ICHI ชวนส่องวงการ FinTech ไทยกับคุณแซม ตันสกุล จาก Krungsri Finnovate | Techsauce

ICHI ชวนส่องวงการ FinTech ไทยกับคุณแซม ตันสกุล จาก Krungsri Finnovate

วงการการเงินถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนธุรกิจในทุกระดับ และเราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดได้อย่างชัดเจนในอุตสาหกรรมนี้ผ่านการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเกิดขึ้นของสกุลเงินดิจิทัล การทำธุรกรรมการเงินในรูปแบบออนไลน์ และอีกมากมาย ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในระยะเพียงพริบตาแต่กลับสร้างภาพจำใหม่ ๆ และปรับวิถีชีวิตของผู้คนไปอย่างมาก วันนี้ ICHI ชวนทุกคนมาเรียนรู้ภาพรวมของ FinTech เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเงินโดยคุณแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด ที่มาเล่าเกือบทุกแง่มุมของ FinTech ให้ทุกคนได้ฟัง

FinTech กับการเข้ามาเปลี่ยนโฉมการทำธุรกรรมการเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  

ที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นธุรกิจหรืออุตสาหกรรมในรูปแบบใดล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวข้องกับระบบชำระเงินและเทคโนโลยีทางด้านการเงิน การเกิดขึ้นของ FinTech จึงเข้ามาตอบโจทย์ธุรกรรมการเงินของผู้คนในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นการเกิดขึ้นของ Blockchain ที่จะเข้ามาช่วยเสริมแกร่งให้กับธุรกิจ หรือการชำระเงินออนไลน์ที่ในอีตการชำระเงินระหว่างประเทศปกติใช้เวลากว่าหนึ่งถึงสามวันแต่ปัจจุบันสามารถทำได้ทันทีแบบ real-time แม้ในประเทศก็มีพร้อมเพย์ให้ทุกคนได้หรือจะเป็นธุรกิจ SME ก็ต้องทำงานที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบบัญชี ปัจจุบันก็มีแพลตฟอร์มบัญชีมากมายที่เข้ามาเพิ่มความสะดวกไม่ว่าอยู่ไหนก็ตรวจสอบได้ รวมไปถึงร้านอาหารร้านเสริมสวยก็สามารถเก็บข้อมูลลูกค้าได้แล้ว นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อสร้างกลุ่มลูกค้าให้กลายเป็นลูกค้าประจำ และอีกสิ่งที่เห็นอย่างชัดเจนคือการเกิดขึ้นของแอปพลิชันของสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่เข้ามาช่วยให้ผู้คนเข้าถึงการเงินได้อย่างง่ายขึ้น สำหรับด้านการลงทุนที่ปกติจะต้องเดินทางไปที่ธนาคารเพื่อทำการเลือกซื้อกองทุนหรือรอคำแนะนำจากทางธนาคารก็ไม่เหมือนเคยแล้ว เพราะมีแอปฟลิเคชันอย่าง Finomena ที่ทำหน้าที่แนะนำให้โดยใช้ระบบ AI ในการดูแล จากการที่ FinTech แทบจะข้องเกี่ยวในชีวิตผู้คนในทุกด้านทำให้ FinTech จัดว่าเป็น Startup ที่ได้รับการลงทุนมากที่สุดในโลก  

ในฐานะที่ทำงานใน Thai Venture Capital Association (TVCA) และสมาคมนักลงทุนไทยซึ่งดูแลของการลงทุนไทยและ Tech Startup ไทยทำให้ได้เห็นบทบาทของการลงทุนในไทยด้าน FinTech โดยตัวเลขของปี 2020 โตสูงกว่าปี 2019 มากกว่าสามเท่า จัดว่าเป็นประวัติศาสตร์ของวงการ Tech Startup ไทยและยังมียูนิคอร์นเกิดขึ้นอีกด้วย ซึ่งการจะทำ Startup ในด้าน FinTech ไม่ใช่เรื่องง่ายนักเพราะต้องมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแล โดยผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบดูได้ว่าธุรกิจของตนเองต้องอยู่ภายใต้หน่วยงานใด

แนะนำหน่วยงานกำกับดูแล FinTech ในประเทศไทย

  • ธนาคารแห่งประเทศไทย ดูแลในธุรกิจประเภท FinTech และยังมีการจัดทำ Sandbox พร้อมเปิดรับไอเดียใหม่ ๆ ในการทำ Startup โดยสามารถเข้าร่วม Sandbox ที่จัดขึ้นเพื่อทดสอบธุรกิจหากผ่านออกมาก็สามารถสร้างธุรกิจ Tech Startup ได้อย่างเต็มตัว 
  • สำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ดูแลในเรื่องของสินทรัพย์ประเภทต่างๆในการลงทุน ทำหน้าที่ดูแลหลากหลายด้าน เช่น Peer-to-peer lending สินทรัพย์ดิจิทัล
  • สำนักคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) หรือในชื่อ OIC ทำหน้าที่ดูแลด้านประกัน 

หากเป็น Startup ที่ต้องทำงานควบคู่กับธนาคารก็สามารถคุยกับธนาคารไปพร้อมกันได้เลยแล้วนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปคุยกับหน่วยงานต่าง ๆ ต่อ

ประเภทของ FinTech 

  • B2B หรือ Business-to-Business ขายเทคโนโลยี solution และซอฟท์แวร์ให้กับธนาคารเพื่อที่จะนำไปขายให้กับลูกค้าต่อ
  • B2C หรือ Business-to-Customer ทำเทคโนโลยีเพื่อลูกค้ารายย่อย เช่น BitKub

เพราะฉะนั้นต้องดูว่าเราอยู่ในตลาดไหน ลูกค้าเราคือใคร อย่างเช่นหากอยากขายเทคโนโลยีหรือซอฟท์แวร์ก็ต้องลองกลับไปคุยกับธนาคาร แต่ถ้าลูกค้าเป็นรายย่อยจริงก็อาจจะไปขอ patner กับทางธนาคารก็ได้เช่นกัน 

Blockchain กับการเข้ามาช่วยให้ธุรกิจเห็นภาพจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ

แน่นอนว่าหนึ่งในประโยชน์ของ Blockchain คือการเข้ามาจัดการในด้านการเทรด Cryptocurrency และจัดการ Digital Asset ต่าง ๆ แต่อีกส่วนสำคัญคือการเข้ามาช่วยในเรื่องของดูข้อมูลยอดขายทั้งหมดตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำ นอกจากนี้หลากหลายอุตสาหกรรมนำมาปรับใช้เริ่มตั้งแต่สายการผลิตไปจนถึงการส่งมอบบริการถึงลูกค้า อีกทั้งยังสามารถที่จะวิเคราะห์ว่ามีปัญหาที่เกิดขึ้นจุดไหน และสามารถปรับปรุงได้อย่างไรทำให้การขายดีขึ้น 

รูปโฉมใหม่ของ FinTech ในปัจจุบัน และปัญหาการขาดแคลนนักพัฒนา

ทุกวันนี้ FinTech ถูกอัดแน่นมาอยู่ในแอปฯเดียว เรียกว่าทำตัวเป็น Digital Bank แต่ไม่มีสาขาเหมือนธนาคาร ทำให้สามารถมาแข่งขันกับธนาคารได้และยังมีการใช้สกุลดิจิทัลที่ช่วยให้ผู้คนมีทางเลือกมากขึ้น ในขณะที่ธนาคารยังอยู่ในรูปแบบเดิม วันนี้ธนาคารในประเทศไทยอาจยังไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงนี้มาก แต่อีกสัก 2-3 ปี เราอาจจะเห็นสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้ไหลออกไปบนโลก Digital Asset ซึ่งทำให้ทั้งธนาคารและ Startup เองล้วนต้องปรับตัวและหากรวมมือกันก็อาจจะทำงานได้ง่ายกว่า 

สำหรับไทยเองก็ต้องมาลุ้นกันต่อว่าเราจะมียูนิคอร์นเกิดขึ้นเพิ่มอีกไหม โดยควรมีการส่งเสริมในด้านนี้ไม่ว่าจะเป็นจากภาคเอกชนและจากภาครัฐบาล เนื่องจากปัญหาที่พบก็คือเราไม่มีทรัพยากรที่เพียงพอที่จะพัฒนาในด้านเทคโนโลยี เพราะประเทศไทยถือว่ามีนักพัฒนาค่อนข้างน้อยมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศอย่างเวียดนาม ในไทยเรามีนักพัฒนาแค่เพียงหลักหมื่นคนแต่ขณะที่เวียดนามมีเป็นหลักหลายแสนคนแล้ว ซึ่งตัวอย่างแนวทางแก้ไขอาจดูได้จาก Flash Express ที่มีนักพัฒนามากกว่าสามร้อยคนอยู่ที่ปักกิ่งมีทั้งคนจีนและคนไทย โดยเหตุผลที่ต้องตั้งอยู่ที่ปักกิ่งก็เพราะว่าเมืองจีนมีนักพัฒนาเหล่านี้เยอะมาก นี่อาจเป็นทางหนึ่งในการแก้ไขคือหานักพัฒนาในต่างประเทศ เวียดนามหรือจีน 

ทั้งหมดนี้คือข้อมูลที่ทาง Techsauce ได้สรุปมาให้ทุกคนได้อ่านกัน สำหรับผู้ที่สนใจอยากร่วมงานกับ FinTech ต่าง ๆ ในไทยก็สามารถเริ่มต้นจากลองค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต หรือขอคำแนะนำจากสถาบันการเงินและผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงเข้าร่วมงานที่จัดรวบรวม Startup เพื่อจะได้ไปพบเจอกับผู้ให้บริการที่ถูกใจ และสำหรับใครที่สนใจอยากรู้ข้อมูลใหม่ ๆ และเรียนรู้มากขึ้นในเรื่องธุรกิจสามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.jrit-ichi.com/cutting/2022/01/19/691/


บทความนี้เป็น Advertorial 




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...