เปิดมุมมองพัฒนาธุรกิจหลัง COVID-19 จาก 5 ธุรกิจไทย และโอกาสในการร่วมมือกับ Startup ญี่ปุ่น | Techsauce

เปิดมุมมองพัฒนาธุรกิจหลัง COVID-19 จาก 5 ธุรกิจไทย และโอกาสในการร่วมมือกับ Startup ญี่ปุ่น

จากสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจทั้งไทยและต่างประเทศ ทำให้ธุรกิจต่างมองหาช่องทางและวิธีการในการฟื้นฟูธุรกิจ หนึ่งในวิธีการที่หลายธุรกิจนำไปปรับใช้ก็คือการปรับตัวสู่ความเป็นดิจิทัลและพัฒนาตัวเองให้เท่าทันเทคโนโลยีใหม่ ๆ ICHI ผู้ให้บริการด้านองค์ความรู้และ Digital solutions จึงได้นำความรู้ที่เป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการมามอบให้กับผู้อ่าน ภายใต้แนวคิด “Inspire your Business with Digital” โดยครั้งนี้ ICHI ได้จัดทำแบบสอบถามกับ 5 บริษัทไทยในด้านกลยุทธ์สำหรับธุรกิจในอนาคตและโอกาสในการร่วมงานกับ Tech Startup ของญี่ปุ่น พร้อมนำข้อมูลที่น่าสนใจมาแบ่งปันกับผู้อ่าน 

ผลสำรวจจาก 5 องค์กรไทยถึงแนวทางพัฒนาธุรกิจในอนาคต

ทาง ICHI ได้สอบถามตัวแทนจาก 5 องค์กรในไทย ได้แก่ กลุ่มโรงพยาบาลสินแพทย์ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด บริษัท บ้านปู จำกัด บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด โดยได้สอบถามถึงแนวทางกลยุทธ์ทางธุรกิจในอนาคต และความต้องการในการร่วมงานกับ Startup ผ่านวิธีการแบบ Open Innovation ที่ให้องค์กรเปิดรับและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แนวคิดและประสบการณ์จากภายนอกองค์กร หรืออาศัยความร่วมมือเชิงพันธมิตรกับองค์กรที่มีความพร้อมและความเชี่ยวชาญในกลุ่มอุตสาหกรรมมาปรับใช้ในองค์กรเพื่อปรับปรุงนวัตกรรมให้ดีขึ้นและนี่คือส่วนหนึ่งของคำตอบจากทั้ง 5 องค์กร

  • ทบทวนกลยุทธ์ธุรกิจให้เท่าทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน 

ขณะที่ตลาดเปลี่ยนไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือในช่วง COVID-19 ทพ.ฐิติ ชนะภัย ผู้ช่วยกรรมการกลุ่มโรงพยาบาลสินแพทย์ ได้กล่าวว่า “กลยุทธ์ได้เปลี่ยนจากการมุ่งเน้นรักษาโรคที่ซับซ้อนเป็นการรักษาโรคหลัง COVID และเน้นการส่งเสริมสุขภาพ” จึงต้องมีการปรับกลยุทธ์ และ “เพื่อให้ได้บรรลุตามเป้า เราควรเก็บข้อมูลคนไข้ COVID ที่รักษาตัวที่โรงพยาบาล เพื่อสื่อสารและติดตามผล และลงทุนในอุปกรณ์ใหม่ ๆ” ซึ่งนี่จะช่วยให้โรงพยาบาลสามารถเปลี่ยนกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็วโดยมุ่งเน้นลูกค้าเดิมแทนที่จะเป็นลูกค้าใหม่ เพื่อคงปริมาณและการการเติบโตทางธุรกิจ กลยุทธ์ธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นปัจจุบันตามสถานการณ์ และจะทำได้สำเร็จก็ต่อเมื่อเข้าใจพฤติกรรมใหม่ของลูกค้า และสร้างคุณค่าใหม่ ๆ เพื่อต่อสู้กับผลกระทบระยะยาวของโรคระบาด”

  • มีเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อให้ทั้งองค์กรเดินหน้าในทิศทางเดียวกัน 

คุณจิรุตถ์ วัดตูม ผู้จัดการ Strategy and Partnership ที่ SCG Chemicals ได้กล่าวไว้ว่า “เรามีโฟกัสที่ชัดเจนในการย้าย portfolio ไปสู่ด้านเคมีอย่างยั่งยืน ซึ่งจะรวมถึงเศรษฐกิจหมุนเวียน (การนำพลาสติกกลับมาใช้ซ้ำ) วัสดุหมุนเวียนและชีวภาพ การลดการปล่อยคาร์บอนก็เป็นอีกด้านหนึ่งที่เราจะโฟกัส เรากำลังพยายามพัฒนาหรือหาความร่วมมือในการสร้างความก้าวหน้าใหม่ด้านการดักจับคาร์บอนและการใช้คาร์บอนไดออกไซด์” นอกจากนี้ คุณคริษฐ์ ศุภวัฒนกุล กล่าวเสริมต่อว่า “เราสามารถปิดดีลต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น และเราสามารถศึกษาค้นคว้าในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อไปถึงความเร็ว (ในการย้ายรูปแบบธุรกิจไปสู่ด้านเคมีอย่างยั่งยืน) ที่ตั้งใจไว้ได้ดียิ่งขึ้น” การมีเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรเพราะจะสามารถช่วยให้มีการจัดสรรจำนวนทรัพยากรได้เหมาะสม และยังสร้างบทบาทที่ชัดเจนให้สมาชิกในทีมทุกคนได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  • ปรับการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นผ่านแนวคิดแบบ Agile

คุณ ภัทร์ สรรพอาษา ผู้จัดการอาวุโสด้านกลยุทธ์องค์กร บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน)และ คุณจิรการณ์ วงศ์ทรรศี ผู้จัดการ - ดิจิทัล โค้ช ที่บ้านปู เห็นตรงกันว่า ธุรกิจได้รับผลกระทบเล็กน้อยในช่วง COVID-19 โดยมีกล่าวถึงความสำคัญของการสร้างวิธีคิดแบบ Agile ในหมู่พนักงาน เพื่อทำให้การทำงานมีความยืดหยุ่นและปรับตัวเร็ว คุณภัทร์ฯ ได้กล่าวว่า “เราคาดการณ์ถึงความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ได้เกิดขึ้นในปีนี้ และได้ทำการปรับกลยุทธ์ในการทำงานให้มีความคล่องตัวมากขึ้น” ส่วนคุณจิรการณ์ฯ เล่าว่า “บ้านปูได้เริ่มโครงการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลมาตั้งแต่ปี 2561 เพื่อสร้างแนวคิด Agile ภายในองค์กร และพัฒนาความสามารถทางดิจิทัลในกลุ่มพนักงานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตหลัง COVID การสร้างวัฒนธรรมที่รวดเร็วและมีนวัตกรรม เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการที่บริษัทแห่งหนึ่งจะเติบโตธุรกิจในอนาคตได้”

  • มองหาพันธมิตรด้าน Digital solution เปิดรับเทคโนโลยีและกระบวนการใหม่ ๆ เพื่อพาองค์กรเติบโต 

การมองหาพันธมิตรที่พร้อมจะสนับสนุนธุรกิจในด้านดิจิทัลคืออีกหนึ่งวิธีที่หลายองค์กรให้ความสนใจโดย ดร. จิรุตถ์ วัดตูม กล่าวว่า “SCGC เปิดกว้างมากในการทำงานร่วมกับพันธมิตรภายนอกด้วยวิธีที่หลากหลาย เช่น การร่วมกันศึกษาค้นคว้า หรือการลงทุนแบบ VC หรือธุรกิจการร่วมลงทุน การควบรวมกิจการ (M&A) อีกทั้งยังสนใจสร้างพันธมิตรที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ หรืออยากจะขยายผลิตภัณฑ์หรือบริการเข้ามายังประเทศไทยหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านคุณภัทร์ สรรพอาษา ซึ่งพูดในมุมของอุตสาหกรรมการเกษตรได้เสริมว่า “เรามีความมุ่งมั่นที่จะค้นหาและร่วมงานกับบริษัทต่าง ๆ ที่มีศักยภาพในการมาร่วมสร้าง solutions และแพลตฟอร์มที่ไม่เหมือนใครกับเรา เพื่อสร้างความท้าทายใหม่ ๆ ในภาคการเกษตรและอาหารในปัจจุบัน”

ในฝั่งของคุณคริษฐ์ ศุภวัฒนกุล VC senior associate (Portfolio Growth Manager) จาก SCB10X กล่าวว่า “ระยะหลังเราทำงานร่วมกับบริษัท Tech อยู่เสมอ หากพวกเขาต้องการสร้าง solutions ร่วมกับ SCB” 

ในขณะที่คุณจิรการณ์ วงศ์ทรรศี เล่าว่ามีการเริ่มทำ POC และ MVP จำนวนมากกับ Startup ทุกวันนี้หลายบริษัทต่างต้องการที่จะสร้างความแตกต่างทั้งด้านบริการและสินค้า การมองหา Startup จึงตอบโจทย์เหล่านี้ เช่น บ้านปู-อินโดนีเซีย (ITM) “การเป็นพันธมิตรกับ Plug and Play เพื่อสร้างและเชื่อมต่อพันธมิตรบริษัทเข้ากับบริษัทในวงการเดียวกันเพื่อจัดการกับความท้าทายที่กำลังเผชิญอยู่ทั้งวงการนั้นมักจำเป็นต้องมีการทำงานร่วมกันเพื่อหา solutions ที่เป็นไปได้และอยู่ได้นาน” 

ส่วนคุณภัทรฯ ได้เสริมข้อมูลของไทยวาว่า “เราได้เข้าร่วมหลายกิจกรรมในด้านเทคโนโลยีการเกษตร/เทคโนโลยีอาหาร และได้มีติดต่อพูดคุยกับ Startup ที่น่าสนใจ รวมไปถึงพันธมิตรที่ได้ช่วยเราค้นหาและคัดสรร lead ให้”

ที่ผ่านมา SCGC ได้เข้าหา Startup โดย “ทำงานร่วมกับโครงการบ่มเพาะ Startup ทั้งในและต่างประเทศทั่วโลกเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับบริษัทตั้งใหม่ เรามี VC เป็นของตัวเอง และทำงานกับ VC อื่น ๆ เพื่อระบุหรือแนะนำ Startup ที่น่าสนใจจากทั่วโลก” คุณจิรุตถ์ฯ  กล่าวต่อว่า “เรายังมีทีมที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะเป็นแมวมอง Startup หรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของเราหรือของลูกค้าด้วย”

ความเห็นต่อการร่วมงานกับ Startup ญี่ปุ่นเพื่อสร้าง Open Innovation ให้เกิดขึ้น

  • ความแตกต่างด้านภาษาและวัฒนธรรม - ผู้ประกอบการไทยต่างมองว่าอุปสรรคทางภาษาและความแตกต่างทางวัฒนธรรมคือความท้าทายหลักในการร่วมงานกับ Startup ญี่ปุ่น หลายองค์กรมีความกังวลในด้านวัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่าง ถึงอย่างไรก็ตามองค์กรส่วนใหญ่ทราบดีว่า Startup ญี่ปุ่นมีจุดแข็งด้าน Robotics และ AI solutions รวมถึงผู้เชี่ยวชาญซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่เก่งที่สุดในโลก ดังนั้นถ้าพวกเขาสามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้นได้ก็มีโอกาสสูงมากที่จะสามารถร่วมงานในระดับสากลได้แน่นอน 

  • ความเข้าใจในธุรกิจของแต่ละพื้นที่ - ความเข้าใจธุรกิจท้องถิ่นคือสิ่งสำคัญ ทพ.ฐิติ ชนะภัย ให้ความเห็นว่า เราคาดหวังให้ Startup ญี่ปุ่นมีเข้าใจวัฒนธรรมธุรกิจของเราและหาตัวเลือกที่เป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกราย ดังนั้นเราจึงต้องการ Startup ที่เปิดกว้าง เข้าใจและสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่น โดยไม่ใช่แค่ลอกเลียนเคสธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากญี่ปุ่น 

  • การร่วมทุนคือกุญแจสู่ความสำเร็จ - หาก Startup ญี่ปุ่นมีความเข้าใจในลักษณะเฉพาะของธุรกิจประเภทต่าง ๆ ในไทยก็มีความเป็นไปได้สูงมากที่จะเกิดความร่วมมือทางธุรกิจและร่วมทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ร่วมกัน อย่างเช่น ไทยวาได้จัดตั้งธุรกิจเงินร่วมลงทุน (venture capital) “ไทยวา เวนเจอร์ส” โดยมีเป้าหมายเพื่อลงทุนใน Startup ระยะเริ่มต้นที่เน้นด้านเทคโนโลยีสีเขียวในธุรกิจอาหารและการเกษตรแบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) และมองหาผู้ประกอบการ ผู้ก่อตั้ง และทีมงานที่มีแนวความคิดเหมือนกันในการส่งเสริมอนาคตของการเกษตรและอาหาร 

  • ร่วมมือแลกเปลี่ยนจุดแข็งและพิชิคเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน - โดยปัจจุบันทางบ้านปูกำลังค้นหา ecosystem หรือนักพัฒนาแพลตฟอร์มที่สามารถจับคู่หน้าที่ของระบบและปัญหาเข้ากับเทคโนโลยีและ solutions ด้วยการร่วมงานกับ Startup ในขณะที่ทาง SCG ซึ่งทำงานร่วมกับ Startup มามากมายบอกว่าการเข้ามาร่วมงานกับองค์กรใหญ่ ๆ จะสามารถช่วยให้ Startup สามารถแข่งขันในวงกว้างได้ ดังนั้นจึงเชิญชวน Startup ญี่ปุ่นให้ออกมาร่วมงานในระดับสากลเพราะญี่ปุ่นมีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เยี่ยมยอดมากมาย แค่ต้องก้าวออกมาเท่านั้น เช่นเดียวกันกับ SCB 10X ที่“เปิดกว้างสำหรับ Startup FinTech เหมือนกัน 

ทั้งหมดคือเนื้อหาที่ทาง ICHI ได้นำมาแบ่งปันกับทุกท่านซึ่งชี้ให้เห็นถึงแนวทางการปรับตัวของธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรมรวมถึงโอกาสในการจะทำงานร่วมกับ Startup ญี่ปุ่น ที่หากมีการก้าวข้ามกำแพงของภาษาและวัฒนธรรมได้เราก็อาจจะได้เห็นการร่วมงานระหว่างธุรกิจไทยและเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากญี่ปุ่นมากขึ้นแน่นอน หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่ https://www.jrit-ichi.com/cutting/2022/03/02/851/


บทความนี้เป็น Advertorial 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...