iPrice เผยเทรนด์สายงาน E-commerce ของ SEA ใน 2 ปีที่ผ่านมา | Techsauce

iPrice เผยเทรนด์สายงาน E-commerce ของ SEA ใน 2 ปีที่ผ่านมา

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2018 Google & Temasek ได้ออกมาเผยผลการศึกษาข้อมูลโดยระบุว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) จะแตะ 240 พันล้านดอลลาห์สหรัฐในปี 2025 คาดคะเนจากอัตราเพิ่มขึ้นกว่า 40 พันล้านดอลลาห์สหรัฐเมื่อปีที่แล้ว (2017) ผลการศึกษาข้อมูลยังทำให้คาดการณ์ได้อีกว่าอุตสาหกรรมอินเตอร์เน็ตใน SEA จะมีมูลค่าถึง 72 พันล้านดอลลาห์จากมูลค่าสินค้าขั้นต้น (GMV) ของปี 2018 ทำให้สามารถคาดคะเนมูลค่าการซื้อ-ขายของภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซโดยประมาณที่ 102 พันล้านดอลลาห์สหรัฐได้ภายในปี 2025 และเพื่อให้บรรลุเป้าหลายดังกล่าวสายงานอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้งานอินเตอร์เน็ตจะต้องตระหนักและมีส่วนร่วมกับการดำเนินงานด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างเต็มที่ ด้วยข้อมูลเหล่านี้ เป็นเหตุให้ iPrice จัดทำการศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์อัตราการจ้างงานของธุรกิจอีคอมเมิร์ซใน SEA ว่าจะเสริมให้ศักยภาพของประเภทธุรกิจนี้มีมูลค่าเหยียบ 240 พันล้านดอลลาห์สหรัฐหรือไม่ในปี 2025 iPrice ได้เก็บข้อมูลจากร้านค้าอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในภูมิภาคอ้างอิงจาก Map of eCommerce ไตรมาสที่ 3 ผ่านเว็บไซต์ LinkedIn โดยครอบคลุมทั้งหมด 6 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ ประเทศไทย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีมูลค่าอีคอมเมิร์ซเติบโตมากที่สุด

อัตราการเพิ่มขึ้นของพนักงานในปี 2016 - 2018

iPrice วิเคราะห์แนวโน้มการจ้างงานของร้านค้าอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ใน SEA พบว่า มีอัตราการเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยสูงถึง 808 คน ระหว่างไตรมาสที่ 4 ปี 2016 ถึงไตรมาสที่ 3 ปี 2018 ซึ่งอัตราการเติบโตดังกล่าวสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม สอดคล้องกับที่ Google & Temasek คาดการณ์ไว้ว่า การจ้างงานกลุ่มสายงานที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอินเตอร์เน็ตต้องเติบโตขึ้นอีก 10% ถึงจะช่วยเสริมศักยภาพของอุตสาหกรรมนี้ได้ดียิ่งขึ้น เมื่อผนวกกับผลการศึกษาข้อมูลของ iPrice จึงเปรียบเสมือนสัญญานเชิงบวก เพราะโดยพื้นฐานแล้วสายงานอาชีพด้านนี้จะค่อนข้างคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมาทำงานด้วยยาก

การเปรียบเทียบอัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นของร้านค้าอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากข้อมูลการจ้างงานและจำนวนพนักงานปัจจุบันของ Shopee ที่เพิ่มขึ้นถึง 176% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จาก 1,384 เป็น 3,831 คน (ไตรมาสที่ 4 ปี 2016 ถึง ไตรมาสที่ 3 2018) หรือเฉลี่ย 3 คนต่อวัน ทำให้ Shopee กลายเป็นร้านค้าอีคอมเมิร์ซหน้าใหม่ที่แซงหน้าร้านค้าเจ้าถิ่นได้อย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น ซึ่งการขยายตัวครั้งใหญ่ของ Shopee นี้ เริ่มจากบริษัทแม่ชื่อดังนาม Garena ได้รับเงินระดมทุนก้อนใหญ่ราว 720 ล้านดอลลาห์สหรัฐช่วงปี 2016-2018 บวกเพิ่มอีก 575 ล้านดอลลาห์สหรัฐหลังจดทะเบียนในตลอดหลักทรัพย์ของนิวยอร์ก (NYSE) ในปี 2017

มากไปกว่านั้นกลุ่มร้านค้ายักษ์ใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันเฉียงใต้อย่าง Lazada, Tokopedia และ Bukalapak ก็มีอัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ยังมีร้านค้าอีคอมเมิร์ซรายใหญ่อย่าง Zalora ที่มีจำนวนพนักงานลดลงเล็กน้อยจาก 1,859 คน ในปี 2016 เป็น 1,715 คน ในปัจจุบัน ถึงแม้จะมีข้อมูลชี้ชัดว่า Shopee กำลังเติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด แต่ร้านค้าเจ้าถิ่นชื่อดังอย่าง Lazada ก็ยังคงเป็นร้านค้าที่มีจำนวนพนักงานมากที่สุดถึง 6,659 คน หรือ 34% (คิดจากจำนวนพนักงานของร้านค้าอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ในภูมิภาคโดยประมาณ 19,549 คน) และปัจจุบัน Lazada ยังเปิดรับสมัครพนักงานอีกถึง 19 % (Shopee 62%, Bukalapak 4%, Bukalapak 3% และ Tokopedia 2%)

Operation คือสายงานอาชีพที่มีจำนวนพนักงานมากที่สุด

จากการศึกษาข้อมูลพบว่า แผนกที่มีจำนวนพนักงานมากที่สุดคือฝ่ายปฎิบัติการ (Operations) และการตลาด (Marketing) นอกเหนือไปกว่านั้นคือวิศวกรรม (Engineering) และไอที (IT) ประกอบกับการศึกษาข้อมูลทางการตลาดที่พบว่า ความท้าทายที่แท้จริงคือการจ้างผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะสูงในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น Software Engineering, Digital Marketing, Data Science และ Product Marketing เนื่องจากตำแหน่งทางโลกดิจิทัลเหล่านี้ล้วนเป็นตำแหน่งที่ไม่มีการสรรหาและว่าจ้างมาก่อน

Google & Temasek จัดให้ปัญหาการขาดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านอีคอมเมิร์ซเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องเร่งหาทางแก้ไขอันดับต้น ๆ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่มักสรรหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทั้งในและนอกประเทศที่มากด้วยประสบการณ์หรือเคยทำงานเกี่ยวเนื่องกับโลกออนไลน์ แม้จะไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาในระยะยาวเพราะการสรรหาและว่าจ้างชาวต่างชาติล้วนต้องใช้ต้นทุนสูง มากไปกว่านั้นชาวต่างชาติส่วนใหญ่มักต้องการออกมาหาประสบการณ์นอกประเทศของตนเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ส่วนใหญ่มักอยู่ไม่เกิน 5 ปีในประเทศที่กำลังพัฒนา ทางออกที่ดีที่สุดคือเริ่มจัดอบรมสายอาชีพเหล่านี้กับคนในประเทศตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อส่งผลในระยะยาว

นักวิจัยทางการตลาดเผยว่า ทักษะที่ขาดที่สุดในสายงานนี้คือกระบวนการคิดแก้ไขปัญหาเชิงกลยุทธ์และเผยแพร่ความรู้ในสายงาน เนื่องจากผู้สำเร็จการศึกษาก่อนหน้าส่วนใหญ่จะไม่มีประสบการณ์ทำงานที่บริษัทอีคอมเมิร์ซต้องการโดยตรง โปรแกรมฝึกงานระหว่างการศึกษาก็มักไม่ได้เรียนรู้งานเหมือนพนักงานทั่วไป ต่างล้วนได้รับมอบหมายงานเล็ก ๆ ที่ไม่สามารถต่อยอดได้ในชีวิตการทำงานจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควรปรับปรุง ต่างจากชาวอเมริกาที่นักศึกษาส่วนใหญ่มีการฝึกงานที่สมบูรณ์ ซึ่งสามารถนำประสบการณ์ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้จริง

ในทำนองเดียวกัน Cynthia Luo (ซินเทีย หลัว) นักวิจัยการตลาด ได้แสดงความคิดเห็นว่า “ผู้สำเร็จการศึกษาใหญ่มักขาดทักษะพื้นฐานก่อนเริ่มทำงานครั้งแรก การเป็นผู้สื่อสารที่ดีจะสามารถช่วยให้บุคลากรเหล่านี้ลดความตึงเครียดในการทำงานนำไปสู่ผลงานที่มีคุณภาพได้ในอนาคต” สุดท้ายนี้ คนรุ่นต่อไปควรตระหนักถึงศักยภาพของธุรกิจอีคอมเมิร์ซเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเริ่มต้นสายอาชีพออนไลน์ จะให้ดีต้องได้รับความร่วมมือจากเหล่าบริษัทอีคอมเมิร์ซในการสรรสร้างโครงการฝึกงานเพื่อช่วยผลิตบุคลากรที่ดีในสายอาชีพธุรกิจอีคอมเมิร์ซต่อไป

 

เขียนและวิเคราะห์ข้อมูลโดย คุณขนิษฐา สาสะกุล  iPrice

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไขรหัสลับ AI จีนฝ่า "สงครามชิป" ผ่าน Deepseek สูตรลับความสำเร็จจาก Open Source

DeepSeek AI สัญชาติจีนที่ไม่ได้เป็นเพียงผู้ตาม แต่กำลังก้าวขึ้นมาท้าทายผู้นำในวงการ ด้วยโมเดล AI ประสิทธิภาพสูงและแนวคิด Open Source บทความนี้จะพาทุกคนไปเจาะลึกการพัฒนา AI สัญชาติจ...

Responsive image

รู้จัก Spatial Intelligence เทคโนโลยีที่ช่วยให้ AI ‘มองเห็น’ และ ‘เข้าใจ’ โลกได้เหมือนมนุษย์

AI กำลังก้าวข้ามขีดจำกัดที่เคยมี ไม่เพียงแต่สามารถคิดคำนวณหรือให้คำตอบได้เท่านั้น แต่ยังมีความสามารถในการ 'มองเห็น' และ 'เข้าใจ' สภาพแวดล้อมรอบตัวเหมือนมนุษย์ นี่คือสิ่งที่เรียกว่า...

Responsive image

จากแรงงานสู่นวัตกรรม ยกระดับ SMEs และสตาร์ทอัพ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยยุคใหม่ สู่ประเทศรายได้สูง

Mr. Cristian Quijada Torres ร่วมอภิปรายในหัวข้อ Innovation in a Changing World: Empowering SMEs And Startup วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน อุปสรรคที่ทำให้การพัฒนานวัตกรรมแ...