสสื่อสารและรำลึกถึงบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว

จีนใช้ AI ชุบชีวิตคนตาย ให้คนได้ใช้โอกาสสุดท้ายเพื่อบอกลา

ในปี พ.ศ. 2563 หนุ่มวิศวกรซอฟต์แวร์หนุ่มชาวจีนในเมืองหางโจว Yu Jialin ได้มีโอกาสอ่านบทความเกี่ยวกับเทคโนโลยีลิปซิงค์ หลักการค่อนข้างง่าย ใช้เพียงแค่โปรแกรมคอมพิวเตอร์จับคู่การเคลื่อนไหวของริมปากและการบันทึกคำพูดไว้เท่านั้น และจากการผสมผสานเทคโนโลยี AI ที่เกิดขึ้นเข้าด้วยกัน ทำให้ผู้คนในประเทศได้สร้างโปรแกรมสนทนาเป็นที่รู้จักในชื่อว่า Griefbots ซึ่งจะมีบุคลิกลักษณะและความทรงจำเหมือนกับคนที่ล่วงลับไปแล้ว โดยหวังว่าจะมีโอกาสพูดคุยกับคนที่ตนรักอีกครั้งหนึ่ง

Yu เริ่มสร้างปู่ของเขาที่เสียชีวิตขึ้นมาใหม่ โดยบอกกับ Tang Yucheng นักข่าวเชิงสืบสวนของนิตยสาร  Sixth Tone ว่า ปู่ของเขาจากไปเมื่อเขาอายุเพียง 17 ปีเท่านั้น และ griefbots ก็ให้โอกาสเขาได้พูดคุยกับท่านเป็นครั้งสุดท้าย


Griefbot กับความนิยมของ ChatGPT

แนวคิดของ griefbot ได้ถูกพัฒนามาเป็นเวลาหลายปี จากโปรแกรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI เรียนรู้วิธีการการเลียนแบบลักษณะท่าทางของมนุษย์ผ่านความทรงจำ รูปภาพ และบันทึกต่าง ๆ ของพวกเขา และความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของ AI ในปีที่แล้วทำให้การเข้าถึง griefbot สูงขึ้นไปในอีกระดับ และมีวิธีการใช้งานที่ง่ายใคร ๆ ก็ทำได้ แค่ป้อนเรื่องราวส่วนตัวของคนที่เราต้องการสร้างไปเพียงเล็กน้อย ก็จะสามารถเลียนแบบรูปร่างลักษณะ การพูด และความคิดของคนเหล่านั้นออกมาได้อย่างแม่นยำถึง 99 เปอร์เซ็นต์ 

Tang รายงานว่า "ถึงแม้จะมีการทดสอบมาร่วมหลายสัปดาห์ แต่ถ้าต้องการสร้างให้คล้ายกับหุ่นจำลองในซีรีส์ Black mirror ก็ยังต้องพัฒนาไปอีกหลายขั้นตอน เพราะบอทที่ Yu สร้างขึ้นนั้นยังมีการทำงานที่จำกัดและใช้เวลานานถึง 10 นาที ในการตอบกลับแต่ละข้อความ"

การเปลี่ยนแปลงของการไว้ทุกข์

Sue Morris ผู้อำนวยการฝ่ายบริการด้านการสูญเสียที่ Dana-Farber Cancer Institute ในบอสตัน กล่าวว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่คนจะปรับเปลี่ยนการไว้อาลัยต่อคนที่จากไปเมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง ในช่วงปี 2523 ผู้คนมักจะบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลที่ตนรักเพื่อจดจำเขาเอาไว้ แต่ปัจจุบันในยุคดิจิตอลนั้นเป็นเรื่องปกติที่จะเก็บความทรงจำเอาไว้ในรูปแบบรูปภาพและวิดีโอ อีกทั้งยังเพิ่มเติมว่า griefbot นั้นเกิดขึ้นจากการที่นักจิตวิทยาให้ผู้ป่วยพูดคุยกับเก้าอี้ว่างสมมุติว่าคนที่พวกเขารักได้นั่งอยู่ตรงนั้น และจินตนาการถึงการตอบกลับของคนเหล่านั้น

Griefbots ที่ขับเคลื่อนด้วย GPT เป็นที่นิยมมากในประเทศจีน 

การกำเนิดของ AI ได้รับความนิยามอย่างมากในประเทศจีน มีบล็อกเกอร์หนุ่มชาวเซี่ยงไฮ้วัย 24 ปี Wu Wuliu ใช้ ChatGPT ในการเข้าถึงแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่ถูกจำกัดในจีน และใช้ AI ฝึกให้แชตบอทเลียนแบบการพูดคุยให้เหมือนย่าที่เสียชีวิตไปแล้วของเขา มีสุสานแห่งหนึ่งใช้ ChatGPT และการโคลนเสียงของ AI ในการสร้างบอทเลียนแบบศพที่ฝังอยู่ในสุสานนั้น และยังมีโปรแกรมแชตบอทที่ช่วยในการตกแต่งรูปภาพที่มีผู้ใช้งานถึง 660 ล้านคน

นอกจากในจีนแล้ว griefbot นั้นได้ถูกใช้งานทั่วโลกอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกัน หลายบริษัทในสหรัฐอเมริกาได้นำเสนอ griefbot อย่าง Replika ซึ่งในปัจจุบันเป็นแอปพลิเคชั่นโชเชี่ยล AI ประเทศแคนาดา Joshua Barbeau ก็ได้สร้างแฟนของเขาขึ้นในรูปแบบดิจิตอลเพื่อพูดคุยและเยียวยาอาการเศร้าจากการสูญเสียแฟนสาวของเขาไป โดยใช้โปรแกรม Projec December โปรแกรมเก่าที่ถูกสร้างมาจากซอฟต์แวร์เดิมของ ChatGPT และในประเทศเกาหลีก็มีรายการที่ชื่อว่า Meeting You ที่ช่วยให้ผู้หญิงคนหนึ่งได้พบกับลูกสาววัย 7 ขวบ ที่เสียชีวิตไปแล้วผ่านการจำลองภาพเสมือนจริง 

ข้อถกเถียงของการใช้งาน Griefbots

Lu ศาสตราจารย์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม griefbots และประโยชน์ของมันนั้นสามารถก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงได้ เหล่านักต้มตุ๋นสามารถนำเอาเอกลักษณ์ของคนที่เสียชีวิตไปแล้วไปหลอกในเรื่องที่วิทยาศาสตร์อธิบายไม่ได้อย่างง่ายดาย เช่น หลอกว่าพวกเขาคือตัวกลางผู้ที่สื่อสารกับดวงวิญญาณ จะมีการแย่งชิงขอความยินยอมจากคนตาย ซึ่งในอนาคตที่ผู้คนต่างรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้ คุณอาจจะต้องเซ็นเอกสารที่ระบุว่าลูกหลานของคุณสามารถใช้ความรู้ของคุณได้หรือไม่

James Vlahos ได้มีการเปิดตัว HereAfter.AI ที่ให้ผู้คนได้อัปโหลดบุคลิกของตนผ่านออนไลน์ จากนั้น AI จะเรียนรู้เรื่องราวของแต่ละคนผ่านภาพถ่าย บันทึกเสียง และแบบสอบถามที่แต่ละคนส่งเข้ามา และสร้างอวตารดิจิตอลที่สามารถพูดคุยกับเพื่อนและครอบครัวของพวกเขาได้หลังจากที่พวกเขาเสียชีวิตลง ซึ่ง Lu เองกลับมองว่า มีโอกาสน้อยมากที่คนทั่วไปที่เสียชีวิตจะยอมทำแบบนั้น ถึงจะมีปัญหาที่ลูกหลานอาจไม่สามารถใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าใครก็ตาม หรือแม้กระทั่งคนในครอบครัวจะสามารถเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของคนเหล่านี้ได้

ในขณะเดียวกัน Yu ก็ได้ลบบอทปู่ของเขาออกไปแล้ว โดยบอกกับ Sixth Tone ว่า เขากลัวว่าตัวเองจะต้องการพึ่งพา AI มากกว่าเดิมในการเป็นที่พึ่งพาทางจิตใจ และเขายังบอกอีกว่า ความรู้สึกแห่งการสูญเสียเหล่านี้อาจจะท่วมท้นเกินกว่าจะรักษาและใช้ชีวิตต่อไปได้

อ้างอิง

businessinsider

financialtimes

thedailybeast

euronews

zdnet

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image
Responsive image

9 ทักษะดิจิทัล ปี 2024 สร้างมูลค่าให้บริษัทด้วย Tech Skills แห่งอนาคต

ทักษะดิจิทัล หรือทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Skills) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด...

Responsive image

AI ล้ำหน้าหรือภัยอนาคต? แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ล่าหรือเหยื่อ | Tech for Biz EP.17

ในยุคที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการคาดการณ์ว่ากว่า 300 ล้านตำแหน่งจะหายไป คำถามคือ คุณจะยืนอยู่ฝ่ายไหนระหว่างเหยื่อที่ถูกแทนที่ หรือนักล่าที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ? แล้วต้องปรับต...