สร้างความร่วมมือธุรกิจไทย-ญี่ปุ่นด้วยเทคโนโลยี ผ่านแพลตฟอร์ม J-Bridge และโครงการ J-Startup | Techsauce

สร้างความร่วมมือธุรกิจไทย-ญี่ปุ่นด้วยเทคโนโลยี ผ่านแพลตฟอร์ม J-Bridge และโครงการ J-Startup

จากสถานการณ์ COVID-19 หลายธุรกิจเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้อยู่รอดท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่หยุดชะงัก ทำให้เราเห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือกันระหว่างองค์กรข้ามประเทศที่มีเพิ่มสูงขึ้นเพื่อช่วยผลักดันให้ธุรกิจยังคงสามารถดำเนินการต่อไปได้ แต่ในขณะเดียวกันองค์กรขนาดเล็กและกลางจำนวนมากก็ยังคงติดขัดกับปัญหาในการด้านสร้างความรร่วมมือกับองค์กรต่างประเทศเนื่องจากมีข้อจำกัดด้านทรัพยากรทางบุคคลและด้านการเงิน ทำให้องค์กรต่าง ๆ ล้วนต้องการการสนับสนุนส่งเสริมจากภาครัฐ เช่น การที่รัฐบาลไทยแถลงโครงการ “Thailand 4.0”เพื่อเชิญชวนองค์กรญี่ปุ่นที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนประเทศและเพื่อให้เกิดการพัฒนาจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูง 

สำหรับประเทศญี่ปุ่นเองก็มีระบบให้การสนับสนุนองค์กรที่ดำเนินการโดยภาครัฐเช่นเดียวกันคือ “J-Bridge” และ “J-Startup” ซึ่งช่วยสนับสนุนการประสานงาน และร่วมมือการทำธุรกิจกับต่างประเทศให้แก่องค์กรสัญชาติญี่ปุ่น โดย ICHI ผู้ให้ความรู้และบริการ Digital Solution จะพาผู้อ่านไปทำความรู้จักกับทั้งสองผู้ช่วย 

J-Bridge แพลตฟอร์มที่ช่วยเติมเต็มการประสานงานความร่วมมือในการทำธุรกิจ

Japan Innovation Bridge (รู้จักทั่วไปในชื่อ J-Bridge)  คือ แพลตฟอร์มธุรกิจสำหรับการประสานงานและสร้างความร่วมมือในการทำธุรกิจระหว่างองค์กรญี่ปุ่นและองค์กรสร้างใหม่ในต่างประเทศซึ่งยึดเอเชียเป็นหลัก ก่อตั้งขึ้นโดยหน่วยงานบริหารอิสระ องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) และกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมในปี 2564 มีเป้าหมายเพื่อจะสนับสนุนนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลขององค์กรญี่ปุ่นในด้านต่าง ๆ อาทิ Carbon neutral, Mobility, สาธารณะสุข, เกษตรกรรมและการประมง, การค้าปลีก และ Smart city 

นอกจากนี้แพลตฟอร์ม J-Bridge ยังให้บริการในการรวบรวมข้อมูลในแต่ละประเทศ และสมาชิกที่สมัครสามารถเข้าร่วมสัมนาทางเว็บไซต์ สร้างข้อตกลงซื้อขาย รวมถึงเชื่อมต่อกับองค์กรต่างประเทศเพื่อความร่วมมือทางธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มได้อีกด้วย 

J-Bridge เร่งผลักดัน Digital Transformation ในเอเชีย ผ่าน 3 ปัจจัยหลัก ดังนี้ 

1.ผลกระทบและความรุนแรงของปัญหาที่องค์กรและสังคมกำลังเผชิญ 

2.ความต้องการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล 

3.สภาพแวดล้อมตลาดที่เป็นมิตรต่อการลงทุน อย่าง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดียถือเป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจ 

J-Startup เครื่องหมายรับรองธุรกิจโดยประเทศญี่ปุ่น

ที่ผ่านมากระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมได้ส่งเสริมโปรแกรมที่เรียกว่า“J-Startup” โดยร่วมมือกับ JETRO และ NEDO ซึ่งเป็นโครงการสนับสนุนการพัฒนาองค์กรสร้างใหม่โดยมีวัตถุประสงค์คือการเข้ามามีบทบาทสร้างองค์กให้มีความสามารถในการแข่งขันทางตลาดในระดับโลก รวมถึงผลักดันเทคโนโลยีและนวัตกรรมในโลกธุรกิจ โครงการจะมีการคัดเลือกองค์กรที่เข้าร่วมอย่างเข้มข้นโดยผู้เชี่ยวชาญระดับชั้นนำ และผู้ที่เข้ารอบสุดท้ายจนได้รับเลือกจะได้รับ  J-Startup สำหรับผู้ที่ได้รับการันตีจะมีโอกาสเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ ได้รับความสนับสนุนพร้อมรับการปรึกษาและข้อมูลจาก JETRO และยังสามารถใช้ “JETRO Global Acceleration Hub” และ “Startup Tour”  ได้ 

นอกจากนี้ยังมีโปรแกรม ADX (Asia DX Program) ที่ดำเนินการโดย JETRO และคณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น-อาเซียน (AMEICC) ซึ่งเป็นโครงการนำร่องในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มุ่งเน้นให้องค์กรในเครือเป็นตัวกลางระหว่างบริษัทในอาเซียนและบริษัทญี่ปุ่นเพื่อผลักดันธุรกิจไปสู่อีกขั้น 

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ จากญี่ปุ่น ก็ไม่ควรพลาดที่จะทำความรู้จักแพลตฟอร์ม J-Bridge และโครงการ J-Startup ให้มากยิ่งขึ้น ทาง ICHI จะมีการให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องธุรกิจและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีของบริษัทญี่ปุ่นอยู่เรื่อย ๆ เช่น การแนะนำบริการขององค์กร J-startup และกรณีศึกษาตัวอย่างของ DX ในประเทศญี่ปุ่น หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ https://www.jrit-ichi.com/cutting/2022/02/09/784/


บทความนี้เป็น Advertorial 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...