ภาคการศึกษาพร้อมหรือไม่ กับการเรียนออนไลน์? | Techsauce

ภาคการศึกษาพร้อมหรือไม่ กับการเรียนออนไลน์?

หลังจากที่เราเคยได้พูดถึงภาพรวมธุรกิจ ไปจนถึงเรื่องของวัคซีนโควิด-19 เเละ ล่าสุดกับการพูดคุยถึงสถานการณ์โควิด-19 ในสหรัฐอเมริกากับคุณหนูเนย ในวันนี้ทาง Techsauce ได้ยิบประเด็นที่น่าสนใจเเละตรงกับสถานการณ์ในปัจจุบันมานำเสนอ ในหัวข้อ ภาคการศึกษาพร้อมหรือไม่ กับการเรียนออนไลน์? กับ ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี (ดร.วิว) คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) 

ภาคการศึกษาเราสามารถนำผลงานวิจัย มาช่วยผู้คนในวิกฤตโควิด-19 ได้อย่างไร?

เมื่อไม่นานมานี้ทางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)  ได้นำตู้ตรวจเชื้อ (Swab Test) แบบความดันบวก (Positive Pressure) สำหรับการตรวจคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงแบบเชิงรุก และชุดอุปกรณ์พัดลมกรองอากาศ PAPRs พร้อมฮู้ดสำหรับป้องกันเชื้อโรคของมหาวิทยาลัยส่งไปช่วยที่พื้นที่เสี่ยงในจังหวัดสมุทรสาคร  ด้วยเเนวคิดที่มองว่าทางมหาวิทยาลัยเองมีบุคคลากรจากคณะที่สามารถผลิตและทดลองด้านการเเพทย์ได้ ซึ่งเรานำความรู้และความพร้อมที่มีเข้ามาช่วยหมอไทยสู้กับไวรัสโควิด-19 เรามองว่าหมอไทยเราเก่งแต่หากขาดอุปกรณ์ที่ดีก็ลำบากเช่นกัน เราจึงใช้ความสามารถและห้องทดลองที่มีมาสร้างเครื่องมือที่สามารถช่วยบุคคลากรทางการเเพทย์ได้ เเละปัจจุบันมีการตั้งเป็นศูนย์รวมนวัตกรรมสู้โควิด-19 (KMITL GO FIGHT COVID-19) ต่อยอดจากศูนย์วิจัยเดิมของมหาวิทยาลัยเพื่อช่วยเเพทย์ในหลายๆ ด้านรวมถึงการระดมทุนช่วยเหลือทางการแพทย์ด้วย

เราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา?

ที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าการเข้ามาของไวรัสโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลเพียงธุรกิจเเต่ในภาคการศึกษาก็เป็นหนึ่งในภาคส่วนที่ต้องเจอปัญหาไม่น้อย เพราะต้องปรับตัวกระทันหัน ในช่วงเเรกเรียกว่าคงลำบากไม่น้อยทั้งผู้สอนและผู้เรียน เมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 อีกครั้งบทเรียนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงแรกช่วยให้สถานศึกษาและบุคลากรมีเเผนรับมือที่ดีขึ้น เรามองว่าการระบาดรอบเเรกเหมือนเป็นบทเรียนให้เราได้เรียนรู้ และมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ  เร็วขึ้นและสามารถเข้ามาตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้ โดยเฉพาะในภาคการศึกษาที่เห็นได้ชัด อาทิ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยได้สร้างซอฟต์แวร์ ตัวหนึ่งที่ทำงานบนเทคโนโลยี คลาวด์ ที่ทำให้อาจารย์สามารถตรวจงานเด็กสถาปัตกรรม ได้เเบบออนไลน์   จากปกติที่ต้องลงพื้นที่ไปตรวงานเด็ก

หากมองในมุมของผลกระทบที่เกิดกับผู้เรียน การเข้ามาของโควิด-19 ในช่วงเเรกส่งผลต่อรูปแบบการเรียนการสอนในแบบเดิมซึ่งนักศึกษา มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากการที่ต้องปรับตัวมาเรียนออนไลน์ เพราะใช่ว่าทุกคนจะมีทุนและอุปกรณ์ที่พร้อมสำหรับการเรียนออนไลน์ และการเรียนบางคณะ ต้องเรียนภาคปฏิบัติผ่านห้องทดลอง และการดูงานและลงมือสร้างงานในสถานที่จริงซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากกว่าเรียนออนไลน์ 

ประเทศไทยมีหนึ่งปัญหาหลักที่ยังไม่สามารถเเก้ไขได้ คือ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ในช่วงเเรกๆ ที่รัฐมีมาตรการล็อคดาวน์ประเทศและประกาศให้เรียนออนไลน์ ผู้ปกครองต้องมีรายจ่ายมากขึ้นจากเดิมซึ่งเกิดจากการขาดอุปกรณ์การเรียน ทำให้การเรียนออนไลน์กลายเป็นการสร้างภาระให้เด็กๆ ไม่ใช่เพียงเเต่เด็กเล็ก แต่เด็กในระดับมหาวิทยาลัยก็ประสบปัญหาเช่นนี้เหมือนกัน  โดยปกติเราจะเห็นนักศึกษาที่ยังคงประสบปัญหาด้านทุนการศึกษาจากเดิมที่ลำบากเรื่องค่าใช้จ่ายในการเรียนเเบบปกติอยู่เเล้ว เมื่อต้องมาเรียนออนไลน์ยิ่งเพิ่มรายจ่ายในด้านการเรียนเข้าไปอีก อาทิ การใช้อินเทอร์เน็ตที่ต้องเร็วและเเรงมาพอให้เข้าเรียนออนไลน์ได้แบบไม่ติดขัด เพราะบางครั้งอินเทอร์เน็ตฟรีในมหาวิทยาลัยยังไม่ตอบโจทย์ด้านการเรียนออนไลน์มากนัก รวมถึงบางคนอาจต้องกลับบ้านเพื่อประหยัดรายจ่ายแต่ต้องหาอินเทอร์เน็ตในการเข้าเรียนแบบออนไลน์ให้ได้

ในส่วนของบุคคลกรเรามองว่าความรู้เดิมและอายุไม่ใช่ปัญหาหลักแต่คือการปรับความคิดและการปรับตัวซึ่งอาจารย์หลายท่านแต่ละคนนั้นมาจากช่วงเวลาที่ต่างกันความรู้ด้านเทคโนโลยีในแต่ละยุคเลยไม่เท่ากันซึ่งทางมหาวิทยาลัยเองเราพร้อมช่วยในด้านการเรียนรู้นี้จึงมีการจัดอบรมการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์การสอนเพื่อสร้างความรู้ให้บุคคลากรในมหาวิทยาลัย

จากสถานการณ์ที่ผ่านมามีการประกาศล็อคดาวน์ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กๆ ที่กำลังจะขึ้นปีสุดท้ายเริ่มต้องเข้าฝึกงานอย่างน้อย 45 วันหากงดฝึกงานประวัติการฝึกงานของเด็กๆ ที่จะต้องใช้ในการสมัครงานในอนาคตคงลำบาก ดังนั้น เด็กๆ  ต้องปรับมาเป็นฝึกงานเเบบ Work From Home ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในแต่ละวันทำให้เด็กๆ ได้มีทักษะออนไลน์มากขึ้น ถือได้ว่าเป็นความสามารถและทักษะทางออนไลน์ของเด็กสมัยใหม่ที่จะเป็นจุดเด่นของเด็กที่ทำให้หลายบริษัทต้องการ นับได้ว่าใครที่จบออกไปโดยมีทักษะด้านออนไลน์นี้ไปด้วยจะได้เปรียบคนรุ่นเก่าและเป็นที่ต้องการมากในตลาดงาน นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยเองได้มีการช่วยเหลือด้านอาชีพหลังเรียนจบ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจะมีกลุ่มรุ่นพี่ที่จบออกไปก่อนที่มีการประกอบธุรกิจและต้องการเด็กสมัยใหม่เข้าไปทำงาน และภาคเอกชนหลายเเห่งที่นักศึกษาสามารถเข้าไปร่วมเสนอความคิดประกวดผลงาน หรือเข้าไปร่วมฝึกงานก่อนเรียนจบ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้เด็กๆ มีอาชีพที่ดีหลังเรียนจบได้ 

นอกจากเรื่องอาชีพที่ทางมหาวิทยาลัยควรเตรียมความพร้อมให้เด็กรุ่นใหม่ อีกสิ่งที่สำคัญคือการสร้าง ภูมิต้านทานปัญหาและการใช้ชีวิตปัจจุบันผ่านทัศนคติและกระบวนการคิด สถานการณ์โควิด-19 หรือเศรษฐกิจโลกอาจเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างผลกระทบให้กับเราเเต่อยากให้ลองมองว่าวิกฤตไม่ได้สร้างให้เกิดเเต่สิ่งที่เลวร้าย แต่ในอีกทางหนึ่งก็มีสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้น อย่างเช่น เทตคโนโลยีที่เข้ามาตอบโจทย์การใช้ชีวิตและเราได้ทักษะใหม่ๆ บนโลกออนไลน์ที่คนยุคเก่าไม่ได้เรียนรู้เท่าเรา สิ่งนี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่อยากให้เรามองเห็นเพราะจะเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีทัศนคติคิดบวกมากขึ้น ซึ่งจะเป็นภูมิต้านทานที่ดีให้เราได้

ปัญหาอาจเป็นความท้าทายหนึ่งที่มาทดสอบชีวิตแต่ในอีกทางหนึ่งอาจเป็นโอกาสดีที่ทำให้เราเเกร่งทั้งกายเเละใจ พร้อมเติบโตในเส้นทางใหม่ๆ อยู่เสมอ

ติดตามรายการ Techsauce Live ย้อนหลังฉบับเต็มได้ที่ https://www.facebook.com/techsauceTH/videos/688230655171505

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...