มาดูนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ของ HONDA ในงาน CES 2019 | Techsauce

มาดูนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ของ HONDA ในงาน CES 2019

  • เทคโนโลยีเพื่อการเคลื่อนที่ (Mobility) โรโบติกส์ (Robotics) และการจัดการพลังงาน (Energy Management) เพื่อการใช้ชีวิตประจำวันที่สะดวกสบาย
  • Honda Autonomous Work Vehicle
  • ฮอนด้า เสริมสร้างโอกาสในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ (B2B)

ฮอนด้า จัดแสดงนวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อการเคลื่อนที่ (Mobility) โรโบติกส์ (Robotics) และการจัดการพลังงาน (Energy Management) อีกทั้งเสนอแนวคิดของเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ ในงานแสดงนวัตกรรม เทคโนโลยี และสินค้าอิเลกทรอนิคส์ เพื่อผู้บริโภคระดับโลก หรืองาน CES 2019 (The Consumer Electric Show 2019) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 - 11 มกราคม 2562 ซึ่งครั้งนี้ เทคโนโลยีที่จัดแสดง มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับคุณภาพและเพิ่มศักยภาพการใช้ชีวิต เพื่อสร้างสรรค์โลกที่สะอาด ปลอดภัย และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

Honda Autonomous Work Vehicle

ฮอนด้าจัดแสดงการทดสอบในสภาวะการใช้งานจริงของ Honda Autonomous Work Vehicle ต้นแบบยนตรกรรมออฟโร้ดขับเคลื่อนอัตโนมัติ ที่ผสานคุณสมบัติของรถ ATV (All-Terrain Vehicle) ของฮอนด้า และเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติอันล้ำสมัยเข้าด้วยกัน ซึ่งได้รับการออกแบบโดยศูนย์วิจัยและพัฒนา ฮอนด้า อาร์ แอนด์ ดี ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับหน่วยงานราชการและธุรกิจต่างๆ เพื่อใช้ในงานก่อสร้าง เกษตรกรรม ภาระกิจค้นหาและช่วยชีวิต ตลอดจนการดับเพลิง 

Honda Autonomous Work Vehicle

Honda Autonomous Work Vehicle

Honda Autonomous Work Vehicle

โรโบติกส์ เพื่อยกระดับ และเพิ่มศักยภาพในการใช้ชีวิต

Honda P.A.T.H. (Predicting Action of the Human) Bot คือ หุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเองในสถานที่สาธารณะโดยไม่รบกวนผู้คนรอบข้าง สร้างขึ้นจากเทคโนโลยี AI มาพร้อมกล้องและเซ็นเซอร์ติดตั้งในตัว ใช้ในการระบุตำแหน่งของตัวเองและจดจำสภาพแวดล้อมรอบข้าง ทำให้สามารถเคลื่อนที่ไปยังที่หมายต่างๆ ได้ โดยไม่ชนสิ่งกีดขวางและสามารถเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดได้ด้วยตัวเอง ซึ่งตอนนี้ ฮอนด้ากำลังมองหาพันธมิตรที่จะมาร่วมทดสอบการใช้งาน P.A.T.H. Bot ร่วมกัน

เพื่อให้การพัฒนาโรโบติกส์เป็นไปได้ง่ายขึ้น ฮอนด้าได้เปิดตัว Honda RaaS (Robotics as a Service) Platform ซึ่งเป็นแนวคิดแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์สำหรับฟังก์ชั่นการทำงานทั่วไป เช่น การเก็บและแชร์ข้อมูล การควบคุมการสื่อสาร การเปลี่ยนแปลงสถานะ และการร่วมมือกันระหว่างหุ่นยนต์ ผ่านอินเทอร์เฟซหรือแพ็คเกจ API*2 และ SDK*3  โดยฮอนด้ามีเป้าหมายที่จะผลักดันให้เกิดการบูรณาการของบริการโรโบติกส์ ผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์หุ่นยนต์ ระบบ และแอปพลิเคชันต่างๆ ซึ่งพัฒนาโดยฮอนด้าและพันธมิตร โดยฮอนด้ากำลังมองหาความร่วมมือจากผู้พัฒนาอุปกรณ์หุ่นยนต์และผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านโรโบติกส์เพื่อให้เทคโนโลยีนี้เกิดขึ้นได้จริง

ฮอนด้ายังเผยโฉม Honda Omni Traction Drive System ซึ่งเป็นเทคโนโลยีควบคุมการทรงตัว ที่มาพร้อมระบบล้อขับเคลื่อนรอบทิศทาง ซึ่งพัฒนามาจากการค้นคว้าและวิจัยด้านโรโบติกส์ของฮอนด้า ซึ่งอยู่ในหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ของฮอนด้า อาซิโม (ASIMO) ซึ่งช่วยให้ ยูนิ-คับ (UNI-CUB) พาหนะส่วนบุคคลสามารถเคลื่อนที่ได้รอบทิศทางอย่างเป็นธรรมชาติ

เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านโรโบติกส์ สามารถนำไปใช้ได้กับผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้มากมาย ฮอนด้าจึงได้ร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อสร้างคุณค่าใหม่ๆ ในด้านเทคโนโลยีเพื่อการเคลื่อนที่ (Mobility) และการขนส่ง โดยประเดิมความร่วมมือครั้งแรกกับ นีเด็ค-ชิมโป คอร์ปอเรชั่น (Nidec-Shimpo Corporation) บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านเครื่องจักร อุปกรณ์ ส่วนประกอบยานยนต์ และยานพาหนะต่าง ๆ ของประเทศญี่ปุ่น  โดยนำ Honda Omni Traction Drive System ไปใช้ใน S-CART ซึ่งเป็นพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติ ที่ใช้เพื่อการทำงานในโรงงานหรือโกดัง

Wireless Vehicle-to-Grid ลดการปล่อยคาร์บอน พร้อมสร้างคุณค่าใหม่

ด้วยกระแสความนิยมของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่กำลังเติบโต ทำให้กริดไฟฟ้าหรือเครือข่ายที่เชื่อมต่อสำหรับการจ่ายไฟฟ้าจากผู้ผลิตต่างๆ ไปยังผู้บริโภคที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลให้การใช้แหล่งพลังงานที่ไม่สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่เพิ่มสูงขึ้น และเกิดการปล่อยคาร์บอนมากขึ้นตามไปด้วย Wireless Vehicle-to-Grid (V2G) เป็นระบบบริหารจัดการพลังงานแบบสองทางที่สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยแบตเตอรี่ในรถยนต์สามารถใช้เป็นแหล่งเก็บพลังงานเพื่อรักษาสมดุลระหว่างการใช้งานและการสำรองพลังงาน

ระบบจัดการพลังงานใหม่นี้ต่างจากการชาร์จไฟผ่านสายแบบเดิม โดยการชาร์จและปล่อยกระแสไฟฟ้า ทำได้อย่างง่ายโดยไม่ต้องทำการสัมผัส เพียงแค่นำรถยนต์จอดบนแผ่นชาร์จ ฮอนด้าได้ทำการพัฒนาระบบนี้ร่วมกับ WiTricity ผู้บุกเบิกด้านการส่งพลังงานไฟฟ้าแบบไร้สายของฮอนด้า จะช่วยสร้างสมดุลระหว่างความต้องการใช้ไฟฟ้าและการผลิตไฟฟ้าอย่างเป็นระบบ โดยจะทำการจ่ายไฟเข้าสู่รถในช่วงเวลาที่ปริมาณการผลิตไฟฟ้าสูงกว่าการบริโภคไฟฟ้า และปล่อยกระแสไฟฟ้าออกจากรถสู่กริดไฟฟ้าเมื่อปริมาณการบริโภคไฟฟ้ามีสูงกว่าการผลิต ฮอนด้ามีความสนใจที่จะร่วมมือกับบริษัทด้านพลังงานต่างๆ ทั้งบริษัทรายใหญ่ที่เป็นผู้รวบรวมความต้องการใช้ไฟฟ้า และผู้ผลิตไฟฟ้า เพื่อให้ระบบนี้สามารถนำไปใช้งานจริงได้ในสังคม

Honda Innovation ร่วมมือกับธุรกิจ Startup

ฮอนด้า อินโนเวชันส์ ร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจ Startup และพันธมิตรชั้นนำเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และโครงการนวัตกรรมแบบเปิด Honda Developer Studio และ Honda Xcelerator โดยได้มีการร่วมมือกับสองสตาร์ทอัพ คือ Noveto Systems และ Perceptive Automata เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยในการขับขี่

Honda Xcelerator และ Noveto ได้สาธิตเทคโนโลยีระบบเสียงสามมิติซึ่งพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยี Noveto Smart Audio ของ Noveto โดยสามารถส่งสัญญาณเสียงไปยังหูแต่ละข้างของผู้ฟัง พร้อมกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกที่สัมผัสได้สู่ผู้ขับขี่ โดยที่ไม่ต้องละสายตาจากท้องถนน เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้ผู้ขับรถเกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมรอบข้าง โดยเตือนว่ามีสิ่งกีดขวางที่ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างขัดเจน จากการจับสัญญาณผ่านเซ็นเซอร์ในรถยนต์ รวมทั้งช่วยให้ระบบนำทางในรถยนต์ทำงานได้แม่นยำยิ่งขึ้น

สำหรับผลงานที่ Honda Xcelerator พัฒนาร่วมกับ Perceptive Automata จะช่วยทำให้การใช้รถใช้ถนนปลอดภัยและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น สำหรับทั้งผู้ขับขี่และพาหนะที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous Vehicle) Perceptive Automata จะทำให้พาหนะที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติ มีสัญชาตญาณเหมือนมนุษย์ ในการเข้าใจสภาวะทางจิตใจของผู้เดินถนน ผู้ขับขี่จักรยาน และผู้ขับขี่รถยนต์ ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์จากเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งในรถยนต์ โดยเทคโนโลยีนี้ จะช่วยให้การใช้งานระบบขับขี่อัตโนมัติมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งผู้ร่วมงาน CESจะมีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับความร่วมมือในโครงการ Honda Xcelerator เหล่านี้เพิ่มเติมผ่านสื่ออินเทอร์แอ็คทีฟในงาน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek จากอดีตเฮดจ์ฟันด์ สู่ผู้ท้าทายยักษ์ใหญ่ AI โลก

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง ผู้อยู่เบื้องหลังของ DeepSeek จากอดีตผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ สู่ CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek ที่พกความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งส...

Responsive image

เปิดลิสต์ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC สนใจมากที่สุดในปี 2025

ค้นพบ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC ให้ความสนใจในปี 2025 ตั้งแต่โซลูชัน AI เฉพาะด้าน โครงสร้างพื้นฐาน AI ไปจนถึงระบบที่น่าเชื่อถือและยืดหยุ่น พร้อมโอกาสใหม่ในการสร้างธุรกิจที่...

Responsive image

วิเคราะห์บทบาท AI ด้านเศรษฐกิจและสังคม ผ่านมุมมองผู้เชี่ยวชาญจาก AI House ที่ดาวอส

ในการประชุม World Economic Forum (WEF) ที่จัดขึ้นที่ Davos นั้นหัวข้อสำคัญที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือบทบาทของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขามาร่วมพูดคุยถึง...