ทักษะที่องค์กรเทค อย่าง KBTG มองหาในเด็กจบใหม่ มากกว่าแค่ความรู้ในชั้นเรียน | Techsauce

ทักษะที่องค์กรเทค อย่าง KBTG มองหาในเด็กจบใหม่ มากกว่าแค่ความรู้ในชั้นเรียน

เมื่อโลกหมุนเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ความต้องการขององค์กรต่างๆ ก็เปลี่ยนไป วิธีการรับนักศึกษาจบใหม่และทักษะที่แต่ละบริษัทมองหา อาจไม่สามารถใช้มาตรวัด อย่างเกรดที่จบจากรั้วมหาวิทยาลัยมาวัดได้เช่นเดิม แล้วน้องๆ รุ่นใหม่ควรจะเตรียมตัวอย่างไรถึงจะเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน? เป็นคำถามหนึ่งที่ The Stanford Thailand Research Consortium ชวนคณาจารย์มหาวิทยาลัยมาร่วมพูดคุยกับเหล่าผู้บริหารจากองค์กรชั้นนำในประเทศไทย

งานสัมมนาออนไลน์ “Future Thailand — Innovation in Education and Workforce Development” ที่จัดโดย The Stanford Thailand Research Consortium เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ถือเป็นหนึ่งก้าวสำคัญในแวดวงการศึกษาไทย กับการเห็นความสำคัญถึงประเด็นด้านนวัตกรรมเพื่อการศึกษา และการปรับกลยุทธ์การสอนให้กับคณาจารย์ ผู้เป็นส่วนสำคัญในการเตรียมพร้อมน้องๆ นักศึกษาไปสู่ความสำเร็จในการทำงานจริงกับองค์กรในอนาคต 

โดยมี speaker หลากหลายจากทั้งคณาจารย์และนักวิจัยในโครงการ Innovative Teaching Scholars (ITS) จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ร่วมกับผู้บริหารจากองค์กรชั้นนำ คือ คุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนผล ประธาน KASIKORN Business-Technology Group (KBTG) ร่วมกับ คุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล AIS และ คุณวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท AP (Thailand) ร่วมแบ่งปันมุมมองจากภาคธุรกิจ ในเรื่องทักษะที่จำเป็นในอนาคตและวิธีการพัฒนากำลังคนให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน เรียนรู้ และสร้างสรรค์นวัตกรรมที่กำลังเป็นที่ต้องการให้กับองค์กรและประเทศไทย 

คุณกระทิง ได้กล่าวถึงสิ่งสำคัญที่ทุกคนจะต้องมีเพื่อเตรียมพร้อมสู่การทำงานในยุคสมัยใหม่เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า

“AI จะกลายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดในยุคสมัยใหม่ในอีก 10 ปีที่จะถึงนี้ และผมเชื่อว่าทุกคนน่าจะทราบถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และแมชชีนเป็นอย่างดี ดังนั้นเราจึงต้องเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับ AI โดยเฉพาะที่ KBTG เรามีการใช้ระบบ AI ในเกือบทุกด้าน ทั้งระบบ operation และการพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ

ในอนาคตอันใกล้ เราทุกคนอาจจะกลายเป็นผู้สร้างเทคโนโลยี ผู้ใช้ หรือแม้กระทั่งถูกสั่งงานโดยเทคโนโลยีได้ ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจในนวัตกรรมและเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เราควรจะต้องรู้เท่าทัน และเข้าใจวิธีการปรับใช้เทคโนโลยีในการทำงานจริง ขณะเดียวกันเราก็ควรจะรักษาข้อดีของการเป็นมนุษย์เอาไว้ เช่น ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนา รวมถึงความยืดหยุ่น โดยเฉพาะในช่วงเวลาวิกฤตอย่างในปัจจุบัน” 

“Continuous Disruption”

คือ ยุคสมัยในอีก 10 ปีข้างหน้า ที่คุณกระทิงให้คำนิยามเอาไว้ พร้อมเน้นย้ำถึงการเข้ามาของเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจะมาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นทักษะสำคัญที่ทุกคนควรจะต้องมี ก็คือ ความสามารถในการปรับเปลี่ยน และ reskill ตนเองอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสิ่งนี้จะสำคัญยิ่งกว่าความรู้ที่แต่ละคนมีเสียด้วยซ้ำ 

“ที่ KBTG เรามีโปรแกรม reskill ให้กับพนักงานมากมาย แม้ว่าพนักงานแต่ละคนจะฉลาดมากอยู่แล้ว ทำงานเก่ง และมีทัศนคติที่ดีอยู่แล้ว แต่หลายๆ คนก็อาจยังไม่เคยมีประสบการณ์กับเรื่องของเทคโนโลยีมาก่อนเลย ยกตัวอย่าง หนึ่งในพนักงานของเรา ที่จบจากคณะวิศวกรรมปิโตรเลียม เขาไม่เคยมีความรู้ด้านเทคโนโลยีมาก่อน แต่ก็สามารถกลายมาเป็นหนึ่งในสุดยอดนักวิเคราะห์ข้อมูลของเราได้ ด้วยความพร้อมในการปรับตัว และทัศนคติที่พร้อมเรียนรู้ตลอดเวลา ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญยิ่งกว่าความรู้จากห้องเรียน” 

ต่อคำถามเรื่องความท้าทายในการรับนักศึกษาจบใหม่เข้าทำงาน ปัจจุบันองค์กรชั้นนำต่างๆ ให้ความสำคัญกับอะไร เมื่อเกรดไม่สามารถเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความสามารถในการทำงานได้เช่นเดิม 

คุณกระทิง กล่าวว่า “เกรดอาจไม่ใช่สิ่งที่ตอบโจทย์ในการเลือกพนักงานเข้าทำงาน เนื่องจากบางครั้งเราใช้บททดสอบที่ไม่เหมือนกับการสอนในห้องเรียน และการทำงานจริงยังต้องอาศัยทักษะ soft skill อื่นๆ เช่น ทักษะการเรียนรู้ ทักษะการสื่อสาร หรือความเป็นผู้นำ ด้วยความที่ KBTG เป็นองค์กรเทค ดังนั้นเราจึงมีวิธีการทดสอบคนเข้าทำงานหลากหลายรูปแบบ เช่น ทักษะการเขียนโปรแกรม การแก้ปัญหาในแต่ละ case เพื่อดูวิธีการที่แต่ละคนใช้แก้ปัญหาและการทำงานร่วมกับทีม โดยเฉพาะในอนาคตจะมีการประเมินโดยเพื่อนร่วมทีมที่ต้องทำงานด้วยกันมากขึ้น”

นอกจากวิธีการทดสอบพนักงานใหม่แล้ว คุณกระทิงยังกล่าวถึงการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมน้องๆ นักศึกษาตั้งแต่ในรั้วมหาวิทยาลัยสู่การต่อยอดในที่ทำงานจริง 

“KBTG มีโปรแกรมที่เราทำงานร่วมกับ 10 มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศ ภายใต้ชื่อว่า “KBTG Tech Kampus” ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เราดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาหลักสูตร และให้ feedback ในการสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย แก่เหล่าคณาจารย์และนักศึกษา เพื่อทำการศึกษาร่วมกันและฝึกฝนให้น้องๆ ได้ลงมือทำงานจริงในโปรเจคตั้งแต่ปี 3 ซึ่งจะช่วยให้แต่ละคนสามารถค้นหาความชอบของตัวเองได้ และเป็นการแนะแนวอาชีพในอนาคต”

สำหรับการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจะช่วยลดขั้นตอนการ reskill และเตรียมความพร้อมนักศึกษาจบใหม่ในช่วงเริ่มงานได้กว่า 6 เดือน นอกจากนี้ ตั้งแต่ช่วงวิกฤตโควิด KBTG ก็ได้ปรับปรุงระบบการสอนใหม่ทั้งหมดให้เป็นระบบออนไลน์ เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้ไวขึ้น และเสริมประสิทธิภาพการทำงานอย่างเป็นระบบ 

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek จากอดีตเฮดจ์ฟันด์ สู่ผู้ท้าทายยักษ์ใหญ่ AI โลก

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง ผู้อยู่เบื้องหลังของ DeepSeek จากอดีตผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ สู่ CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek ที่พกความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งส...

Responsive image

เปิดลิสต์ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC สนใจมากที่สุดในปี 2025

ค้นพบ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC ให้ความสนใจในปี 2025 ตั้งแต่โซลูชัน AI เฉพาะด้าน โครงสร้างพื้นฐาน AI ไปจนถึงระบบที่น่าเชื่อถือและยืดหยุ่น พร้อมโอกาสใหม่ในการสร้างธุรกิจที่...

Responsive image

วิเคราะห์บทบาท AI ด้านเศรษฐกิจและสังคม ผ่านมุมมองผู้เชี่ยวชาญจาก AI House ที่ดาวอส

ในการประชุม World Economic Forum (WEF) ที่จัดขึ้นที่ Davos นั้นหัวข้อสำคัญที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือบทบาทของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขามาร่วมพูดคุยถึง...