กฤษณ์ จิตต์แจ้ง กับกลยุทธ์ ESG พากสิกรไทยเดินหน้าสู่ธนาคารชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | Techsauce

กฤษณ์ จิตต์แจ้ง กับกลยุทธ์ ESG พากสิกรไทยเดินหน้าสู่ธนาคารชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในปัจจุบัน ESG เป็นแนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนที่ประกอบไปด้วย 3 มิติด้วยกัน นั้นคือ Environment, Social และ Governance ที่กำลังได้รับความนิยมจากนักลงทุนในการใช้ประกอบการพิจารณาการลงทุนเพราะเป็นหลักเกณฑ์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล และเป็นการสะท้อนความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) อีกทั้งการนำเสนอผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างยั่งยืน 

โดยมีผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch) ถึงพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไป พบว่า 97% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ยินดีจ่ายแพงขึ้นเพื่อซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักลงทุนนำปัจจัยความเสี่ยงด้าน ESG มาเป็นปัจจัยประกอบการตัดสินใจในการลงทุน อีกทั้งหน่วยงานกำกับดูแล ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นด้าน ESG มากขึ้นด้วยหลักเกณฑ์ในต่างประเทศ เช่น CBAM – Carbon Border Adjustment Mechanism ของสหภาพยุโรปหรือสหรัฐอเมริกาที่จะประกาศใช้ มีความเข้มงวดมากขึ้น หรือหลักเกณฑ์ในประเทศ เช่น ความต้องการให้บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลรายงานด้าน ESG มาตรการจัดเก็บภาษีคาร์บอน บริษัทต่างๆ ต้องเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เป็นต้น

ธนาคารกสิกรไทย นำโดยคุณกฤษณ์ จิตต์แจ้ง กรรมการผู้จัดการ ได้เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารที่ดำเนินธุรกิจบนหลักการแห่งความยั่งยืน (Bank of Sustainability) มาอย่างต่อเนื่อง และเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จำเป็นเร่งด่วนและโอกาสต่อเศรษฐกิจไทย จึงได้ประกาศ KBank ESG Strategy 2023  ที่ว่าด้วยยุทธศาสตร์ที่ดำเนินการบนแนวคิด ESG ที่เน้นการทำงานที่เป็นระบบ เน้นการวัดผล และพัฒนาการดำเนินงานตามหลักมาตรฐานสากล พร้อมมุ่งสู่การเป็นธนาคารผู้นำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยมีแผนงานและเป้าหมายในมิติต่างๆ ดังนี้

Environment ด้านสิ่งแวดล้อม

ในด้านสิ่งแวดล้อม ธนาคารกสิกรไทยได้ประกาศความมุ่งมั่นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Commitment) และเดินหน้าตามแผนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ Net Zero แล้ว 

พร้อมเป้าหมาย 4 ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ในปี 2023 ได้แก่

  • การเปลี่ยนการดำเนินการของธนาคารสู่ Net Zero เช่นทยอยเปลี่ยนรถยนต์เป็น EV ติดตั้ง  Solar Roof บนอาคารสำนักงาน โดยในครึ่งปีแรกของ 2565 สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 13.52% และตั้งเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานสู่  Net Zero ใน Scope 1 และ 2 ภายในปี 2573 
  • การพาลูกค้าเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero ซึ่งธนาคารได้ประเมินและจัดทำแผนกลยุทธการลดก๊าซเรือนกระจกรายอุตสาหกรรม (Sector Decarbonization Strategy) จำนวน 3 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มโรงงานไฟฟ้า กลุ่มน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และกลุ่มเหมืองถ่านหิน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 27% ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในพอร์ทโฟลิโอของธนาคาร (Portfolio Emission) และเตรียมขยายการทำงานร่วมกับลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น เพื่อมุ่งสู่ Net Zero ตามเป้าหมายของประเทศ

“เราจะจัดลำดับกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อประเมินและจัดทำแผนกลยุทธ์การลดก๊าซเรือนกระจกรายอุตสาหกรรม อาทิ กลุ่มโรงไฟฟ้า กลุ่มน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และกลุ่มเหมืองถ่านหิน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 27% ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในพอร์ตโฟลิโอของธนาคารและเตรียมขยายการทำงานร่วมกับลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญอื่นๆ” 

  • การสนับสนุน Sustainable Financing and Investment เพื่อช่วยให้ลูกค้าบุคคลและธุรกิจ ไปสู่ Net Zero Economy ด้วยกัน ซึ่งในปี 2565 ธนาคารได้ปล่อยสินเชื่อและการลงทุนเพื่อความยั่งยืนไปแล้ว 16,000 ล้านบาท และเตรียมจัดสรรเงินทุนด้านความยั่งยืนรองรับอีกกว่า 200,000 ล้านบาท ภายในปี 2573
  • พัฒนาบริการ Beyond Financial Solutions ที่ผสานเทคโนโลยีและความร่วมมือกับพันธมิตรตลอดจนซัพพลายเชน ออกโครงการที่เป็นมากกว่าบริการทางการเงินเช่นโครงการ SolarPlus ติดตั้งโซลาร์รูฟให้ประชาชนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และโครงการส่งเสริมการเช่าใช้งาน EV Bike ที่ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าให้แพร่หลายและกลุ่มไรเดอร์ได้มีโอกาสในการประกอบอาชีพ

Society ด้านสังคม

ในมิติสังคม หนึ่งในบทบาทสำคัญของธนาคาร คือ การสร้างการเข้าถึงบริการทางการเงินและการให้ความรู้ทางการเงิน (Financial inclusion and financial literacy) และอีกหนึ่งเรื่องที่ธนาคารให้ความสำคัญมากก็คือความปลอดภัยและข้อมูลความเป็นส่วนตัวลูกค้า ธนาคารช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินโดยเฉพาะลูกค้าบุคคลที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อเดือน หรือลูกค้ารายเล็ก ซึ่งอาจจะไม่มีบัญชีเงินเดือน ผู้ประกอบอาชีพอีสระที่ไม่มีเอกสารยืนยันรายได้ โดยธนาคารจะพิจารณาอนุมัติจากข้อมูลอื่นๆประกอบ รวมถึงลูกค้าธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 2.5 ล้านบาทต่อปี ซึ่งธนาคารกสิกรไทยได้เปิดเผยข้อมูลในเดือนกันยายนปี 2565 ไว้ว่าได้ปล่อยสินเชื่อลูกค้ารายเล็กกว่า 500,000 ราย มูลค่ากว่า 23,000 ล้านบาท 

“และตั้งเป้าหมายให้ลูกค้ารายเล็กอีก 1,900,000 ราย เข้าถึงสินเชื่อได้ และต้องให้ความรู้ทางการเงิน ความปลอดภัยทางไซเบอร์กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ 10 ล้านรายในปี 2566”

Governance ด้านธรรมมาภิบาล

ในฐานะที่ธนาคารเป็นต้นน้ำของทุกธุรกิจ ธนาคารกสิกรไทยจึงให้ความสำคัญเรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณา ESG credit เป็นอย่างมาก เพื่อให้แน่ใจว่าทุกเม็ดเงินสินเชื่อที่ได้ปล่อยออกไปไม่ได้สร้างผลกระทบเชิงลบให้แก่เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงมีการกำหนดเณฑ์การพิจารณาและ Process ที่เข้มข้น ที่ธนาคารกสิกรไทยกำหนดให้ สินเชื่อโครงการและเครดิตเชิงพาณิชย์ของลูกค้าผู้ประกอบการขนาดกลางขึ้นไป ต้องเข้าสู่การประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ทั้ง 100% และมีสินเชื่อที่ผ่านกระบวนการนี้กว่า 340,000 ล้านบาท

นอกจากนี้คุณกฤษณ์ ยังกล่าวอีกว่า

“ที่เราบอกว่า เราอยากเป็นผู้นำ โดยวิธีคิดของผู้นำ คือ ไม่รอ ขอวิ่งแล้ว แต่เราไม่สามารถไปคนเดียวได้ ถ้าคนไม่วิ่งตามมา สมมติเราให้แคมเปญดอกเบี้ยดึงลูกค้าหรือจูงใจมาก และทำอยู่แบงก์เดียว แต่แบงก์อื่นไม่ทำ ก็ไม่ได้ ทั้งนี้ เพราะเราต้องสร้างผลตอบแทนให้น่าสนใจ ฉะนั้น เราต้องแข็งแรงด้วย”


โดยธนาคารกสิกรไทยตั้งเป้าหมายในการสร้างความร่วมมือทั้ง Ecosystem โดยแนะนำให้ภาคธุรกิจปรับตัวเพื่อให้พร้อมกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาวด้วยการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (ESG Risk) ในทุกมิติ ปรับตัวให้ทันเทรนด์รักษ์โลกที่ได้รับความนิยมในทุกภาคส่วน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต และตรวจวัดและจัดทำข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Footprint) เพื่อให้ลูกค้า สังคม และประเทศ เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน

ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ธนาคารทำงาน โดยนำหลักการ ESG เข้าไปอยู่ในทุกกระบวนการ พบว่า มีความท้าทายสำคัญในประเด็นการจัดการที่ต้องพิจารณาจากมิติที่หลากหลาย ดังนั้น หัวใจของการขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักการธนาคารแห่งความยั่งยืน คือ ต้องรักษาสมดุลการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง และต้องมีแผนสำรองอยู่เสมอ ให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง เพราะความยั่งยืนเป็นกระบวนการที่ไม่มีสิ้นสุด

“Sustainability is a never ending process”


บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...