ไม่กี่วันที่ผ่านมา มีข่าวน่าตื่นเต้นของวงการตลาดเงินตลาดทุนในไทย จากการที่มีบริษัทแห่งหนึ่งได้มีการยื่นหนังสือชี้ชวน (แบบ Filing) การระดมทุนแบบ ICO เป็นรายแรก ด้วยมูลค่ากว่า 2,400 ล้านบาท ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งการระดมทุนครั้งนี้ได้มีการใช้อาคาร Siri Campus ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการของบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) มาเป็นทรัพย์สินอ้างอิง เราไปทำความเข้าใจการระดมทุนในครั้งนี้กัน
ICO หรือการเสนอขายโทเคนดิจิทัลครั้งนี้ มีชื่อว่า โทเคนเพื่อการลงทุน สิริ ฮับ (ชื่อย่อคือ SIRIHUB-A /SIRIHUB-B)
ผู้ออกโทเคน คือ บริษัท เอสพีวี77 จำกัด (SPV77) ซึ่งมีบริษัท แอมเพิล จำกัด ถือหุ้นอยู่ 100% เต็ม และเจ้าของแอมเพิล คือ คุณกรวิชญ์ สวาทยานนท์ ถือหุ้น 100%
ผู้ให้บริการระบบเสนอขาย คือ บริษัท เอสอี ดิจิทัล จำกัด
ทรัสตี คือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)
ผู้ตรวจสอบ smart contract คือ PwC
ทรัพย์สินอ้างอิง คือ สิริ แคมปัส
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินอ้างอิง คือ บริษัท สิริพัฒน์ โฟร์ จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์กลุ่มอาคารสำนักงานสิริ แคมปัส มีสถานะเป็นผู้ให้เช่า ส่วนผู้เช่า คือ แสนสิริ ซึ่งมีสัญญาเช่าระยะยาว 12 ปี (ปี 2562-2574)
สำหรับการเสนอขายโทเคนครั้งนี้ เป็นการระดมทุนของ SPV77 โดยมีมูลค่าเสนอขายจำนวนเงิน 2,400 ล้านบาท (ออกโทเคนมา 240 ล้านโทเคน ราคาเสนอขาย 10 บาทต่อหนึ่งโทเคน ) แบ่งเป็นดังนี้
(ผู้ที่จะจองซื้อลงทุนได้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือทั้งสองเลยก็ได้ โดยมูลค่าการจองซื้อขั้นต่ำต่อครั้ง 10,000 บาท และผู้ลงทุนรายใหญ่สามารถลงทุนได้ไม่จำกัดจำนวนเงินลงทุน แต่ผู้ลงทุนรายย่อยลงทุนได้ไม่เกินรายละ 300,000 บาท)
ส่วนผลประโยชน์ทั้งหมดที่โครงการจะได้รับเกือบทั้งหมด จะถูกจ่ายให้แก่ผู้ถือโทเคนทุกราย นั่นก็คือ กระแสรายรับจากกลุ่มอาคารสำนักงานสิริ แคมปัส ที่ SPV 77 จะได้รับจากสิริพัฒน์ โฟร์ตามสัญญา RSTA ซึ่งถูกกำหนดสิทธิโดย Smart Contract
ทั้งนี้ SPV77 ซึ่งเป็นผู้ออกโทเคนดิจิทัล จะนำโทเคนดังกล่าวเข้าจดทะเบียนในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ดิจิทัล เพื่อความสะดวกของผู้ลงทุนในการซื้อขายเปลี่ยนมือในตลาดรองต่อไป
สำหรับ ICO ในครั้งนี้ มีอายุ 4 ปี นับตั้งแต่วันที่กองทรัสต์ก่อตั้งขึ้น ยกเว้นจะมีการต่ออายุโครงการจากเหตุจำเป็น โดยปีสุดท้ายของโครงการ ทาง SPV77 จะดำเนินการจำหน่ายทรัพย์สินโครงการ เพื่อนำมาจ่ายมูลค่าไถ่ถอนให้แก่ผู้ถือโทเคน และไถ่ถอนโทเคนจากผู้ถือทุกราย
ตามหนังสือชี้ชวนนั้น Sansiri ไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางตรงทางอ้อมกับ SPV77 ซึ่งเป็นผู้ออกโทเคนเลย มีสถานะเป็นเพียงผู้เช่า อาคารสำนักงาน สิริ แคมปัส ซึ่งมีสิริพัฒน์ โฟร์ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่จะต้องจ่ายค่าเช่า ซึ่งจะกลายเป็นกระแสรายรับสุทธิตามสัญญา RSTA ที่ระบุไว้ข้างต้น เป็นส่วนแบ่งรายได้ให้กับผู้ถือโทเคนดิจิทัลเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนในการใช้ในเงินระดมทุนจำนวน 2,400 ล้านบาท เพราะเงินจำนวนนี้ ได้ถูกนำไปใช้ 2 ส่วนตามที่กล่าวไปที่เกี่ยวข้องกับ สิริพัฒน์ โฟร์ ที่จะนำไปชำระหนี้ รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งก็ไม่อาจทราบได้ว่าเป็นใครบ้างนั่นเอง
หมายเหตุ : สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อถึงผลตอบแทน ความเสี่ยง สิทธิที่จะได้รับ การจัดสรรส่วนแบ่งรายได้ หรือเงื่อนไขเพิ่มเติม สามารถเข้าไปศึกษาอย่างละเอียดได้ที่ แบบ Filing ที่ปรากฎในข้อมูลของสำนักงาน ก.ล.ต.
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด