เมืองเซมโบะกุของญี่ปุ่นนั้นล้อมรอบไปด้วยภูเขา ประกอบกับน้ำพุร้อน อีกทั้งเป็นที่ตั้งของทะเลสาบทาซาวะที่สวยงามตระการตา แต่ก็เหมือนกับเมืองอื่นในพื้นที่ชนบท และอีกหลายประเทศที่พัฒนา เซมโบะกุกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านจำนวนประชากร เนื่องจากอัตราการเกิดต่ำและคนหนุ่มสาวอพยพเข้าไปทำงานในเมืองมากขึ้น ทำให้ที่จากเดิมมีประชากร 26,400 คน ประชากรลดลงถึงปีละ 500 คน และกว่า 40% ก็มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
ในการดึงให้คนหนุ่มสาวกลับมาทำงานในภาคชนบทมากขึ้น ที่นี่ก็ได้ตั้งเป้าเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมยานยนตร์อัจฉริยะ เริ่มจากโดรน ในปี 2016 เซมโบะกุ ถูกกำหนดให้เป็นเขตยุทธศาสตร์พิเศษแห่งชาติภายใต้ยุทธศาสตร์การปฏิรูปของรัฐบาลญี่ปุ่น เปิดโอกาสให้เมืองนี้สามารถทดลองนวัตกรรมได้
ในปี 2016 เมืองเซมโบะกุ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโดรนนานาชาติครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น (Drone Impact Challenge Asia Cup) มีผู้เข้าร่วมแข่งขันกว่า 50 คน จากญี่ปุ่นและอีก 6 ประเทศจากแถบเอเชีย
ในปีเดียวกันก็ได้เปิดพื้นที่ทดสอบโดรนขนาดใหญ่ถึง 200 เฮคเตอร์ ในสกีรีสอร์ทเก่า ทำให้มีผู้สนใจ เริ่มอยากพัฒนาทักษะด้านนี้ กระตุ้นให้เมืองเปิดสนามแข่งโดรนเล็ก ๆ ในเมืองคาลูโนดาเตะตามมาอีก ในปีนี้ยังจัดเทศกาลภาพยนตร์จากโดรนนานาชาติ ที่ส่งมาจากทั่วทั้งญี่ปุ่น นอกจากนี้ได้มีการทดลองส่งหนังสือพิมพ์ และหนังสือไปยังห้องสมุดตามโรงเรียนอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีบริการฉีดพ่นพืชผลให้เกษตรกรในท้องถิ่นโดยใช้โดรน ซึ่งมีราคาถูกกว่าการใช้เฮลิคอปเตอร์ขนาดเล็กที่ควบคุมจากระยะไกล
อีกหนึ่งความพยายามในการพัฒนาด้าน Agritech คือทำการติดตั้งเรือนกระจกโดยใช้เทคโนโลยีไอโอที (Internet of Things (IoT)) เซ็นเซอร์จะสามารถทำการตรวจสอบอุณหภูมิความชื้นแสงแดดและปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อพืชได้ โดยข้อมูลจะถูกส่งไปยังมือถือของเกษตรกร ช่วยให้ประหยัดเวลาและแรงงานมากขึ้น
นอกจากนี้ยังทดสอบโซลูชั่นยานยนตร์แบบเคลื่อนที่ โดยโครงการได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะรัฐมนตรี เปิดให้บริการทดลองใช้รถโดยสารสาธารณะที่ไม่มีคนขับตามแนวชายฝั่งทะเลสาบทาซาวะ
ความพยายามในครั้งนี่ยังถือเป็นก้าวสำคัญในการรับมือสังคมผู้สูงอายุ โดยโดรนยังสามารถช่วยผู้สูงอายุในการขนของไปส่งที่บ้าน หรือแม้กระทั่งช่วยตามหาคนหายในป่า และที่ล้ำไปกว่านั้น ตอนนี้ทางญี่ปุ่นกำลังหาวิธีการปรับใช้รถบัสที่ขับเคลื่อนด้วยตนเองสำหรับให้บริการนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะ
อีกหนึ่งบทพิสูจน์ของญี่ปุ่นในความพยายามขับเคลื่อนสังคมให้ดีขึ้น คือบริษัท Startup ที่กำลังมาแรงจากโตเกียวอย่าง Wantedly ที่ได้สร้างนิยามใหม่ให้กับบริษัทจัดหางาน ที่นับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก
อ่านเพิ่มเติม: คุยกับ CEO แห่ง 'Wantedly' : Akiko Naka สาวญี่ปุ่นผู้ขึ้นแท่น Influencer แห่งวงการ Startup
Wantedly แพลตฟอร์มที่เชื่อมคนหางานและบริษัท โดยการใช้แรงบันดาลใจและแพชชันเป็นตัวเชื่อม ผู้ใช้งานจะไม่เห็นรายละเอียดเกี่ยวกับเงินเดือนและสวัสดิการในเว็บ มากไปกว่านั้น แทนที่จะส่งใบสมัครงานแล้วรอสัมภาษณ์ ผู้ใช้งานสามารถเลือกที่จะแวะเข้าไปยังบริษัทก่อนเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับบริษัท พบปะพูดคุยกับพนักงานคนอื่น ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจ
กลุ่มเป้าหมายหลักคือ คนรุ่นใหม่ยุคดิจิทัล ที่ต้องการละทิ้งขั้นตอนหางานแบบเก่าอย่างการส่งเรซูเม่และรอสัมภาษณ์ Wantedly ได้ปรับวิธีการหางานแบบใหม่ หรือที่ Akiko Naka ซีอีโอ Wantedly เรียกว่า 'Social recruiting'
เราตั้งใจนิยามมันเหมือนกับขั้นตอนการเดท Wantedly จะเป็นผู้เริ่มสร้างความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่าย ให้ดำเนินต่อไปเป็นความสัมพันธ์ที่ยาวนาน
"เมื่อตอนห้าปีที่แล้วช่วงเปิดบริษัทใหม่ๆ มีเก้าบริษัทจากทั้งหมดสิบบริษัทที่ไม่เห็นด้วยกับโมเดลนี้ ให้เหตุผลว่าพวกเขาไม่มีเวลาขนาดนั้น แต่จะเห็นได้ว่าโมเดลนี้ประสบความสำเร็จ ปัจจุบันเรามีลูกค้ามากกว่า 30,000 ราย"
Akiko ชี้ให้เห็นถึงวิธีการหางานของญี่ปุ่นกำลังเปลี่ยนไป โดยในปี 2018 Nippon Keidanren (Japan Business Federation) องค์กรธุรกิจที่มีบทบาทสูงต่อการชี้นำนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลญี่ปุ่น อีกทั้งมีหน้าที่เป็นปากเสียงของภาคธุรกิจคู่กับสังคมญี่ปุ่นมายาวนาน ได้ทำการยกเลิกกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับเมื่อบริษัทกว่า 1,400 แห่ง สามารถทำการว่าจ้างนักศึกษาได้ โดยการการเปิดเสรีด้านนี้จะส่งผลให้มีการจ้างงานและมีการเติบโตมากขึ้น
Akiko Naka วัย 34 ปี เป็นหนึ่งในซีอีโอหญิงที่อายุน้อยที่สุดของญี่ปุ่น เริ่มก่อตั้งบริษัทในปี 2010 หลังจากเปลี่ยนงานมาสักพัก โดยในปี 2008 เธอได้ทำงานกับโกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) บริษัทหลักทรัพย์อันดับยักษ์ของโลก อีกทั้งได้พยายามทำตามฝันในการเป็นนักวาดการ์ตูน แต่ไม่ถึงหนึ่งปีก็หันไปทำงานให้ Facebook แต่ในที่สุดก็ค้นพบว่าการทำบริษัทส่วนตัวนั้นคืออะไรที่ใช่มากกว่า
อ่านเพิ่มเติม: เคล็ดลับความสำเร็จของ CEO 'Wantedly' กับการหาคนทำงานที่ใช่ ในยุคที่เปลี่ยนแปลง
ในปี 2560 บริษัทได้เข้าตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ปัจจุบันมีพนักงานทั้งหมด 100 คนในประเทศญี่ปุ่น ฮ่องกง และสิงคโปร์
ความสำเร็จที่ผ่านมา ทาง Wantedly ได้ช่วยหลายบริษัทเติบโต ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการเรียกรกแท็กซี่อย่าง JapanTaxi ก็ได้ใช้แพลตฟอร์มของ Wantedly ในการหาคน หลังจากนั้นก็ได้มีผู้ดาวน์โหลดแอพมากกว่า 6 ล้านครั้ง ล่าสุดปี 2018 ก็ได้ประกาศรับเงินลงทุนจาก Toyota Motor รวมมูลค่ากว่า 7.5 พันล้านเยนหรือ 67.9 ล้านดอลลาร์
"Wantedly เปิดโอกาสให้บริษัทได้พบกับคนทำงานที่ใช่ ในแบบที่พวกเขาจะไม่มีโอกาสได้พบเหมือนกับการหางานแบบเก่า จุดต่างของเราคือคนหางานจะสามารถทำการ pitch กับบริษัทหลังจากพบกัน ในตอนนี้ Startup แทบจะทุกบริษัทได้อยู่ในแพลตฟอร์มของ Wantedly เราจะทำการสนับสนุนธุรกิจใหม่อย่างต่อเนื่อง และขยายธุรกิจของเราต่อไป” Akiko กล่าว
อ้างอิงภาพและเนื้อหาข่าวจาก:
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด